วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกHighlightเชื่อมั่นรัฐบาลใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นทุกรายการ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เชื่อมั่นรัฐบาลใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นทุกรายการ

“ผู้บริโภค” เชื่อมั่น “รัฐบาลใหม่” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฟื้นหนุนดัชนีฯทุกรายการปรับตัวขึ้น แต่วิตกค่าครองชีพพุ่งจากเศรษฐกิจโลกชะลอ-ค่าไฟฟ้า-ขึ้นดอกเบี้ย

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจสรุปผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน ส.ค.66 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอีกครั้ง หลังจากเดือนก.ค.ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่นในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ว่าจะจัดตั้งได้เร็วเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้น หลังจากที่มีการแต่งตั้งนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย และเห็นว่าการเมืองไทยจะมีเสถียรภาพมากขึ้นในอนาคตหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลสลายขั้วการเมืองต่างๆ ที่มีความเห็นแตกต่างกัน

รศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า ความขัดแย้งทางการเมืองน่าจะคลี่คลายลง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวดีขึ้นทุกรายการอย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่ยังทรงตัวสูง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ตลอดจนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่อาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลลบต่อการส่งออกของไทยทำให้การส่งออกในช่วงนี้หดตัวลง และมีผลกระทบในเชิงลบต่อกำลังซื้อของประชาชนในทุกภูมิภาค

รศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 51.6 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม 53.9 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่  65.2 ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ ซึ่งแสดงว่าผู้บริโภคเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยสามารถกลัยมาฟื้นตัวได้หลังมีการจัดตั้งรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต

ทั้งนี้เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ ราคาพลังงานและค่าครองชีพที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img