วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlightดัชนี“เชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม”ก.ค.วูบ หลัง“หนี้ครัวเครือน-ค่าครองชีพ”พุ่งสูง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ดัชนี“เชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม”ก.ค.วูบ หลัง“หนี้ครัวเครือน-ค่าครองชีพ”พุ่งสูง

“ส.อ.ท.”เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค.อยู่ที่ 92.3 ปรับตัวลง จากมิ.ย.อยู่ที่ 94.1 ต่ำสุดรอบ 10 เดือน จากปัญหาหนี้ครัวเรือน-ค่าครองชีพพุ่ง ฉุดกำลังซื้อลดฮวบ ขณะที่เศรษฐกิจโลกเปราะบางเพิ่มขึ้น

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมประจำเดือน ก.ค. อยู่ที่ระดับ 92.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 94.1 ในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน โดยเป็นการปรับตัวของดัชนีที่ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมลดลงในทุกองค์ประกอบ ทั้งดัชนีคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ รวมทั้งผลประกอบการที่ลดลง โดยมีปัจจัยหลักๆคือปัญหาที่มาจากทั้งปัจจัยในประเทศ และภายนอกประเทศ

โดยปัจจัยภายในประเทศคือปัจจัยในเรื่องของหนี้ครัวเรือน และค่าครองชีพของประชาชนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งปัจจุบันหนี้ครัวเรือนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการรวมหนี้ใหม่ ในส่วนของหนี้สหกรณ์ และหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เข้ามาด้วยทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มเป็น 90.6% ของจีดีพี แต่จำนวนนี้ยังไม่รวมหนี้นอกระบบอีก 19.6% ซึ่งทำให้หนี้ครัวเรือนที่แท้จริงอยู่ที่ประมาณ 110% ทำให้กดดันให้กำลังซื้อในประเทศลดลง

ขณะเดียวกันคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ทำให้ต้นทุนทางการเงินของประชาชน และภาคธุรกิจสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้เศรษฐกิจของไทยยังได้รับผลกระทบจากการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้า และยังไม่เห็นความชัดเจนว่าภายในเดือน ส.ค.นี้จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่

“หากการตั้งรัฐบาลไม่ทันเดือน ส.ค.จะกระทบกับไทม์ไลน์การดำเนินธุรกิจของเอกชน ที่ส่วนใหญ่ให้ไทม์ไลน์การจัดตั้งรัฐบาลภายในเดือน ส.ค.ในการวางแผนธุรกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ซึ่งหากยังตั้งรัฐบาลไม่ได้ก็จะเกิดผลกระทบต่อเนื่องในการทำธุรกิจ ซึ่งยิ่งช้าถือว่าไม่เกิดผลดี”

ส่วนปัจจัยภายนอกเศรษฐกิจยังมีความเปราะบางมาก โดยประเทศที่เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในเอเชีย คือเศรษฐกิจจีนถือว่ามีความเปราะบางโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีปัญหาทำให้เศรษฐกิจภายในจีนชะลอตัวลงมากกระทบกับภาคการส่งออกไปหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งการส่งออกของประเทศไทยที่หดตัวกว่า 9 เดือนติดต่อกัน อย่างไรก็ตามปัจจัยบวกในการสำรวจความเห็นเรื่องดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมได้แก่ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ที่ทำให้รายได้ของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อมมีเพิ่มขึ้น ช่วยพยุงการใช้จ่ายและอุปโภค บริโภคภายในประเทศ

สำหรับดัชนีคาดการณ์ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในอีก 3 เดือนข้างหน้า ก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน โดยอยู่ที่ 100.2 ใกล้เคียงกับในเดือน มิ.ย.ที่อยู่ที่ 102.1 ซึ่งถือว่าลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จากเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา โดยการปรับลดลงของดัชนีคาดการณ์ 3 เดือน มาจากปัจจัยทางการเมือง การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า ทำให้มีความกังวลว่าจะมีความไม่ต่อเนื่องในนโยบายเศรษฐกิจ

ขณะที่ต้นทุนการผลิตก็มีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้น เช่น ราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า และค่าจ้างแรงงาน ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ และสภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img