วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกHighlightสัปดาห์หน้าจับตาประชุมกนง.-มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สัปดาห์หน้าจับตาประชุมกนง.-มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินสัปดาห์หน้าค่าเงินบาทอยู่ที่ 29.80-30.20 บาทต่อดอลลาร์ แนะติดตามผลการประชุมกนง.ความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

ในสัปดาห์หน้า วันที่ 1-5 ก.พ.ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 29.80-30.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมกนง. (3 ก.พ.) ความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนจาก ADP ดัชนี PMI และดัชนี ISM ภาคการผลิตเดือนม.ค. 64 ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน รายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนธ.ค. 63 นอกจากนี้ตลาดอาจรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ ดัชนี PMI ภาคการผลิต-ภาคบริการเดือนม.ค. ของจีน ยูโรโซน อังกฤษ และตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/63 ของยูโรโซน ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น เงินบาทกลับมาแข็งค่าช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์เพื่อรอปัจจัยใหม่มากระตุ้น ก่อนจะขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อย หลังเงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากผลการประชุมเฟดที่มีมติคงดอกเบี้ยและวงเงิน QE ตามเดิม

โดยไม่ได้ผ่อนคลายมาตรการใดๆ เพิ่มเติม แม้จะมีความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับตลาดกังวลว่า ปธน.โจ ไบเดนอาจเผชิญอุปสรรคในการผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในสภาคองเกรส อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ตามทิศทางเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค  ในวันที่ 29 ม.ค. เงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.92 เทียบกับระดับ 29.99 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้าวันที่22 ม.ค.

ส่วนความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ถัดไปวันที่ 1-5 ก.พ. บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,455 และ 1,425 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,480 และ 1,500 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมกนง. (3 ก.พ.) สถานการณ์โควิด-19 ผลประกอบการงวดไตรมาส 4/63 ของบจ. และดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนม.ค. ของไทย รวมถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนม.ค. ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/63 ของยูโรโซน ตลอดจนดัชนี PMI Composite เดือนม.ค. ของยูโรโซน ญี่ปุ่นและจีน

สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นไทยทยอยปรับตัวลงตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,466.98 จุด ลดลง 2.06% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 87,564.08 ล้านบาท ลดลง 2.99% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai 1.71% มาปิดที่ 356.33 จุด

หุ้นไทยขยับขึ้นช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ นำโดย หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และพลังงาน ก่อนจะร่วงลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ตามแรงขายกลุ่มนักลงทุนสถาบัน นักลงทุนต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ประกอบกับทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศเผชิญแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับอุปสรรคของการเดินหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในสภาคองเกรส และสัญญาณระมัดระวังต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากการประชุมเฟดรอบล่าสุด หุ้นไทยยังลงต่อในช่วงปลายสัปดาห์ แม้จะมีปัจจัยบวกจากการทยอยผ่อนคลายล็อกมาตรการคุมโควิด-19 ในประเทศบางส่วนก็ตาม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img