วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVEเจาะบทบาทผู้แทนภาคประชาชนในก.ต.ช.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เจาะบทบาทผู้แทนภาคประชาชนในก.ต.ช.

ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ที่ปรึกษามูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชน ที่ตั้งสำนักงาน ณ มหาวิทยาลัยมหิดลและในบทบาทผู้แทนภาคประชาชนในกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) เปิดเผยถึงภารกิจหน้าที่ในบทบาทผู้แทนภาคประชาชนใน ก.ต.ช. ว่า ตามกฎหมายตำรวจแห่งชาติกำหนดให้ผู้แทนภาคประชาชนในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติมีหลากหลายหน้าที่ในภารกิจงานตำรวจเชิงยุทธศาสตร์และนโยบาย และล่าสุดได้รับความกรุณาไว้วางใจจากผู้ใหญ่หลายท่านในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อาทิ พล.ต.อ.ปิยะ อุทาโย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านยุทธศาสตร์ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติด้านงานป้องกันและปราบปราม เป็นต้น โดย พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ให้โอกาสผู้แทนภาคประชาชนในกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติร่วมเดินทางกับคณะนายตำรวจระดับสูงลงพื้นที่ตรวจราชการงานตำรวจทุกกองบัญชาการและทุกภาคของประเทศ

ตำรวจดีกว่าที่คิด

ก.ต.ช.ผู้แทนภาคประชาชน กล่าวต่อว่า ตำรวจดีกว่าที่คิด อยากให้ประชาชนทั้งประเทศอีกกว่า 60 ล้านคนรู้เหมือนอย่างที่ได้เห็นได้ฟังมาเพราะตำรวจดูแลประชาชนได้ดีมากภายใต้ข้อจำกัดในทุกสิ่งเช่น กำลังพล งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และทรัพยากรอื่น ๆ ยิ่งไปกว่านั้น ในหลายกรณีคดีต่างๆ ยังถูกจำกัดด้วยข้อกฎหมายทั้งๆ ที่มีหน้าที่โดยตรงในการบังคับใช้กฎหมายไม่ให้มีผู้ใดอยู่เหนือกฎหมาย จากการติดตามร่วมคณะไปกับพล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ นั้นยังพบด้วยว่าผู้นำหน่วยที่มีคุณธรรม เริ่มจากการเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังผู้อื่นจนจบกระบวนความ มีความซื่อตรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ความอดทนอดกลั้น ขยันหมั่นเพียร เก่ง กล้า สุภาพถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่ถือว่ามีชั้นยศและตำแหน่งที่สูงกว่า แต่ถ้าถึงเวลาปฏิบัติหน้าที่ความเป็นตำรวจจะมีความเฉียบคม ตงฉิน (High Integrity) ไม่ปล่อยให้คนผิดลอยนวล

ในแต่ละกองบัญชาการภาคที่เดินทางไปพบเห็นว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จสามประการในภารกิจงานตำรวจ คือ คน (People) กระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology) โดยคนในที่นี่คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจและเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด มีผู้นำหน่วยที่ดี ทำงานทันเวลา (Timely) ตื่นตัว กระตือรือร้น (Alert)  มีความเป็นทีม มีการสร้างเครือข่ายชุมชนคนดีคนเก่งคนกล้าทำงานร่วมกัน และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจัดการข้อมูลเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นข่าวกรองฐานข้อมูลที่ดี (Intelligence) ด้วยความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อมิให้ขบวนการก่อการร้ายและมิจฉาชีพมีศักยภาพทำร้ายประชาชนและทำลายความมั่นคงของชาติ เห็นผลงานที่ดีด้วยตาของตนเอง เช่น Smart Safety Zone ของ สภ.เมือง สุโขทัย และอีกหลายพื้นที่กองบัญชาการที่อาจจะได้รับการพัฒนาต่อยอดเป็นระดับจังหวัด ระดับกองบัญชาการภาค หรือระดับประเทศได้ต่อไป ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) อย่างไรก็ตาม กระบวนการยังมีเรื่องที่ท้าทายรัฐบาล ฝ่ายการเมืองการปกครอง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่มากเพราะมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ กำลังพล และทรัพยากรอื่น ๆ รวมถึง ข้อจำกัดในกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทำให้ตำรวจดีกว่าที่คิดยังเติบโตในวงจำกัด

ผู้แทนภาคประชาชนใน ก.ต.ช. กล่าวต่ออีกว่า จากการที่ได้รับโอกาสร่วมคณะตรวจราชการตำรวจไปกับพล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ และที่เดินทางไปร่วมกันบ่อยหลายครั้งอีกท่านหนึ่งคือ พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ผมอยากจะขอเรียกท่านผู้นี้เป็น “อ้อ พญาอินทรี” เพราะครบเครื่องลุ่มลึกเฉียบคมสยบไพรี และจากการลงพื้นที่ร่วมคณะบ่อยครั้งทำให้เกิดความกล้าเสนอแนะไปครั้งหนึ่งต่องานตำรวจที่น่าจะสามารถต่อยอดจาก Smart Safety Zone เป็นการสร้างเครือข่ายชุมชนข่าวกรอง (Intelligence Community, IC) ระดับพื้นที่ สู่ระดับภาคและระดับประเทศโดยตำรวจผู้ปฏิบัติหน้างานเผชิญเหตุควรมีและใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจากกล้องติดตัว (Body Cam) ไปยังศูนย์บัญชาการและควบคุม (Command and Control) เพื่อทำให้ตำรวจผู้เผชิญเหตุมีความปลอดภัยทั้งในมิติกฎหมาย การปฏิบัติหน้าที่ที่มีผู้บังคับบัญชาเหตุการณ์อยู่กับพวกเขาและทำให้มั่นใจในความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของตำรวจชั้นผู้น้อยและประชาชนที่เผชิญเหตุร้าย จากนั้นนำข้อมูลเข้าสู่ระดับการวิเคราะห์เชิงลึก (Analytics) สำหรับเอาไว้พยากรณ์พฤติการณ์ ป้องกันเหตุร้ายในอนาคตที่เรียกว่า งานตำรวจเชิงรุก (Proactive Policing) ต่อไป

