วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกNEWSหอการค้าไทยหวั่นรัฐบาลใหม่ขาดเสถียรภาพฉุดจีดีพีโตต่ำกว่า 3%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

หอการค้าไทยหวั่นรัฐบาลใหม่ขาดเสถียรภาพฉุดจีดีพีโตต่ำกว่า 3%

ม.หอการค้าไทยเผย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.ขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 นิวไฮสูงสุดในรอบ 38 เดือนนับจากมี.ค.63 หลังมีการเลือกตั้งภายในประเทศ หวั่นรัฐบาลใหม่ขาดเสถียรภาพฉุดจีดีพีโตต่ำกว่า 3%


นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับเดือนเม.ย.ตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 38 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา

ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจากที่การท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนทั้งการท่องเที่ยวของคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่เริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น

ตลอดจนบรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งที่คึกคักทั่วประเทศ ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวลดลงทำให้ประชาชนรู้สึกผ่อนคลายเรื่องค่าครองชีพลง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวดีขึ้นทุกรายการอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่ยังทรงตัวสูงโดยเฉพาะค่าไฟฟ้ารวมถึงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์สถาบันการเงินของโลก เศรษฐกิจโลกชะลอตัวและสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน

ตลอดจนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่อาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลลบต่อการส่งออกของไทยทำให้การส่งออกในช่วงนี้หดตัวลงและมีผลกระทบในเชิงลบต่อกำลังซื้อของประชาชนในทุกภูมิภาค

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเม.ย.อยู่ที่ 49.4 จากมี.ค.อยู่ที่ 48 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมอยู่ที่ 52 จากมี.ค.อยู่ที่ 50.9 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 63.6 จากมี.ค.อยู่ที่ 62.5 ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนมีนาคม แสดงว่าผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวขึ้น

อย่างไรก็ตาม ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น

รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจโลกและสถาบันการเงินของโลกที่มีความเสี่ยงโลกขึ้นตลอดจนยังคงกังวลในสถานการณ์โควิดในประเทศไทยและทั่วโลกที่ยังคงมีอยู่แม้ว่าจะคลายตัวลงก็ตาม ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง

สำหรับสถาการณ์หลังการเลือกตั้ง หอการค้าฯ คาดการณ์ว่า จะเห็นการจัดตั้งรัฐบาล มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีได้ในช่วงเดือน กรกฎาคม หรือสิงหาคม 2566 หากหน้าตารัฐบาลดี ผลออกมาเป็นบวก คนจะเริ่มลงทุน และจะเริ่มมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจจะมีความคึกคึกในช่วงไตรมาส 4 เพราะช่วงที่ภาคการท่องเที่ยวจะมีความโดดเด่น ราคาพืชผลทางการเกษตรดี เศรษฐกิจโลกน่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น เพราะคาดวาธนาคารกลางสหรัฐจะเริ่มหยุดการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อให้เศรษฐกิจค่อยๆประคองตัวขึ้น ขณะที่การส่งออกไทยก็ปรับตัวดีขึ้น จึงทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็ง และโด่นเด่นมากขึ้นได้ในช่วงดังกล่าว

“จากปัจจัยทั้งหมด จึงทำให้ หอการค้าฯ ยังคงคาดการว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ อยู่ที่ 3.6%ต่อปี และจะประเมินอีกครั้งหลังเห็นหน้าตาของรัฐบาลใหม่ และนโยบายทางเศรษกิจ แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจมีโอกาสเติบโตอยู่ในกรอบที่ 3-3.5% และมีโอกาศน้อยมากที่เศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่า 3% โดยมีเพียงปัจจัยเดียวที่ทำให้เศรษกิจโตต่ำกว่า 3% ได้ คือ รัฐบาลใหม่ขาดเสถียรภาพ เพราะเป็นตัวบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค และนักลงทุน ทำให้การลงทุนในประเทศล่าช้า นอกจากนี้ยังมีผลต่อภาคการท่องเที่ยว ซึ่งหวังว่าสถานการณ์นี้จะไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น แต่หากว่ารัฐบาลมีเสถียรภาพ และสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เร็ว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเร็ว ก็เชื่อว่า โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 3.5-4% ต่อปีจะมีมากขึ้น ”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img