วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกNEWS"สมชัย"แนะหากพรรคไหนคิดว่ากกต.แบ่งเขตไม่เป็นธรรม ให้ร้องเอาผิดม.157
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สมชัย”แนะหากพรรคไหนคิดว่ากกต.แบ่งเขตไม่เป็นธรรม ให้ร้องเอาผิดม.157

“สมชัย” ให้ผ่าน กกต.แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ส่วนถ้าพรรคการเมืองใดมองว่ากกต.แบ่งเขตไม่เป็นธรรม และมีหลักฐานว่ากกต.ทำงานภายใต้การสั่งการของพรรคใดพรรคหนึ่งเพื่อให้การแบ่งเขตเอื้อประโยชน์นั้นก็ให้ยื่นฟ้อง กกต. ตามมาตรา 157

                    

เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 66 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)สมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบาย และอดีต กกต. กล่าวถึงการแบ่งเลือกตั้ง 400 เขตของกกต.ว่า ครั้งนี้เพิ่มจาก 350 เขตเป็น 400 เขต ซึ่งการแบ่งของกกต.นั้นมีกฎหมายกำหนดว่าจะต้องแบ่งอย่างไร เช่น จำนวนประชากรในแต่ละเขตที่มีจำนวนใกล้เคียงกัน ซึ่งความแตกต่างจะต้องไม่เกินร้อยละ10 จากค่าเฉลี่ยจำนวนประชากรต่อ ส.ส. 1 คน ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประชากรนั้นไม่รวมบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย กกต.ก็ต้องแบ่งเขตใหม่ และรับฟังความเห็นของประชาชนและพรรคการเมือง ซึ่งเรื่องที่กกต.ทำถูกผิดกฎหมายนั้นตนมองว่าในส่วนของจำนวนราษฎรใกล้เคียงนั้นเรื่องนี้ตนผ่าน

ส่วนที่ถามว่าพื้นที่ติดกันไหมก็ต้องบอกว่าเรื่องนี้ก็ผ่านได้ และความจราจร ขนส่งสะดวกไหมเรื่องนี้ในกทม.ก็ผ่าน และเรื่องที่ว่าความคุ้นเคยของประชาชนเรื่องนี้อาจจะต้องมีถกเถียงกันเพราะด้วยเขตที่เปลี่ยนไป แต่โดยภาพรวมมองว่า กกต.ได้ทำตามกฎหมาย ซึ่งในการทำตามกฎหมายนี้ก็จะมีทั้งคนที่ถูกใจและไม่ถูกใจ ส่วนพรรคการเมืองที่ไม่ถูกใจนั้นเข้าใจว่าอาจจะเป็นพรรคที่ทำงานในพื้นที่มาโดยตลอดเคยไปเดินสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนแล้ว แต่วันนี้พอเปลี่ยนเขตพื้นที่ก็ย่อมได้รับผลกระทบ ตัวอย่างเช่น เขตราชเทวีที่เคยรวมกับพญาไท แต่ตอนนี้ต้องไปรวมกับสาธร และปทุมวัน

                 

นายสมชัย กล่าวอีกว่า เรื่องนี้ตนไม่คิดว่าจะเป็นการที่พรรคการเมืองจะไปยื่นศาลปกครองได้ เพราะไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้จะอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่ตนแนะนำว่าถ้ามองว่ากกต.แบ่งเขตไม่เป็นธรรม และมีหลักฐานว่ากกต.ทำงานภายใต้การสั่งการของพรรคใดพรรคหนึ่งเพื่อให้การแบ่งเขตเอื้อประโยชน์นั้นก็ให้ยื่นฟ้อง กกต. ตามมาตรา 157 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่ตอนนี้ในส่วนของพรรคเป็นเรื่องที่พรรคต้องตั้งตัวเมื่อเห็นเขตเลือกตั้งแล้วต้องวางตัวหรือสลับตัวผู้สมัคร โดยหลังจากนี้เรื่องยังอยู่ที่พรรคการเมืองอีกหลายเรื่อง เช่น กระบวนการทำไพรมารีโหวตใช้เวลาอย่างน้อย 7วัน ซึ่งเมื่อประกาศราชกิจจานุเบกษาเรื่องแบ่งเขตออกแล้วการทำไพรมารีโหวตก็เริ่มได้เลย และสามารถทำได้จนถึงก่อนวันเลือกตั้ง แต่ถ้ายุบสภาเมื่อไหร่วันรับสมัครรับเลือกตั้งวันแรกน่าจะเป็นประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากวันยุบสภา ดังนั้นถ้ายังไม่ทำไพรมารีแล้วเวลาของมันล้ำเข้าไปในช่วงของ 2 สัปดาห์มากขึ้นเรื่อยๆพรรคการเมืองเองก็จะประสบความไม่คล่องตัว ก็อยากฝากทุกพรรคการเมืองว่าต้องเดินหน้า จะร้องเรียนก็ร้องไป แต่ต้องเดินหน้าในการทำไพรมารีโหวต.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img