วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกHighlightพิษโควิดทำคนไทยเป็นหนี้อ่วม ยอดค้างชำระพุ่ง 5.2 แสนล้านบาท
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

พิษโควิดทำคนไทยเป็นหนี้อ่วม ยอดค้างชำระพุ่ง 5.2 แสนล้านบาท

“สศช.” เผยพิษโควิดทำคนไทยหนี้พุ่งยอดค้างชำระ 1-3 เดือนแตะ 5.2 แสนล้านบาท ทั้งบ้าน-รถยนต์-สินเชื่อบุคคล-บัตรเครดิต กลุ่มผู้สูงอายุ-เจนวายอาการน่าเป็นห่วง

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สถานการณ์หนี้สินครัวเรือนไทยจากข้อมูล NCB ไตรมาส 1/66 พบว่า หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 12.9 ล้านล้านบาท โดยมีบัญชีสินเชื่อในระบบประมาณ 83.1 ล้านบัญชี ซึ่งในช่วง COVID-19 ครัวเรือนมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหนี้ครัวเรือนขยายตัวที่ 5.7%, 3.8% และ 4.2% ระหว่างปี 2563-2565  

โดยประเภทหนี้ที่มีการขยายตัวสูงที่สุด คือ หนี้ที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวเฉลี่ย 5.9% ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกันรองลงมาเป็นหนี้อื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยสินเชื่อเพื่อการเกษตร สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเช่าซื้อมอเตอร์ไซค์ และสินเชื่อที่ไม่สามารถจำแนกประเภทได้ ที่ขยายตัวเฉลี่ย 5.7% ต่อปี และหนี้ส่วนบุคคลขยายตัว 5.4% หนี้บัตรเครดิต 2.8% และหนี้รถยนต์ที่ 1.1%  

ด้านความสามารถในการชำาระหนี้ พบว่า NPL หรือหนี้ที่มีการค้างชำาระมากกว่า 3 เดือน ในปี 2563หดตัว 7.7% และทำให้สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 7.4% ลดลงจาก 8.5% ในปี 2562 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินและมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ ในช่วง COVID-19 ที่ช่วยชะลอการเป็น NPL ขณะที่ในปี 2564 และ 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เริ่มสิ้นสุดลง สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมจึงปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 7.7% และ 7.6% ตามลำดับ

ทั้งนี้ หนี้ที่มีปัญหามากที่สุด ในปี 2565 คือหนี้อื่นๆ ซึ่งมีสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 14.3% รองลงมาเป็นหนี้บัตรเครดิต 9.8% หนี้ส่วนบุคคล 9.2% หนี้รถยนต์ 7% และหนี้ที่อยู่อาศัยที่ 3.5%

สำหรับ SML หรือหนี้ที่ค้างชำระระหว่าง 1-3 เดือน พบว่า มีมูลค่าลดลงในปี 2563 ที่ 24.7% และขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึง 42.7% ในปี 2564 และ 22% ในปี 2565 ซึ่งมีมูลค่ากว่า 5.2 แสนล้านบาท ถือเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวลเมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 ที่มีมูลค่าเพียง 3.3 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ ภาพรวมสัดส่วนSML ต่อสินเชื่อรวมปี 2565 อยู่ที่ 4% ซึ่งสัดส่วน SML ต่อสินเชื่อรวมในหนี้รถยนต์สูงที่สุดถึง 7.5% รองลงมาเป็นหนี้ส่วนบุคคล 4.6% หนี้ที่อยู่อาศัย 2.8% หนี้อื่นๆ 2.6% และหนี้บัตรเครดิต 1.7%  

ขณะที่เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการก่อหนี้และความสามารถในการชำระหนี้จำแนกตามวัตถุประสงค์ และกลุ่มอายุ พบว่า

1.ทุกกลุ่มอายุมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นในช่วง COVID-19 โดยกลุ่ม 40-49 ปี มีมูลค่าหนี้สินคงค้างสูงที่สุดในช่วงปี 2563-2565 โดยปี 2565 มีมูลค่าหนี้คงค้าง 3.9 ล้านล้านบาท รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 30-39 ปีที่ 3.6 ล้านล้านบาท แต่หากพิจารณาการขยายตัว พบว่าหนี้ของกลุ่มผู้สูงอายุขยายตัวสูงที่สุด ซึ่งในระหว่างปี 2563-2565 ขยายตัวเฉลี่ยถึง 7.9% ต่อปี

ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาโครงสร้างหนี้แต่ละช่วงวัยยังพบว่า แต่ละกลุ่มมีภาระหนี้ที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี มีสัดส่วนอยู่ที่ 41.2% กลุ่มอายุ 30-39 ปีมีสัดส่วนอยู่ที่ 50.3% และกลุ่ม 40-49 ปีอยู่ที่ 41.1% ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่อยู่อาศัย ขณะที่กลุ่มอายุ 50-59 ปีและกลุ่ม 60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นหนี้อื่น ๆ หรือสินเชื่อเพื่อการเกษตร สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเช่าซื้อมอเตอร์ไซค์ และสินเชื่อที่ไม่สามารถจำแนกประเภทได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนดังกล่าวสูงถึง 41.4% ในปี 2562 และเพิ่มเป็น 42.2% ในปี 2565

2.แม้ว่ายอดคงค้างหนี้ครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นทุกช่วงวัย แต่หลัง COVID-19 กลุ่มที่มีปัญหามากขึ้น คือกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี กลุ่ม 50-59 ปี และกลุ่มอายุ60 ปีขึ้นไป โดยทั้ง 3 กลุ่ม มีมูลค่า NPL ในปี 2565 สูงกว่าปี 2562 ทั้งที่ตั้งแต่ช่วง COVID-19 จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อชะลอการเกิดหนี้เสียอย่างต่อเนื่อง

อาทิ การพักหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ และการแปลงเป็นหนี้ระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ระหว่างปี 2563-2565 มี NPL ขยายตัวเฉลี่ย 10.2% ต่อปี รองลงมาเป็นอายุน้อยกว่า 30 ปี ที่ 4.1% และอายุ 50-59 ที่ 1.4%

สะท้อนถึงความเปราะบางของลูกหนี้บางกลุ่มซึ่งอาจเกิดจากรายได้ยังไม่ฟื้นตัวและส่งผลต่อความสามารถในการชำาระหนี้

3.คนวัยทำงานกู้เพื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี ที่ระหว่างปี 2563-2565 มีการกู้เพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8.2% ต่อปี ทำให้สัดส่วนหนี้ที่อยู่อาศัยของคนกลุ่มนี้สูงกว่าหนี้รถยนต์เป็นครั้งแรก

ขณะที่กลุ่มอายุ 30-39 ปี มียอดหนี้คงค้างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 5.8% และ 40-49 ปี เพิ่มขึ้น 6.6% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการออกมาตรการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  และการผ่อนคลายมาตรการการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Loan to Value Ratio: LTV) ของธปท. ที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย

นอกจากนี้หากพิจารณามูลค่าการกู้ซื้อที่อยู่อาศัย พบว่าในช่วง COVID-19 มีการกู้เงินซื้อที่อยู่อาศัยมูลค่าสูงมากขึ้นโดยการขยายตัวของหนี้ที่อยู่อาศัยในวงเงินมากกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งในช่วง COVID-19 ขยายตัวเฉลี่ยกว่า 11.5% ต่อปี และมีจำนวนบัญชีหนี้ที่อยู่อาศัยในวงเงินดังกล่าวขยายตัวเฉลี่ย 10.8% หรือกล่าวได้ว่ามีการซื้อที่อยู่อาศัยราคามากกว่า 10 ล้านบาทเพิ่มขึ้น ขณะที่มูลค่าหนี้ของกลุ่มวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท ขยายตัวเฉลี่ยเพียง 1.3% ต่อปี อีกทั้งยังเป็นกลุ่มเดียวที่จำนวนบัญชีหดตัวลงเฉลี่ย 2.1% ต่อปี สะท้อนผลกระทบจาก COVID-19 ต่อกลุ่มครัวเรือนรายได้สูงที่ไม่มากนัก

4.หนี้รถยนต์เป็นหนี้ที่ลูกหนี้มีพฤติกรรมการผิดนัดชำระหนี้มากที่สุดโดยเฉพาะกลุ่มอายุน้อยและผู้สูงอายุ หนี้รถยนต์เป็นหนี้ที่มีมูลค่ารวมเป็นอันดับสอง โดยในปี 2565 มีมูลค่ากว่า 2.6 ล้านล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อน 3.8% ครอบคลุมลูกหนี้เกือบ 6 ล้านคน ซึ่งกลุ่มอายุ 30-39 ปี เป็นกลุ่มที่มีการก่อหนี้รถยนต์มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ลูกหนี้สินเชื่อรถยนต์มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นหนี้เสียสูงที่สุด เนื่องจากมีสัดส่วน SML ต่อสินเชื่อรวมสูดสุดที่ 7.5% โดยกลุ่มอายุที่มีสัดส่วนดังกล่าวมากที่สุด คือ กลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี ที่มีจานวนรถเสี่ยงถูกยึดกว่า 9.5 หมื่นคัน ขณะที่กลุ่มที่มีหนี้เสียสูงที่สุด คือ กลุ่มผู้สูงอายุ โดยมีสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 8.6% ในปี 2565

