วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlightบี้ปปช.สอบจริยธรรม277ส.ส.โดดล่ม ‘ชวน’ป้องส.ส.กลัวลงมติแล้วมีปัญหา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

บี้ปปช.สอบจริยธรรม277ส.ส.โดดล่ม ‘ชวน’ป้องส.ส.กลัวลงมติแล้วมีปัญหา

“ศรีสุวรรณ” ร้อง ป.ป.ช.สอบจริยธรรมร้ายแรง “277 ส.ส.” โดดประชุมสภาฯ ขณะที่ “ชวน” แจงปมองค์ประชุมล่ม เพราะส.ส.ส่วนใหญ่อยู่ในห้องประชุมแต่ไม่แสดงตน มีเจตนา “ไม่ลงมติ” เพราะกลัวลงมติจะมีปัญหา เหตุกมธ.กำลังพิจารณาและมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ ยันไม่ได้แก้ต่างให้ส.ส.

เมื่อวันที่ 1 ก.ค.64 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่เกิดกรณีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.64 ล่ม อันเนื่องมาจากมี ส.ส.เข้าร่วมประชุมไม่ครบในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย เมื่อมีการตรวจสอบองค์ประชุมพบว่ามี ส.ส.มาแสดงตนแค่ 206 คน จาก 483 คน โดยมี ส.ส.จำนวน 277 คนไม่แสดงตนนั้น การไม่เดินทางมาร่วมประชุมสภาฯหรือมาประชุม แต่ไม่แสดงตน จนเป็นเหตุให้องค์ประชุมไม่ครบ ไม่สามารถพิจารณาร่างกฎหมายต่อไปได้ ประธานสภาฯจึงต้องสั่งปิดการประชุมไปนั้น ถือว่าเป็นเหตุร้ายแรง ที่สังคมไทยไม่ควรปล่อยให้สมาชิกผู้ทรงเกียรติแต่ชื่อเหล่านี้ กินเงินภาษีของประชาชน โดยไม่ยอมทำงานตามหน้าที่ต่อไปได้ เป็นเหตุให้ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ทำให้สภาฯเสื่อม อันเป็นพฤติการณ์ที่ขัดหรือแย้งต่อหน้าที่ของตนตามที่ได้ปฏิญาณตนในที่ประชุมแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ม.115 จึงถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ 2561 อย่างร้ายแรง ประกอบข้อบังคับ ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ 2563 ตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 ม.128 และ ม.219 วรรคสอง บัญญัติไว้

“ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจะนำรายชื่อ ส.ส.ทั้ง 277 คน ไปยื่นให้ ป.ป.ช.ทำการสอบสวนชี้มูลความผิด เพื่อส่งอัยการฟ้องต่อศาลอาญา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป โดยจะเดินทางไปยื่นเรื่องในวันศุกร์ที่ 2 ก.ค.64 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงาน ป.ป.ช.นนทบุรี”นายศรีสุวรรณกล่าว

ทางด้านนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ยืนยันว่าการประชุมเมื่อวาน ครบองค์ประชุม ต้องขอบคุณสมาชิกส่วนใหญ่ ยังร่วมมือกันในการทำงาน แต่ว่าในตอนหลังที่ตรวจสอบองค์ประชุม ความจริงแล้วสมาชิกอยู่กันในห้อง บางคนอยู่นอกห้อง แต่ทราบว่าเขามีปัญหาเรื่องพ.ร.บ.วัตถุอันตราย ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) กำลังพิจารณาอยู่ ซึ่งมีความเห็นขัดแย้งกับสมาชิก จึงหาข้อยุติไม่ได้ ว่าจะถอนหรือลงมติ ในที่สุดสมาชิกส่วนหนึ่งก็คิดว่าจะให้กลับไปทบทวนร่างกฎหมายฉบับนี้ จึงไม่แสดงตน เพราะเกรงว่าลงมติแล้วจะมีปัญหา ตนไม่ได้แก้ต่างแทนส.ส.ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในที่ประชุม แต่ไม่ได้กดบัตรแสดงตน เพราะอาจจะเจตนาไม่ให้มีการลงมติในมาตรา 6

