วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกNEWSรองปลัดยธ.เล็งหาที่เหมาะสมให้ “ทักษิณ” หากเข้าเกณฑ์คุมขังนอกเรือนจำ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รองปลัดยธ.เล็งหาที่เหมาะสมให้ “ทักษิณ” หากเข้าเกณฑ์คุมขังนอกเรือนจำ

รองปลัดยธ.เล็งหาที่เหมาะสมให้ “ทักษิณ” หากเข้าเกณฑ์คุมขังนอกเรือนจำ เผบมีผู้ต้องขังกว่าหมื่นรายที่ต้องคัดกรอง ชี้ระเบียบฯ ไม่สร้างความเหลื่อมล้ำเอื้อคนรวย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และในฐานะรักษาราชการแทนอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงกรณีที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ต้องขังเด็ดขาดของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ  เข้าหลักเกณฑ์ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ. 2566 เนื่องจากมีโทษน้อยกว่า 1 ปี และไม่ใช่บุคคลอยู่ในข่ายน่ากลัวของสังคม และเป็นโทษที่ไม่ได้เป็นภัยต่อสังคม ว่า สำหรับระเบียบดังกล่าว กรมราชทัณฑ์จะต้องไปกำหนดหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นอีก 1 ระเบียบ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังคงอยู่ระหว่างดำเนินการเพราะมีรายละเอียดต้องพิจารณาหลายส่วน แต่กรมราชทัณฑ์จะเร่งรัดให้เร็วที่สุดเนื่องจากมีผู้ต้องขังที่ป่วย พิการ ผู้ต้องขังสูงอายุที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำรอใช้ระเบียบฉบับนี้อยู่เช่นกัน ส่วนระยะเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และข้อมูลที่รวบรวมเพราะมีคณะทำงานตรวจสอบ ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าจะทันก่อนปีใหม่หรือไม่

นายสหการณ์ กล่าวอีกว่า หากกรณีที่อดีตนายกรัฐมนตรีเข้าหลักเกณฑ์ จะพักอาศัยที่บ้านหรือโรงพยาบาลต่อนั้น ก็ต้องดูขั้นตอนในกฎกระทรวงและระเบียบเพราะมีหลายสถานที่ ขึ้นอยู่กับแต่ละคน โดยคณะทำงานจะพิจารณาว่าสถานที่ใดมีความเหมาะสมกับบุคคลนั้นๆ ซึ่งคำว่าเหมาะสม หมายถึงว่า สถานที่ที่รองรับมีความพร้อมในการทำกิจกรรม ผู้ต้องขังปฏิบัติตัวตามเงื่อนไขได้ และอยู่ในสถานที่ราชทัณฑ์ควบคุมดูแลได้ ไม่ไกลจากเรือนจำและเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่จะต้องเดินทางไปตรวจเยี่ยม

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่านายทักษิณ จะเป็นผู้ต้องขังชุดแรกที่ได้ใช้ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำหรือไม่ นายสหการณ์ เผยว่า ตนไม่สามารถคาดการณ์ได้ เพราะเรือนจำทั่วประเทศต้องไปดำเนินการคัดเลือกพิจารณาผู้ต้องขังที่มีคุณสมบัติและเข้าหลักเกณฑ์ ซึ่งตอนนี้พบว่ามีหลักหมื่นราย ก่อนเสนอรายชื่อขึ้นมายังคณะทำงานตามขั้นตอน ทั้งนี้ ในจำนวนผู้ต้องขังที่อยู่ในเงื่อนไขมี ก็ต้องดูความพร้อมด้านอื่นๆประกอบ อาทิ สถานที่คุมขัง ความพร้อมของตัวผู้ต้องขัง ความพร้อมในสิ่งที่ต้องกำหนดตามแนวทางปฏิบัติ ความเสี่ยงต่างๆ เป็นต้น

ต่อข้อถามว่ากรณีผู้ต้องขังที่มีสถานะร่ำรวย หรือผู้ต้องขังที่มีสถานะยากจน ระเบียบนี้จะมีผลต่อความเหลื่อมล้ำหรือไม่ เพราะคนรวยอาจจะได้คุมขังในบ้านที่มีเครื่องปรับอากาศ นายสหการณ์ เผยว่า ตนคิดว่าเรื่องนี้คนจนน่าจะได้โอกาสมากกว่า เพราะที่ผ่านมาคนที่ไม่ได้อยู่ในฐานะร่ำรวยมีจำนวนเยอะมากกว่าและมีอาการเจ็บป่วย พิการ หรือชราภาพ ซึ่งสมควรได้รับการพิจารณาให้คุมขังนอกเรือนจำ เพราะคณะทำงานไม่ได้เจาะจงให้คุมขังเฉพาะที่บ้าน แต่อาจเป็นมูลนิธิ วัดวาอาราม สถานศาสนา บ้านญาติพี่น้อง หรือบ้านพักคนชราก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อออกเรือนจำไปแล้วผู้ต้องขังยังอยู่ในการควบคุมดูแลของราชทัณฑ์ และอยู่ภายใต้คำพิพากษาของศาล จึงต้องไม่มีความเสี่ยง ไม่เปิดช่องให้หลบหนีหรือก่อเหตุซ้ำ.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img