วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกHighlightกทม.เร่งจ่ายหนี้บีทีเอส 2.3 หมื่นล้านเม.ย.นี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กทม.เร่งจ่ายหนี้บีทีเอส 2.3 หมื่นล้านเม.ย.นี้

สภากทม.ไฟเขียวค่าจ้างติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงที่ 2 “บีทีเอส” คาดจ่ายก้อนแรก 2.3 หมื่นล้านบาท เม.ย.นี้

รายงานข่าวจากการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมา นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เสนอญัตติ ขอความเห็นชอบในโครงการการรับมอบงานทรัพย์สินระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 (แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบโครงการฯ ตามที่ผู้ว่าฯ กทม.เสนอ  หลังจากนั้นจะส่งให้ฝ่ายบริหารพิจารณาดำเนินการต่อไป

ขณะที่บางช่วงของการเสนอญัตติดังกล่าว มีการระบุถึงความจำเป็นเร่งด่วนของการจ่ายค่าจ้างติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงที่ 2 ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS เป็นคู่สัญญา โดยมีค่าจ้างงานอยู่กว่า 2 หมื่นล้านบาท

โดยกรุงเทพมหานครเห็นว่าทรัพย์สินงานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ถือว่ามีความสำคัญ หน่วยงานภาครัฐควรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าวถือเป็นหัวใจสำคัญ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อน และให้บริการเดินรถได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ขึ้นว่าเอกชนรายใดจะเป็นผู้ให้บริการเดินรถ และหากกรุงเทพมหานครได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้วจะทำให้เอกชนอ้างสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้ และปัจจุบันทรัพย์สินนั้นได้ติดตั้งแล้วเสร็จและครบกำหนดชำระแล้ว

นอกจากนี้ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ได้เจรจาต่อรองกับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด โดยกำหนดเงื่อนไขหากชำระภายในวันที่ 4 เม.ย.2567 จะมีกรอบวงเงินรวมจำนวน 23,488,692,165.65 บาท ประกอบกับแนวทางการร่วมลงทุนที่กรุงเทพมหานครดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2562 ลงวันที่ 11 เม.ย.2562 ยังไม่มีความชัดเจนและยังไม่ได้ข้อยุติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งอาจทำให้เกิดการฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้

รวมถึงคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สภากรุงเทพมหานคร ได้ศึกษาแล้วเห็นว่างานติดตั้งระบบการเดินรถ (E&M) เป็นทรัพย์สินที่สามารถแยกออกมาดำเนินการได้ ซึ่งปัจจุบันได้ถึงกำหนดชำระเงินแล้ว หากไม่มีการแก้ไขปัญหาในส่วนนี้จะเกิดภาระดอกเบี้ยและค่าปรับจำนวนมาก

อย่างไรก็ดี กระบวนการหลังจากสภา กทม.พิจารณาเห็นชอบในครั้งนี้ ต้องรอการปรับปรุงความคิดเห็นของสภาฯ ก่อนออกข้อบัญญัติเพื่อของบประมาณเพิ่มเติม ทั้งนี้แหล่งเงินที่ กทม.จะนำมาชำระค่าจ้างแก่เอกชนนั้น จะใช้เงินสะสมจ่ายขาดเพื่อโอนทรัพย์สินจ่ายค้าจ้างงานส่วนนี้ ซึ่งปัจจุบัน กทม.มีเงินสะสมจ่ายขาดปลอดภาระหนี้ประมาณ 51,200 ล้านบาท

สำหรับไทม์ไลน์ของการชำระค่าจ้าง E&M ตามที่สภา กทม.รับหลักการร่างข้อบัญญัติในวันที่ 17 ม.ค.2567 ประเมินว่าจะมีกระบวนการหลังจากนี้ ประกอบด้วย

17 มี.ค.2567

  • -ผู้ว่าเสนอให้สภา กทม.เห็นชอบรับหลักการร่างข้อบัญญัติ และแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญ

ภายใน 1 มี.ค.2567 สมัยประชุม 2/2567

  • -คณะกรรมการวิสามัญนำเสนอสภา กทม.เห็นชอบร่างข้อบัญญัติ

ภายใน 8 มี.ค.2567

  • -ประธานสภา กทม.ส่งร่างข้อบัญญัติไปยังผู้ว่าฯ กทม.

ภายใน 8 เม.ย.2567

  • – ผู้ว่าฯ ลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ภายใน 9 เม.ย.2567

  • -กทม.เบิกเงินชำระให้แก่ BTSC

    ปัจจุบันภาระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ BTSC ขณะนี้มีตัวเลขยอดหนี้รวมกว่า 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้งานติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ประมาณ 23,000 หมื่นล้านบาท และ หนี้ที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) จ้าง BTSC เดินรถ ประมาณ 30,000 ล้านบาท 
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img