วันเสาร์, พฤษภาคม 4, 2024
หน้าแรกHighlight‘’บิ๊กตู่’’สั่งปรับแผนบริหารจัดการน้ำ เร่งระบายน้ำ ลดผลกระทบกับปชช.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘’บิ๊กตู่’’สั่งปรับแผนบริหารจัดการน้ำ เร่งระบายน้ำ ลดผลกระทบกับปชช.

“โฆษกรัฐบาล”เผย “นายก”ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมชัยภูมิ พร้อมสั่งปรับแผนจัดการน้ำเหมาะสถานการณ์   “สทนช.” ยันสถานการณ์น้ำต่างจากปี 54

เมื่อวันที่  29 ก.ย.64 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า  ในวันนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม จะเดินทางไปจังหวัดชัยภูมิ เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากอิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่ ทำให้เกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน เนื่องจากมวลน้ำป่าไหลหลากมาจากเทือกเขาภูแลนคา และน้ำล้นตลิ่งจากมวลน้ำจากลำแม่น้ำชี ส่งผลให้น้ำหนุนเข้าในพื้นที่ 16 อำเภอ และได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมแล้ว 

ทั้งนี้นายกฯและคณะรับฟังรายงานสรุปจากผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ พร้อมตรวจเยี่ยมให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย อ.เมืองชัยภูมิ ที่ตลาดสดเทศบาลเมือง และจะเดินทางต่อเพื่อไปให้กำลังใจบุคลากรโรงพยาบาลและมอบสิ่งของที่จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลชัยภูมิ  

จากนั้น จะรับฟังรายงานจากนายอำเภอจตุรัสและผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเร่งการระบายน้ำ และเตรียมแผนป้องกันหากยังมีฝนตกต่อเนื่อง พร้อมมอบถุงยังชีพให้ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยอำเภอจตุรัส ขณะนี้มีน้ำท่วมขังและระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร และไหลท่วมเข้ามายังพื้นที่เศรษฐกิจบางส่วนแล้ว

นายธนกร กล่าวว่า รัฐบาลได้บูรณาการแผนบริหารจัดการน้ำโดยการทำงานอย่างต่อเนื่องซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2564 กำหนด 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2564 เพื่อทุกส่วนราชการทุกระดับได้เตรียมความพร้อมในการรับมือและป้องกัน เพื่อลดความเสียหายจากการเกิดภัยพิบัติในฤดูฝนนี้  สถานการณ์น้ำขณะนี้ยังแตกต่างจากอดีต

 

โดยเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)  ยืนยันว่าขณะนี้ น้ำบริเวณตอนบนของประเทศอยู่ในระดับต่ำน้อยกว่าร้อยละ 50 ประกอบกับสถานการณ์อุทกภัยขณะนี้เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ตกเกิน 90 มิลลิเมตรต่อวัน พ้องกับระดับน้ำทะเลหนุนสูงในช่วงสิ้นเดือนกันยายนเท่านั้น ซึ่งในช่วง 5 – 10 วันข้างหน้ายังไม่ปรากฎสัญญาณการเกิดพายุ ดังนั้น จะทำให้ฝนจะตกห่างออกไป น้ำที่ยังท่วมขังจะสามารถระบายออกไปได้ 

นอกจากนี้กรมชลประทานได้ปรับแผนการบริหารจัดการน้ำ พร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อรองรับน้ำจากพื้นที่ตอนบนที่กำลังจะมาถึง อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ทั้งส่วนกลางและระดับพื้นที่ปรับแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม สื่อสารกับประชาชนให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบันรวมทั้งเร่งระบายน้ำโดยเร็วเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนนานกว่านี้.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img