วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกNEWSแท็กซี่กว่า 2,000 คันแห่ปรับจูนมิเตอร์ใหม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แท็กซี่กว่า 2,000 คันแห่ปรับจูนมิเตอร์ใหม่

ปรับจูนมิเตอร์วันแรกคึกคัก แท็กซี่ กว่า 2,000 คัน เข้าคิวแน่น โอดเอกชนเก็บค่าจูนแพง 300-350 บาท ด้านขบ.เร่งเพิ่มเจ้าหน้าที่และเครื่องซีลตะกั่ว คาดอัตราใหม่เพิ่มรายได้ 180 บาทต่อคันต่อวัน

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และ นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก นำคณะผู้บริหารกรมการขนส่งทางบก ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการตั้งจุดให้บริการผู้ขับรถแท็กซี่ที่นำมิเตอร์มาเข้ารับการปรับจูนและตรวจรับรองความถูกต้องก่อนออกให้บริการตามอัตราค่าโดยสารใหม่ โดยมีการเปิดให้บริการทุกวันจันทร์-เสาร์ ระหว่างวันที่ 16 ม.ค. – 28 ก.พ. 2566 เวลา 8.00น. – 17.00น. โดยมีบริษัทเอกชนร่วมให้บริการจำนวน 4 บริษัท ได้แก่บริษัท เพาเวอร์เมติค จำกัด (ยี่ห้อ Printax, Royal) , บริษัท ซันไทมิเตอร์ จำกัด (ยี่ห้อ 3TM) , บริษัท จีพีเอสไทยสตาร์ จำกัด (ยี่ห้อ G-Tax) และบริษัท ทีเอชที โปรเกรส จำกัด (ยี่ห้อ Profitto)

นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า วันแรกในการ ให้บริการ มีผู้ขับรถแท็กซี่เข้ามาใช้บริการแล้วกว่า 2,000 คน ซึ่ง สถานีกลางบางซื่อ จะสามารถดำเนินการได้ 2,000-3,000 คันต่อวัน

เนื่องจากเป็นวันแรก ซึ่งมีผู้ขับรถแท็กซี่มาใช้บริการจำนวนมาก จึงพบว่ามีปัญหา ทำให้เกิดการแออัดในบางจุดให้บริการ และมีการรอคิวนาน ในขั้นตอนซีลตะกั่ว จึงได้สั่งการให้ปรับผังการบริการแยกกลุ่มให้กระจายตัวอย่างเหมาะสมไม่เกิดการแออัด และเพิ่มเครื่องซิลตะกั่วรองรับกับจำนวนผู้มาใช้บริการ ปัจจุบันปัญหาต่างๆ ได้รับการปรับปรุง คลี่คลายแล้ว

ขั้นตอนสำหรับผู้สนใจนำมิเตอร์มาปรับจูน ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ให้ผู้ขับรถแท็กซี่นำมิเตอร์พร้อมสำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ หลังจากนั้นให้มารับบัตรคิวตรงบริเวณประตูทางเข้าหมายเลข 2 และเมื่อทำการปรับจูนมิเตอร์แล้ว จะมีอัตราค่าปรับจูนมิเตอร์อยู่ที่ 300-350 บาท จากบริษัทมิเตอร์ และเจ้าหน้าที่จากกรมการขนส่งทางบกจะตรวจสอบมิเตอร์ หากการปรับจูนมิเตอร์ถูกต้องตามประกาศของกระทรวงคมนาคม จะทำการซีลตะกั่วที่ตัวมิเตอร์เพื่อรับรองความถูกต้อง

ทั้งนี้กรมการขนส่งทางบกเตรียมจัดเจ้าหน้าที่และเพิ่มเครื่องซีลตะกั่ว จาก 4 เครื่อง เป็น 6 เครื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วใน การให้บริการ โดยคาดการณ์ว่าจะมีผู้ขับรถแท็กซี่นำมิเตอร์มาปรับจูน ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) รวมทั้งหมดประมาณ 72,000 คัน

อย่างไรก็ตามหลังจากที่แท็กซี่ได้ปรับขึ้นค่าโดยสารใหม่ครั้งนี้คาดว่าจะทำให้คนขับรถแท็กซี่มีรายได้เพิ่มประมาณ 180 บาทต่อคันต่อวัน และขอเน้นย้ำให้ผู้ขับรถแท็กซี่ต้องพัฒนาคุณภาพในการให้บริการประชาชน ไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร หรือไม่ฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้ใช้บริการในการเก็บค่าโดยสารเกินจากมิเตอร์ รวมถึงให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกอย่างเคร่งครัดด้วย

สำหรับบรรยากาศ คึกคักตั้งแต่ช่วงเช้า มีแท็กซี่นำมิเตอร์มาปรับจูนเป็นจำนวนมาก โดยพากันมารอรับบัตรคิวกันตั้งแต่ 6.00 น ขณะที่ เวลาเปิดคือ 8:00 น.โดยต้องใช้เวลาเข้าคิว ปรับจูนมิเตอร์ จนถึงขั้นตอน ให้เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งฯตรวจสอบและผนึกซีลตะกั่ว เฉลี่ย 3-4 ชั่วโมง

ด้านผู้ขับรถแท็กซี่ ส่วนใหญ่ บอกว่า บริษัทเอกชน มีการปรับจูนมิเตอร์ ล300-350 แพงเกินไป ขณะที่ แม้จะดีใจที่ได้รับการปรับขึ้นค่าโดยสาร หลังไม่ได้ปรับขึ้นมาถึง 8 ปี แต่การปรับขึ้นครั้งนี้ก็ยังมองว่าน้อยเกินไป เพียงกิโลเมตรละ 50 สตางค์ ส่วนแท็กซี่ทั่วไป อัตราค่าโดยสารแรกเข้ายังเป็น 35 บาท ไม่ได้ปรับเป็น 40 บาท มีเพียงรถแท็กซี่ขนาดใหญ่ ขณะที่ ค่าครองชีพและต้นทุนค่าเชื้อเพลิง น้ำมัน,ก๊าซNGV , LPG ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img