วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlightธปท.เล็งคลอดมาตรการคุมลิสซิ่งรายใหญ่ 2 พันบริษัท
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ธปท.เล็งคลอดมาตรการคุมลิสซิ่งรายใหญ่ 2 พันบริษัท

“แบงก์ชาติ” สั่งทำเกณฑ์ใหม่กำกับผู้ประกอบการธุรกิจลีสซิ่งเพิ่ม ป้องกันเอาเปรียบผู้บริโภค ชง ครม.ประกาศใช้ เน้นคุมรายใหญ่เบ็ดเสร็จเกือบ 2,000 บริษัท ที่มีพอร์ต 500 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งเช่าซื้อ “รถยนต์-มอเตอร์ไซค์”

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการธุรกิจลีสซิ่ง เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สั่งการให้คณะทำงานฝ่ายการให้บริการทางการเงินอย่างเป็นธรรม (market conduct) จัดทำหลักเกณฑ์ พระราชกฤษฎีกากำหนดการประกอบธุรกิจทางการเงินบางประเภทอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 พ.ศ. ….เพื่อออกมากำกับดูแลธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยคาดว่าเนื้อหาหลักเกณฑ์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ market conduct ประมาณ 95% และที่เหลืออีก 5% จะเป็นเรื่องของหลักเกณฑ์การจัดทำรายงาน ธปท.

โดยร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ฉบับดังกล่าวจะควบคุมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่มียอดสินเชื่อคงค้างตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป โดยอ้างอิงตามพระราชบัญญัติรถยนต์ของกรมการขนส่งทางบก เพื่อให้มาอยู่ภายใต้การกำกับของแบงก์ชาติ เนื่องจากกลุ่มนี้มีความพร้อมทางด้านระบบไอที และที่สำคัญ มีส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ที่มีผลในเชิงต่อระบบและผู้บริโภคค่อนข้างมาก ทำให้ ธปท.จำเป็นต้องเข้ามากำกับดูแลใกล้ชิด

ขณะที่รายกลางและรายเล็ก ทั้งในส่วนของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ที่มียอดสินเชื่อคงค้างไม่ถึง 500 ล้านบาท กลุ่มเหล่านี้สามารถทำธุรกิจต่อเนื่องไปได้ ซึ่ง ธปท.มองว่า กลุ่มนี้หากเข้าไปกำกับจะเป็นการสร้างภาระให้ผู้ประกอบการ

เนื่องจากกลุ่มนี้มีต้นทุนค่อนข้างสูง ระบบทางด้านไอทีไม่พร้อมมากเมื่อเทียบกับรายใหญ่ ซึ่งหากมีการลงทุนเพิ่มเติมจะเป็นการสร้างภาระและกระทบต่อผลกำไรของบริษัทเหล่านั้นลดลง และอีกด้านจะเป็นภาระให้กับ ธปท.มากเกินไปในการเข้าไปกำกับดูแล รวมถึงกลุ่มนี้ไม่ได้มีสัดส่วนมาร์เก็ตแชร์ในระบบอย่างมีนัยสำคัญมากนัก

ดังนั้น จากหลักเกณฑ์การกำหนดการควบคุมภายใต้กำกับตามยอดสินเชื่อคงค้าง 500 ล้านบาทขึ้นไป จะพบว่า กลุ่มธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์น่าจะเข้าไปอยู่ในเกณฑ์ภายใต้การกำกับประมาณ 95% ของระบบ เนื่องจากยอดวงเงินปล่อยสินเชื่อต่อคันค่อนข้างสูงและส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการค่ายผลิตรถยนต์ (captive finance) และบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ เช่น กรุงศรี ออโต้ ที่มีพอร์ตประมาณ 4 แสนล้านบาท โตโยต้า พอร์ตราว 3.5 แสนล้านบาท หรือเอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง ที่มีพอร์ตราว 5-6 หมื่นล้านบาท เป็นต้น

สำหรับผู้ประกอบการเช่าซื้อรถยนต์ทั้งระบบมีอยู่ประมาณ 2,000 รายทั่วประเทศ โดยประมาณ 500 ราย จะเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ สถาบันการเงิน และบริษัทลูกของสถาบันการเงิน และที่เหลือจะเป็นผู้ประกอบการสินเชื่อห้องแถวกระจายทั่วประเทศอีกกว่า 1,000 ราย ปัจจุบันมียอดสินเชื่อคงค้างเช่าซื้อรถยนต์ราว 2.2 ล้านล้านบาท

ส่วนผู้ประกอบการเช่าซื้อจักรยานยนต์ทั้งระบบมีค่อนข้างเยอะ โดยแบ่งเป็น ผู้ประกอบการที่อยู่ในสมาคมเช่าซื้อจักรยานยนต์ไทยมีทั้งสิ้น 9 ราย และบริษัทขนาดใหญ่ที่อยู่นอกสมาคมอีกราว 6 ราย หรือคิดเป็น 50% ของทั้งระบบ และส่วนที่เหลืออีก 50% จะเป็นกลุ่มเช่าซื้อจักรยานยนต์ท้องถิ่น หรือ local finance ปัจจุบันมียอดคงค้างทั้งระบบราว 7-8 หมื่นล้านบาท

ส่วนกลุ่มธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่คาดว่าจะเข้าอยู่ภายใต้การกำกับจะอยู่ประมาณ 11-12 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ เช่น บริษัท ฐิติกร, บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส, บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง, บริษัท ที ลีสซิ่ง และบริษัท ไฮเวย์ เป็นต้น โดยบริษัทเช่าซื้อจักรยานยนต์รายกลางและรายย่อยจะมีพอร์ตเฉลี่ยราวเพียง 50-60 ล้านบาท ส่วนรายใหญ่จะเฉลี่ยหลักหลายร้อยล้านบาท จนถึง 1 หมื่นล้านบาท

เดิมเกณฑ์ทำธุรกิจเช่าซื้อจะไม่มีเรื่องมาร์เก็ตคอนดักต์ (กฎเกณฑ์การให้บริการทางการเงินอย่างเป็นธรรม) ธปท.น่าจะดึงเรื่องนี้เข้ามาเพิ่มโดยใช้เกณฑ์ของจำนำทะเบียนรถ และกำหนดยอดสินเชื่อว่าใครจะมาอยู่ภายใต้การกำกับบ้าง โดยวงเงิน 500 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเข้ามาอยู่ในเกณฑ์การกำกับทั้งหมด ส่วนใครไม่ถึง 500 ล้านบาทก็หลุดไป

แหล่งข่าวระบุว่า ธุรกิจที่ไม่เข้าเกณฑ์ในส่วนของรถยนต์น่าจะเป็นกลุ่มเต็นท์รถ หรือเช่าซื้อรถยนต์ห้องแถว ส่วนจักรยานยนต์ตั้งแต่รายกลางและเล็กหลุดหมด โดยเกณฑ์นี้เมื่อ ธปท.ทำแล้วเสร็จ จะเสนอให้สำนักงานกฤษฎีกาตรวจดูถ้อยคำ และคาดว่าจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปลายเดือน ธ.ค. 2565 และจะมีการลงราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 180 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่ากลางปี 2566 จะมีผลบังคับใช้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img