วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกNEWSเช็กที่นี่ ! ประกันรายได้ข้าวงวดที่ 30-งวด 31 เกษตรกรได้ราคาเท่าไหร่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เช็กที่นี่ ! ประกันรายได้ข้าวงวดที่ 30-งวด 31 เกษตรกรได้ราคาเท่าไหร่

พาณิชย์ประกาศประกันรายได้ข้าว งวดที่ 30 และงวดที่ 31 สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66
โดยราคาข้าวเปลือกสูงกว่าราคาประกันอย่างต่อเนื่อง


นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้พิจารณาราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและการชดเชยส่วนต่างราคาตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)

โดยสัปดาห์นี้เป็นการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง งวดที่ 30 และงวดที่ 31 โดยงวดที่ 30 สำหรับเกษตรกรที่แจ้งวันคาดว่าจะเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2566 ปรากฏว่า ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ มีราคาเกณฑ์กลางตันละ 13,660.28 บาท เกษตรกรจะได้รับชดเชยส่วนต่างตันละ 339.72 บาท ได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 5,435.52 บาท

สำหรับข้าวเปลือกปทุมธานี ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว มีราคาเกณฑ์กลางสูงกว่าราคาประกัน จึงไม่มีส่วนต่างชดเชยในงวดนี้ โดยข้าวเปลือกปทุมธานี มีราคาเกณฑ์กลางตันละ 11,147.60 บาท ข้าวเปลือกเจ้า มีราคาเกณฑ์กลางตันละ 10,144.04 บาท และข้าวเปลือกเหนียว มีราคาเกณฑ์กลางตันละ 12,628.43 บาท

ส่วนงวดที่ 31 สำหรับเกษตรกรที่แจ้งวันคาดว่าจะเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 6 – 12 เมษายน 2566 ปรากฏว่าข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ มีราคาเกณฑ์กลางตันละ 13,686.08 บาท เกษตรกรจะได้รับชดเชยส่วนต่างตันละ 313.92 บาท ได้รับชดเชยสูงสุดครัวเรือนละ 5,022.72 บาท สำหรับข้าวเปลือกปทุมธานี ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว มีราคาเกณฑ์กลางสูงกว่าราคาประกัน จึงไม่มีส่วนต่างชดเชยในงวดนี้

โดยข้าวเปลือกปทุมธานี มีราคาเกณฑ์กลางตันละ 11,200.98 บาท ข้าวเปลือกเจ้า มีราคาเกณฑ์กลางตันละ 10,145.92 บาท และข้าวเปลือกเหนียว มีราคาเกณฑ์กลางตันละ 12,700.74 บาท สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิ ไม่มีราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง เนื่องจากสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวแล้วทั้ง 2 งวด โดยจะจ่ายเงินให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ภายในวันที่ 18 พฤษภาคม 2566

ทั้งนี้ การที่ราคาข้าวอยู่ในเกณฑ์ดี ในระดับที่สูงกว่าราคาประกัน จนไม่มีส่วนต่างชดเชย ส่งผลให้รัฐบาลจ่ายชดเชยส่วนต่างน้อยลง ช่วยให้ประหยัดงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการได้อีกทางหนึ่งด้วยสถานการณ์การซื้อขายข้าวในตลาดช่วงนี้ ผู้แทนสมาคมโรงสีข้าวไทย และผู้แทนสมาคมค้าข้าวไทยให้ข้อมูลว่า มีความต้องการข้าวเจ้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ

ส่วนข้าวชนิดอื่นๆ มีการซื้อขายกันไม่มากนัก ทำให้ราคาค่อนข้างทรงตัว สำหรับสถานการณ์การส่งออก ผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศให้ข้อมูลว่า ปริมาณการส่งออกจนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 สามารถส่งออกข้าวได้แล้วกว่า 3.05 ล้านตัน และยังมีคำสั่งซื้อในส่วนของข้าวเจ้าเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงค่าเงินบาทที่เริ่มมีเสถียรภาพ ทำให้ราคาส่งออกสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ ส่งผลให้โดยภาพรวมแล้ว สถานการณ์การส่งออกของไทยเป็นไปได้ด้วยดี


อย่างไรก็ตาม ในงวดที่ 1 – 29 ที่ผ่านมา มีเกษตรกรได้รับเงินส่วนต่างประกันรายได้แล้วกว่า 2.636 ล้านครัวเรือน วงเงิน 7,866.32 ล้านบาท สำหรับเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์แต่ยังไม่ได้รับเงิน ขอให้ ติดต่อ ธ.ก.ส. สาขาใกล้บ้าน เพื่อให้ ธ.ก.ส. ตรวจสอบต่อไป


สำหรับการค้าข้าวขอความร่วมมือเกษตรกร โรงสี ผู้ค้า และหน่วยงานในพื้นที่กำกับดูแลและเพิ่มการตรวจสอบ ระมัดระวังไม่ให้เกิดการปลอมปนข้าว เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพข้าว และการส่งออกข้าวได้ นอกจากนี้ กรมการค้าภายใน ได้เพิ่มการติดตามดูแลการซื้อขายข้าวเปลือก ทั้งในเรื่องของการปิดป้ายแสดงราคารับซื้อ รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องชั่งน้ำหนักและเครื่องวัดความชื้น ซึ่งหากพบเห็นว่าท่าข้าวหรือโรงสีใด ไม่ปิดป้ายแสดงราคารับซื้อ กดราคารับซื้อ โกงน้ำหนัก หรือมีพฤติกรรมใดๆ ที่เป็นการเอาเปรียบชาวนา สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน โทร 1569

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img