5.ทุกช่วงวัยก่อหนี้เพื่อเสริมสภาพคล่องมากขึ้นในช่วง COVID-19 แต่กลุ่มอายุน้อยเป็นหนี้เสียสูงที่สุด โดยพฤติกรรมการก่อหนี้เพื่อเสริมสภาพคล่องสะท้อนจากการก่อหนี้ส่วนบุคคลและหนี้บัตรเครดิต ซึ่งเป็นหนี้ที่เข้าถึงได้ง่าย และมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่มาก มีระยะเวลาผ่อนช าระสั้น แต่มีดอกเบี้ยสูง ซึ่งในช่วง COVID-19 หนี้ดังกล่าวมีการขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกช่วงวัย

โดยลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคนในปี 2562 เป็น 14.4 ในปี 2563 และ 15.5 ล้านคนในปี 2565 ตามลาดับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาหนี้เสียจากสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมของหนี้ส่วนบุคคล และหนี้บัตรเครดิตในปี 2565 พบว่า หนี้ส่วนบุคคลในกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี NPL ต่อสินเชื่อรวมมีสัดส่วนสูงถึง 12.3% และ อายุ 30-39 ปี มีสัดส่วน 11.9% ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ขณะที่หนี้บัตรเครดิตในกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี มีสัดส่วนสูงเช่นกัน 10.7% ขณะที่กลุ่มอายุ 30-39 ปี มีสัดส่วน 11.3%

6.หนี้อื่น ๆ แม้จะไม่สามารถจำแนกประเภทได้อย่างชัดเจน แต่เป็นหนี้ที่เพิ่มขึ้นมากในช่วง COVID-19 โดยกลุ่มอายุ 50-59 ปี เป็นหนี้ประเภทนี้มากที่สุด แต่กลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี มีความสามารถในการชำระหนี้ต่ำที่สุด จากภาพรวมหนี้อื่น ๆ ในช่วง COVID-19 ขยายตัวกว่า 4 แสนล้านบาท หรือขยายตัวประมาณ 6% ต่อปี โดยอายุ 50-59 ปี มีการก่อหนี้สูงที่สุดที่ 7.8 แสนล้านบาทในปี 2565

ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่า ทุกกลุ่มอายุมีสัดส่วนสูงกว่า 10% โดยผู้มีอายุน้อยกว่า 30 ปีมีสัดส่วนสูงที่สุดถึง 20.8% ในปี 2565 รองลงมาเป็นอายุ 30-39 ปี ที่ 18.6% และอายุ 40-49 ปี ที่มีสัดส่วน 16%

อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกหนี้ที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ กลุ่มวัยแรงงานตอนต้น และกลุ่มผู้สูงอายุ โดยกลุ่มวัยแรงงานตอนต้น (อายุต่ำกว่า 30 ปี) ข้อมูลจาก NCB ชี้ว่ามีพฤติกรรมการก่อหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น

ซึ่งจากการศึกษาพฤติกรรมการเงินของศูนย์วิเคราะห์ทีเอ็มบี (2562) พบว่า คนเจนวาย (อายุระหว่าง 23-38 ปี) ส่วนใหญ่ใช้จ่ายไปกับทัศนคติว่า “ของมันต้องมี” ซึ่ง 50% ของคนเจนวายที่มีเงินไม่เพียงพอเลือกที่จะกู้ยืมจากธนาคารหรือใช้บัตรเครดิตในการจ่าย และ 70% มีการผ่อนชาระสินค้า/บริการแบบเสียดอกเบี้ย สะท้อนให้เห็นถึง

พฤติกรรมการก่อหนี้ที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะการผ่อนชำระสินค้าแบบเสียดอกเบี้ยในหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค ผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ทำให้มีแนวโน้มจะมีการะสมของหนี้สินมากขึ้น และติดกับดักหนี้ ขณะที่ กลุ่มผู้สูงอายุพบว่า การขยายตัวของหนี้เสียระหว่างปี 2563-2565 เพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มอื่น โดยเฉลี่ยที่ 10.2% ต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้เสียในสินเชื่อส่วนบุคคลและรถยนต์ โดยส่วนหนึ่งเกิดจากผู้สูงอายุมีทักษะทางการเงินต่ำ

นอกจากนี้ ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติยังพบว่า ในปี 2565 คนไทยมีทัศนคติทางการเงินที่ถูกต้องลดลงจากปี 2563 ซึ่งการที่ผู้สูงอายุมีหนี้เสียมากขึ้นโอกาสแก้หนี้ จะทำได้ยากกว่ากลุ่มอายุอื่น เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่หารายได้ได้ลดลง ทั้งนี้ ความแตกต่างของประเภทการเป็นหนี้และช่วงวัยที่เป็นหนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่แตกต่างกัน

สำหรับกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี อาจสามารถเน้นการปรับโครงสร้างหนี้ โดยการขยายระยะเวลาการผ่อนชำระออกไปได้ ขณะที่กลุ่มสูงอายุจำเป็นต้องใช้มาตรการอื่น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img