เมื่อถามว่า กรณีที่ไม่กดบัตรแสดงจะเข้าข่ายผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า สภาก็ต้องตรวจสอบและยอมรับในการตรวจสอบอะไรที่มีปัญหา ว่าไม่ถูกต้อง ตนเห็นด้วยว่าจะต้องช่วยกันตรวจสอบ แต่ในเรื่องความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดโควิด-19 ของนายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะประธานคณะกรรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เรามีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ตนได้ให้นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร ดูทุกวัน ถึงได้ทราบว่ามีใครในสภาติดโควิด-19 บ้าง เช่น แม่บ้าน คนครัว ซึ่งมีรายชื่อคนติดเชื้อทุกคน นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาฯ ก็ทำงานเข้มงวด คือไม่ให้คนติดเชื้อกลับเข้ามาในสภาฯ ฉะนั้นการคุมคนติดเชื้อเรียกว่า คุมได้ร้อยทั้งร้อย แต่สิ่งที่ห่วงคือเรื่องการมีคนจำนวนมาก โอกาสรั่วไหลอาจจะเป็นไปได้ ก็พยายามอย่าไปย่อหย่อน เรื่องอะไรที่เห็นว่าไม่ถูกต้องก็ต้องพยายามแก้ไข เรื่องที่นายสิระได้ร้องเรียนมา

นายชวน กล่าวต่อว่า ตนได้ให้ทางเลขาธิการสภาฯ รายงานแล้วว่า เรื่องเป็นอย่างไร เราต้องเป็นตัวอย่างปฏิบัติตามมาตรการที่รัฐบาลได้ออกมา ฉะนั้นที่สมาชิกเป็นห่วงว่าเราจะประชุมได้หรือไม่ ได้ให้ฝ่ายเลขาธิการสภาฯประสานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง นอกจากนี้เพื่อความสบายใจ ยังได้โทรศัพท์ส่วนตัวไปหาเลขาธิการวภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เพื่อถามว่า มีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งท่านก็บอกว่าไม่มีอะไร เพราะได้อนุมัติไปแล้วว่า สามารถประชุมได้ตลอดสมัยประชุมนี้ เมื่อวานนี้ (30 มิ.ย.) ก็มีสมาชิกปรารภถึงสมาชิกที่อยู่ต่างจังหวัด ที่ต้องถูกกักตัว

นายชวน กล่าวต่อว่า ได้โทรศัพท์คุยกับปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้เลขาธิการสภาฯทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย ขอความร่วมมือในทุกจังหวัดในพื้นที่ที่มีปัญหาว่า ขอให้ความสะดวกกับสมาชิกที่จะมาประชุม ไม่ทำอะไรที่เป็นการกักตัวสมาชิก ทุกเรื่องที่มีปัญหาก็จะคลี่คลายให้ได้ทั้งหมด เพราะเราเสียเวลาเฉพาะพ.ร.บ.วัตถุอันตรายไปหลายสัปดาห์แล้ว หากไม่ประชุม เราก็ทำงานอย่างอื่นได้ แต่เมื่อประชุมแล้วองค์ประชุมไม่ครบ ก็เสียเวลา คิดว่าผู้เสนอกฎหมายคือรัฐบาลคงไปทบทวนและถ้ายืนยันสัปดาห์หน้าก็คงจะได้ลงมติ

เมื่อถามว่า ที่ประชุมสามารถออกเสียงให้ถอนพ.ร.บ.วัตถุอันตรายออกได้ แต่เพราะอะไรจึงใช้เทคนิคไม่กดบัตรแสดงตน นายชวน กล่าวว่า ได้ถามเหมือนกันและทราบว่ายังหาข้อยุติไม่ได้ ได้ถามกมธ.ว่า กฎหมายนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างไรหรือไม่ ทาง อย. ยืนยันว่าต้องการด่วนมาก เพราะขณะนี้ใช้มาตรา 44 อยู่ จึงคิดว่าถ้าอย่างนั้นทางฝ่ายผู้ปฏิบัติต้องบอกรัฐมนตรี แต่เผอิญว่ามีหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องจึงดูเหมือนว่าแต่ละกระทรวงไม่ได้มาเจาะจงดู ปล่อยให้เป็นเรื่องของกมธ. ซึ่งกมธ.ก็ขัดแย้งกันเอง ผู้แปรญัตติคือกมธ.ที่สงวนความเห็น เข้าใจว่าเดี๋ยวคงจะไปทบทวนกัน แต่จะยืนยันหรืออย่างไรก็เป็นสิทธิของฝ่ายเสนอกฎหมาย ซึ่งตนก็ขอให้ไปทบทวนดูอย่าให้เสียเวลาเหมือนเมื่อวาน หากสมมติว่าผ่านไม่ได้จะถอนก็ขออนุญาตที่ประชุม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img