วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกHighlightนายกฯตั้งเป้าหมายไทยเป็นศูนย์กลาง “การผลิตยานยนต์แห่งอนาคต”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

นายกฯตั้งเป้าหมายไทยเป็นศูนย์กลาง “การผลิตยานยนต์แห่งอนาคต”

นายกฯ กำหนดแผนดำเนินการตั้งเป้าหมายขับเคลื่อนไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต ส่งเสริมอุตสาหกรรมรถ EV ตลอดห่วงโซ่อุปทาน BOI รับลูกดึงดูดการลงทุนผลิตแบตเตอรี่ EV ในไทย

เมื่อวันที่ 24 ก.พ.67 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ตั้งใจยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility Hub) ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพ และความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานของไทยและแผนส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) แบบครบวงจรตลอดห่วงโซ่อุปทาน ที่ครอบคลุมตั้งแต่การค้นคว้าวิจัย การผลิตชิ้นส่วน ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ อะไหล่ การประกอบ การบำรุงรักษา ซึ่งจะทำให้เกิดการวางรากฐานให้ไทยมี EV ecosystem ที่สมบูรณ์ แข็งแกร่ง และยั่งยืน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจของประเทศ

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ครั้งที่1/2567 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) เพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุนในการผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ซึ่งเป็นส่วนต้นน้ำของอุตสาหกรรม EV ที่ใช้ที่เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต พร้อมทั้งได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนศึกษาถึงแนวทางการบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้วแบบครบวงจรเพื่อนำไปกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป

ซึ่งมาตรการส่งเสริมการลงทุนดังกล่าวจะสนับสนุนให้ผู้ลงทุนสามารถยื่นข้อเสนอโครงการลงทุนเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์และเงินสนับสนุนจากกองทุนเพิ่มขีดความสามาระในการแข่งขันของประเทศฯ ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยมีกำหนดเวลาในการยื่นข้อเสนอโครงการลงทุนภายในปี 2570 ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่ขอรับสิทธิประโยชน์และเงินสนับสนุนจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข 4 ข้อ ดังนี้

(1) ต้องเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำที่มีการใช้งานโดยผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

(2) ต้องมีแผนการผลิตเซลล์แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า โดยสามารถผลิตเซลล์แบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงานได้ 

(3) ต้องผลิตเซลล์แบตเตอรี่ที่มีค่าพลังงานจำเพาะ ไม่น้อยกว่า 150 Wh/Kg 

(4) ต้องมีจำนวนรอบการอัดประจุ (Life Cycle) ไม่น้อยกว่า 1,000 รอบ 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ลงทุนที่ยื่นข้อเสนอโครงการลงทุนจะครอบคลุม 4 ประเด็น ดังนี้ 

(1) เงินสนับสนุน 30-50 % ของมูลค่าการลงทุน 

(2) การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 15 ปี ซึ่งสูงกว่าสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนที่ยกเว้นได้ไม่เกิน 13 ปี

(3) การยกเว้นอากรเครื่องจักร

(4) การยกเว้นอากรวัตถุดิบ

“นายกรัฐมนตรี ผลักดันการลงทุนในไทยอย่างเข้มข้น โดยกำหนดการทำงานอย่างมียุทธศาสตร์ พร้อมสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรม EV แบบครบวงจร ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยวางยุทธศาสตร์ให้แบตเตอรี่ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักที่เปรียบเสมือนหัวใจของอุตสาหกรรม EV สามารถดึงดูดให้นักลงทุนมาลงทุนผลิตที่ไทยได้ และนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าไทยจะสามารถก้าวเป็นผู้นำโลกด้านการผลิตยานยนต์แห่งอนาคตแบบครบวงจรอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน” นายชัย กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img