วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกHighlightปี64'พลังงาน'ทุ่ม1.2แสนล้าน ลงทุนหลายโครงการกระตุ้นศก.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ปี64’พลังงาน’ทุ่ม1.2แสนล้าน ลงทุนหลายโครงการกระตุ้นศก.

“ก.พลังงาน” เดินหน้าขับเคลื่อนนโนบายลงทุนปี 64 มูลค่า 1.2 แสนล้าน หวังกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ ลุยเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า และขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก กระตุ้นยอดขาย บี10 กำหนดให้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี20 เป็นน้ำมันเบนซินหลัก

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องจากปี 2563 โดยในปี 2564 กระทรวงพลังงานได้กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนพลังงานไทยใน 3 ด้านหลักสำคัญ คือ 1.ด้านการสร้างพลังงานเข้มแข็ง จะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ “แผนพลังงานแห่งชาติ” เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาของภาครัฐและเป็นกรอบการลงทุนที่ชัดเจนของภาคเอกชน ผลักดันความชัดเจนเรื่องลดสำรองไฟฟ้า 2.เดินหน้าส่งเสริมแข่งขันเปิดเสรีกิจการก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า กำหนดเป้าหมายขับเคลื่อนอีวีเพื่อกระตุ้นการลงทุน รวมถึงเตรียมความพร้อมการเปิดประมูลสิทธิการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 23 การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา (OCA) และกำหนดการส่งเสริมการลงทุนปิโตรเลียมระยะที่ 4 ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)

3.ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก จะกระตุ้นยอดขาย บี10 กำหนดให้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี20 เป็นน้ำมันเบนซินหลัก โดยผลักดันให้โรงกลั่นผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐาน (จี-เบส) ได้ตามมาตรฐานภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 และร่วมขับเคลื่อนโครงการชุมชนทั่วประเทศร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และด้านการส่งเสริมการลงทุนพลังงานสะอาด โดยจะเร่งรัดการลงทุนโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่อง 150 เมกะวัตต์ ส่งเสริมกระตุ้นการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะ ส่งเสริมการใช้โซลาร์รูฟท็อปให้เติบโต 100 เมกะวัตต์ และเริ่มเอสโค (ESCO) ภาครัฐเพื่อลดใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนผ่านกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้เกิดการลงทุน ทั้งนี้ คาดว่าในภาพรวมของการขับเคลื่อนนโยบายในปี 2564 ดังกล่าว จะสามารถสร้างเม็ดเงินลงทุนให้เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของประเทศประมาณ 127,932 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในปี 2563 กระทรวงได้ดำเนินงานหลัก ๆ ในมุ่งเน้นการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ โดยมาตรการลดรายจ่ายประชาชนในช่วงโควิด เช่น การลดค่าไฟฟ้า แอลพีจี เอ็นจีวี ฯลฯ รวมมูลค่า 49,836 ล้านบาท ส่วนการสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับประเทศ ซึ่งสามารถจัดเก็บรายได้จากการประกอบกิจการปิโตรเลียมเข้าภาครัฐ 129,932 ล้านบาท เกิดการจ้างแรงงานท้องถิ่น ทั้งยังกำหนดให้ บี10 เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐานครั้งแรกของประเทศช่วยยกระดับชีวิตเกษตรกรชาวสวนปาล์ม ขับเคลื่อนพลังงานชุมชน สร้างชุมชนต้นแบบลดใช้พลังงาน ซึ่งทั้งมาตรการช่วยเหลือและสร้างรายได้ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1.79 แสนล้านบาท

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img