นอกจากนี้ ที่รัฐบาล ฝ่ายการเมืองและสำนักงานตำรวจแห่งชาติน่าจะพิจารณาคือ การยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นวาระแห่งชาติด้านความมั่นคงชาติและความปลอดภัยของประชาชนทั้งประเทศ เพราะโจรไซเบอร์สามารถเข้าไปถึงมือประชาชนแต่ละคน มากกว่าปัญหายาเสพติดและอื่นๆ ที่เป็นปัญหาดั้งเดิมซึ่งล้วนแล้วแต่สำคัญทั้งสิ้นแต่เมื่อประเมินจัดอันดับแล้วภัยไซเบอร์สำคัญสุด การทำให้เป็นวาระแห่งชาติจะอำนวยให้การทำงานของตำรวจและภาคประชาสังคมคล่องตัวมากยิ่งขึ้นที่ต้องแก้ไขกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การระดมทรัพยากรต้องเกิดขึ้นทันเวลา เพราะอุบัติการณ์จากภัยไซเบอร์ (Cyber-Crime Incidents) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาทำให้ข้อมูลส่วนตัวของประชาชน เช่น เลขที่บัตรประชาชน ที่อยู่ เบอร์โทร เลขที่บัญชี ข้อมูลละเอียดอ่อนและการทำธุรกรรมอื่นๆ ของประชาชนถูกเจาะและนำไปใช้ในทางที่เสี่ยงต่ออันตรายทางไซเบอร์ของประชาชนทั้งประเทศ

กต.ตร.คือหัวใจ

ความหวังหนึ่งจึงอยู่ที่เครือข่ายภาคประชาชนในการจัดขบวนทัพ กรรมการตรวจสอบ ติดตามและวัดผลตามนโยบาย ก.ต.ช. ของ กต.ตร. กทม. จังหวัด และ สน./สภ. จึงกลายเป็นหัวใจในการเสริมสร้างความมั่นคงชาติและความปลอดภัยของประชาชนทางไซเบอร์ ที่ กต.ตร. ทุกระดับน่าจะนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) มาพิจารณาอย่างจริงจังให้ทันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลและไซเบอร์มากกว่ารออำนาจรัฐเพียงอย่างเดียวเพราะการจะปกป้องรักษาความมั่นคงชาติ สถาบันหลักของชาติ ผลประโยชน์ชาติและความปลอดภัยของประชาชนจำเป็นต้องอาศัยอำนาจแห่งชาติ (National Power) ที่ประกอบไปด้วยทั้งอำนาจรัฐ (State Power) และอำนาจจากภาคประชาชน (Non-State Power) ที่ กต.ตร. คือ หัวใจ ยกตัวอย่าง กต.ตร. กทม. จังหวัด และ สน./สภ. ควรทำจริงจังต่อเนื่องอย่างน้อยสองภารกิจคือ โครงการ RTP Cyber Village ที่เริ่มทำไว้แล้ว และน่าจะแพลตฟอร์มโรงพักดิจิทัล ดึงภาคประชาสังคมจากพลังของ กต.ตร. ทุกระดับเข้าหนุนเสริมอำนาจแห่งชาติดูแลรักษาความมั่นคงชาติ สถาบันหลักของชาติ ผลประโยชน์ชาติและความปลอดภัยของประชาชน โดยสามารถดึงจุดแข็งที่ไปพบเห็นมาว่ามีอยู่แล้วในเครือข่ายภาคประชาชนแบบดั้งเดิมและมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยบางส่วนในตำรวจภูธรภาค 3 ภาค 4 และภาค 6 ที่ไปพบเห็นมาด้วยตนเองและได้เรียนรู้ Big Data ของกองบัญชาการสอบสวนกลางที่น่าจะต่อยอดไปสู่แพลตฟอร์มโรงพักดิจิทัลเต็มรูปแบบ ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงด้านความปลอดภัยด้วยงานป้องกันและปราบปรามต่อไป

กล่าวโดยสรุป การที่ผู้แทนภาคประชาชนใน ก.ต.ช. ได้รับโอกาสให้ร่วมเดินทางไปกับคณะนายตำรวจระดับสูงอย่างเช่น พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี พล.ต.ท.นิรันดร เหลื่อมศรี พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร และพล.ต.ท.สำราญ นวลมา ในหลากหลายภารกิจงานตำรวจที่ผ่านมา ค้นหาจุดแข็งในการปฏิบัติงานตำรวจเพื่อความมั่นคงของชาติและความปลอดภัยของประชาชน เช่น การแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัญหาหนี้นอกระบบ การปราบปรามผู้มีอิทธิพล ตามนโยบายนำ (Leading Policies) ของรัฐบาล การรับมือเหตุร้ายฉุกเฉิน การกราดยิง การฝึกยุทธวิธีตำรวจ การป้องกันและปราบปรามการแข่งรถบนทางหลวง และนักเรียนตีกัน เป็นต้น ทำให้เห็นว่า ตำรวจดีกว่าที่คิด และน่าจะยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นวาระแห่งชาติลงสู่การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนของ กต.ตร. กทม. จังหวัด และ สน./สภ. เพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญในการรักษาความมั่นคงชาติ สถาบันหลักของชาติ ผลประโยชน์ชาติและความปลอดภัยของประชาชนอันเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของ ตร.และสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ชาติ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img