วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 9, 2024
หน้าแรกHighlightเศรษฐกิจคู่ค้าหด-ส่งออกไทยต.ค.ทรุด ต่ำสุดครั้งแรกในรอบ 20 เดือน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เศรษฐกิจคู่ค้าหด-ส่งออกไทยต.ค.ทรุด ต่ำสุดครั้งแรกในรอบ 20 เดือน

“จุรินทร์” โชว์ตัวเลขส่งออกไทยเดือนต.ค. หดตัว 4.4% ครั้งแรกในรอบ 20 เดือน โดยเป็นผลมาจากแรงเสียดทานของเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัวลง เงินเฟ้อ โควิด แต่มั่นใจการส่งออกทั้งปีขยายตัวเกินเป้า 4%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม 2565 พบว่ามีมูลค่า 21,772.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 4.4% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัว 2.8% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือน ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2564 ที่หดตัว 2.8% แต่ทั้งนี้ การส่งออกไทย 10 เดือนแรก ยังขยายตัวได้ที่ 9.1% และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับนามัน ทองคำ และ ยุทธปัจจัย ขยายตัว 7.4%

ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 22,368.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 2.1% ส่งผลให้ไทย ขาดดุลการค้า 596.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม – ตุลาคม) การส่งออก มีมูลค่า 243,138.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 9.1% การนำเข้า มีมูลค่า 258,719.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 18.3% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 15,581.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ การส่งออกที่หดตัวเป็นผลมาจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าชะลอตัวลง จากการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค และตลาดจีน ที่ยังคงใช้มาตรการโควิดเป็นศูนย์ เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การส่งออกสินค้าในหลายหมวด ชะลอตัวลง รวมไปถึงแรงเสียดทานจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จึงคาดว่าจะมีแนวโน้มกระทบถึงปี 2566

อย่างไรก็ดี การส่งออกยังมีปัจจัยบวกจากภาวะเงินบาทอ่อนค่า และค่าระวางเรือที่เริ่มปรับเข้าสู่สมดุล ขณะที่การส่งออก 2 เดือนยังไม่สามารถประเมินได้ว่าการส่งออก จะหดตัวหรือไม่ แต่เชื่อว่าการส่งออกทั้งปี 2565 จะขยายตัวได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4% ซึ่งเชื่อว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งเท่าตัว ทั้งการขยายตัวและมูลค่าการส่งออก

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 3.4% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน หดในรอบ 23 เดือน แต่ยังมีสินค้าสาคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ขยายตัว 2.8% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดอิรัก จีน แอฟริกาใต้ เซเนกัล และญี่ปุ่น) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป ขยายตัว 38.0% ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย) ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลัง ขยายตัว 26.3% (ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย) อาหารทะเลกระป๋องและ แปรรูป ขยายตัว 0.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย ลิเบีย และเกาหลีใต้)

อาหารสัตว์เลียง ขยายตัว 4.8% ขยายตัวต่อเนื่อง 38 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเยอรมนี) เครื่องดื่ม ขยายตัว 20.3% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม เมียนมา สิงคโปร์ จีน และมาเลเซีย) ทุเรียนแช่แข็ง ขยายตัว 23.4% ขยายตัว ต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน) ไอศกรีม ขยายตัว 13.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 29 เดือน (ขยายตัว ในตลาดกัมพูชา เกาหลีใต้ เวียดนาม ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์) กล้วยไม้ ขยายตัว 10.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 20 เดือน (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม สหรัฐฯ อิตาลี บราซิล และเกาหลีใต้)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา หดตัว 28.5% หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ตุรกี และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เยอรมนี โรมาเนีย และโปแลนด์) ผลไม้สดและผลไม้แห้ง หดตัว 34.9% หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฮ่องกง และสหรัฐ แต่ขยายตัว ในตลาดฟิลิปปินส์ เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ และออสเตรเลีย)

ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัว 11.3% หดตัวในรอบ 18 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดจีน รัสเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ และเมียนมา) ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 12.0% (YoY)

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 3.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวในรอบ 20 เดือน แต่ยังมีสินค้า สำคัญที่ขยายตัวดี อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 5.1% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบีย และนิวซีแลนด์) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคา) ขยายตัว 5.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 20 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐ-อาหรับเอมิเรตส์ เบลเยียม ญี่ปุ่น) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว 90.6% ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง และเนเธอร์แลนด์)

เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัว 8.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และฝรั่งเศส) อุปกรณ์กึ่งตัวนา ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัว 74.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย จีน และไต้หวัน) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัว 14.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ กัมพูชา เบลเยียม และออสเตรเลีย)

ขณะที่สินค้าสาคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับนามัน หดตัว 22.8% หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน เวียดนาม อินเดีย มาเลเซีย และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดลาว) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หดตัว 27.4% กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์

แต่ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน ไอร์แลนด์ อินเดีย และออสเตรเลีย) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัว 13.1% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม และจีน แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย แคนาดา ลาว และกัมพูชา) ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2565 การ ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 7.8% (YoY)

อย่างไรก็ดี แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวก การส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ

(1) การผลักดันไทยให้เป็นแหล่งผลิตและ แปรรูปข้าวเพื่อส่งออก

(2) การหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เพื่อจับคู่เครือข่ายภาครัฐและเอกชนตามแนวคิด Co-create Vision เพื่อลงทุนซื้อขายสินค้าและบริการ การบริหารซัพพลายเชนร่วมกัน รวมไปถึงการส่งเสริม แนวทางเศรษฐกิจ BCG หรือ Green Economy

นอกจากนี้ ไทยยังได้ขอให้ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทให้ความรู้เกี่ยวกับ กฎเกณฑ์กติกาในการส่งออกสินค้าเกษตรแก่ไทยด้วย เนื่องจากปัจจุบันไทยยังส่งออกสินค้าเกษตรต่ากว่าโควตา ที่รัฐบาลญี่ปุ่นมอบให้อยู่มาก

(3) มาตรการส่งเสริมการส่งออกปาล์มนามันของไทย เพื่อรักษาสมดุลในด้านราคา หลังอินโดนีเซียและมาเลเซีย เร่งส่งออกน้ามันปาล์มสู่ตลาดโลก ส่งผลให้ราคาปาล์มเริ่มปรับลดลง โดยเสนอให้ที่ ประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ามันแห่งชาติ (กนป.) มีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม และสนับสนุนการ ส่งออกกิโลกรัมละ 2 บาท เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกของไทยยังสามารถบรรลุกรอบ เป้าหมายที่วางไว้ โดยมีปัจจัยหนุนจากต้นทุนด้านพลังงานที่เริ่มลดลง ค่าระวางเรือขนส่งสินค้าที่เข้าสู่สมดุล อุปทานชิปประมวลผลที่มีมากขึ้นเพียงพอต่อการผลิตสินค้าเทคโนโลยีเพื่อการส่งออก การขยายตัวของ นักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยที่ส่งผลดีต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และเงินบาทที่ยังอ่อนค่า เมื่อเทียบกับคู่ค้าหลักของไทย

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการหดตัวของอุปสงค์ในคู่ค้าสาคัญ ความไม่แน่นอน ที่เกิดจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และจีน รวมไปถึงความไม่สงบในยูเครนที่ยังคงอยู่ เป็นปัจจัยเฝ้าระวังที่ กระทรวงพาณิชย์ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img