วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlightอดีตตุลาการศาลรธน.ชี้วาระ’’บิ๊กตู่’’ นับตามรธน. 60
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อดีตตุลาการศาลรธน.ชี้วาระ’’บิ๊กตู่’’ นับตามรธน. 60

“สุพจน์ ไข่มุกด์” ย้ำต้องวาระนายกฯ “บิ๊กตู่” ตามหลักนิติรัฐ  นับการดำรงตำแหน่งตามรธน. 60  ไม่นับเป็นนายกฯ ช่วง คสช.

 

เมื่อวันที่ 29 ก.ย. นายสุพจน์ ไข่มุกด์  อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  และอดีตรองประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ  กล่าวถึงกรณีที่มีข้อสงสัยเรื่องการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่  ว่าตามมาตรานี้ระบุว่านายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้  ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่  ซึ่งเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของมาตรานี้ที่กำหนดระยะเวลาไว้  เพื่อไม่ให้ผูกขาดอำนาจทางการเมืองยาวเกินไป  และอาจจะเป็นต้นเหตุให้เกิดวิกฤติการเมืองในอนาคตได้  แต่ต้องยอมรับว่าเราต้องยึดหลักนิติรัฐ หรือกฎหมายเป็นหลักในการปกครองประเทศ  ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  เข้ามาบริหารประเทศโดยผ่านการลงมติจากรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2562  ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 

ดังนั้นการเป็นนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ ไม่ถือเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน    อย่างไรก็ตามหากมีข้อสงสัยก็ควรส่งศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความ   แต่ก็ไม่มั่นใจว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับหรือไม่ เพราะเหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้น  หรือศาลรัฐธรรมนูญอาจจะมองว่าเพื่อให้เกิดความชัดเจน และเกิดข้อยุติทางการเมือง

“ตอนปี 57 ยังไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  เราใช้บทเฉพาะกาล นายกฯไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง  ไม่ได้ผ่านกระบวนการรัฐสภา ก็ไม่เข้า  และไม่สอดคล้องกับมาตรานี้   อันนี้เป็นนัยยะทางกฎหมายแท้ๆ เลย ถ้าจะนับจริงๆ แล้ว ฉะนั้นผมเห็นว่านายกรัฐมนตรีถ้าจะลงเลือกตั้งอีกเป็นวาระที่สองก็เกิน 8 ปีไม่ได้  ถ้าวาระนี้ครบ 4 ปี ก็จะได้อีกวาระหนึ่ง 4 ปี  เป็น 8 ปี  แต่หากมองทางด้านรัฐศาสตร์จะเป็นการผูกขาดอำนาจทางการเมืองหรือไม่   แต่เราจะถือหลักอะไร  เราต้องถือหลักนิติรัฐ เพราะเราปกครองบ้านเมืองโดยหลักกฎหมาย  ส่วนอีกฝ่ายจะมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจ ก็เป็นอีกนัยยะหนึ่ง  หากส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอาจจะยังไม่รับ เพราะเหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้น” นายสุพจน์ กล่าว

นายสุพจน์  กล่าวว่า แม้ตีความตามหลักกฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่เป็นข้อสังเกตของผู้มีอำนาจที่ต้องคิดว่า  หากต้องการให้ยุติปัญหาทางการเมือง  ก็ไม่ควรอยู่ในอำนาจเกิน 8 ปี   แต่ส่วนตัวก็ไม่แน่ใจว่า  แม้นายกรัฐมนตรีจะไม่ดำรงตำแหน่งต่อ ความวุ่นวายทางการเมืองจะหมดไปหรือไม่  เพราะปัจจุบันก็มีประเด็นการเมืองอื่น ๆ เกิดขึ้นด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img