วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกNEWSกสทช.รับคำร้องสอบ‘นักเล่าข่าวคนดัง’ ‘นักร้องฯ’จี้สำนึกจริยธรรมอยู่เหนือกม.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กสทช.รับคำร้องสอบ‘นักเล่าข่าวคนดัง’ ‘นักร้องฯ’จี้สำนึกจริยธรรมอยู่เหนือกม.

“ศรีสุวรรณ” เผย “กสทช.” มีอำนาจพิจารณาข้อร้องเรียน “จริยธรรมสื่อมวลชน” และรับเรื่องให้ “สอบจริยธรรมนักเล่าข่าวคนดัง” แล้ว พร้อมส่งเรื่องให้ต้นสังกัด-องค์กรวิชาชีพสื่อพิจารณาแล้ว “นักร้องเรียน” เหน็บแสบสำนึกแห่งจริยธรรมอยู่เหนือกฎหมาย บางค่ายอาจไม่สนใจ หวังแค่เรตติ้ง มีโฆษณามากๆ เท่านั้น

เมื่อวันที่ 3 พ.ค.64 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เมื่อ 20 เม.ย.64 หลังพิธีกรนักเล่าข่าวชื่อดัง ได้หวนกลับคืนสู่หน้าจอโทรทัศน์อีกครั้ง ทั้งๆ ที่ยังไม่พ้นโทษ เพียงแต่ถูกพักโทษให้ออกจากเรือนจำ และยังต้องติดกำไลอีเอ็มที่ข้อเท้าไปอีก 14 เดือน ทั้งต้องรายงานตัวต่อกรมคุมประพฤติไปจนกว่าจะพ้นโทษ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจขัดต่อกฎหมายและหรือขัดต่อจริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์นั้น

การร้องเรียนดังกล่าว สำนักงาน กสทช.ได้แจ้งมายังสมาคมฯว่า ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมสื่อมวลชนนั้น สำนักงาน กสทช. มีอำนาจดำเนินการตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 มาตรา 40 ที่ระบุว่า “ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากรายการที่ออกอากาศเป็นเท็จหรือละเมิดสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการฯ ให้คณะกรรมการส่งเรื่องพร้อมความเห็นของคณะกรรมการให้องค์กรควบคุมการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพตาม มาตรา 39 เพื่อให้ดำเนินการเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายโดยเร็ว และให้คณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการขององค์กรควบคุมการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพตาม มาตรา 39 เมื่อองค์กรควบคุมการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพตาม มาตรา 39 ได้แจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการทราบแล้ว ให้แจ้งผู้ร้องเรียนทราบผลการดำเนินการโดยเร็ว”

ในการนี้ สำนักงาน กสทช.ได้มีหนังสือแจ้งไปยังบริษัทต้นสังกัดของนักเล่าข่าวชื่อดังคนดังกล่าว และองค์กรวิชาชีพสื่อที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พิจารณาและดำเนินการตามข้อร้องเรียนของสมาคมฯต่อไป

ทั้งนี้ ตามข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ 2553 ประกอบธรรมนูญสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ 2563 ได้กำหนดความรับผิดทางจริยธรรมไว้ว่า เมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยว่า ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในสังกัดสมาชิกละเมิดหรือประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ให้คณะกรรมการมีอำนาจแจ้งเป็นหนังสือให้ต้นสังกัดสมาชิกที่ถูกร้องเรียน ลงตีพิมพ์หรือประกาศเพื่อเผยแพร่คำวินิจฉัยหรือประกาศเพื่อเผยแพร่ข้อความคำขอโทษต่อผู้เสียหายตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ และให้ส่งคำวินิจฉัยไปยังต้นสังกัดของผู้นั้น เพื่อดำเนินการลงโทษ แล้วแจ้งผลให้สภาการสื่อมวลชนทราบโดยเร็ว

“ในกรณีที่เห็นสมควร สภาการสื่อมวลชนอาจตักเตือน เป็นลายลักษณ์อักษร หลังจากแจ้งผลการพิจารณาให้แก่ผู้ถูกร้องเรียนทราบแล้ว ให้สภาการสื่อมวลชนเผยแพร่คำวินิจฉัยต่อสาธารณะต่อไป ส่วนความรับผิดชอบที่นอกเหนือไปจากนี้ ก็ขึ้นอยู่กับนักเล่าข่าวชื่อดังและต้นสังกัด จะแสดงความสำนึกมากน้อยเพียงใด ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินในขั้นสุดท้ายเอง เพราะสำนึกแห่งจริยธรรมนั้นอยู่เหนือกฎหมาย ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกชั่วดีของแต่ละคน เพราะบางคนบางบริษัทอาจไม่สนใจในเรื่องเหล่านี้ หวังเพียงแค่ให้มีเรตติ้งเยอะๆ มีโฆษณาเข้ามากๆ เท่านั้น ไม่สนใจเรื่องจริยธรรมและศีลธรรมอันดีของสังคมเลยก็ได้” นายศรีสุวรรณ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img