วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlight“มท.”เตรียมออกก.ม.นิรโทษปืนเถื่อน “ใครเอามาคืน-ไม่เอาผิดทางอาญา”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“มท.”เตรียมออกก.ม.นิรโทษปืนเถื่อน “ใครเอามาคืน-ไม่เอาผิดทางอาญา”

“รมว.มหาดไทย” เตรียมออกก.ม.นิรโทษปืนเถื่อน ใครเอามาคืนไม่เอาผิดอาญา เร่งบำบัดยาเสพติด วอนสังคมต้องร่วมมือกัน

เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 65 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการเร่งด่วน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอาวุธปืน เกี่ยวกับกรณีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาตรการณ์ควบอาวุธปืน ว่า เรื่องอาวุธปืนต้องแบ่งออกเป็นสองส่วนคือปืนที่มีใบอนุญาตและปืนเถื่อน ในส่วนของอาวุธปืนที่มีการขอใบอนุญาตใหม่ จะมีมาตรการในการตรวจสอบทั้งในเรื่องพื้นฐานว่ามีคุณสมบัติเพียงพอหรือไม่ และมีการเพิ่มเรื่องสุขภาพจิตเข้ามาด้วย แต่ในกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้(เหตุกราดยิงศูนย์เด็กเล็ก จ.หนวงบัวลำพู) ต้องดูเรื่องความประพฤติของแต่ละบุคคล ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่  หลังจากการหารือ ได้ข้อยุติว่า ต้องมีผู้รับรอง เช่น กรณีที่เป็นข้าราชการจะต้องมีผู้บังคับบัญชารับรองว่า ไม่เป็นบุคคลที่มีความประพฤติที่เป็นภัย อาทิ การดื่มสุราที่ส่งผลทำให้ขาดสติ หรือเป็นบุคคลที่มีความประพฤติรุนแรง หรือมีอารมณ์รุนแรง 
 
พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า ส่วนบุคคลที่มีใบอนุญาตครอบครองอาวุธปืนอยู่ก่อนแล้วนั้น จะต้องมีการทบทวน การมีและใช้อาวุธปืน มีใบป.4 แต่จะให้ทบทวนทุกระยะกี่ปีนั้นยังไม่ได้ระบุ การทบทวนจะต้องทบทวนทั้งเรื่องของความประพฤติ และความจำเป็นต้องใช้อาวุธ ว่ายังจำเป็นต้องใช้อยู่หรือไม่ รวมทั้งผู้ที่พ้นหน้าที่ไปแล้ว หากไม่มีความจำเป็นก็เพิกถอนใบอนุญาตได้ และหากบุคคลนั้นกระทำความผิดจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตในทันที ยกตัวอย่าง การอนุญาตให้มีการใช้อาวุธปืนได้แต่ไม่ได้อนุญาตให้พกพา สื่อต้องสร้างความเข้าใจกับสังคมใหม่ ว่าการมีให้ใช้ คือให้เอาไว้ที่บ้านป้องกันทรัพย์สิน ไม่ได้ให้พกพานำไปไหน หากนำไปพกพาก็อาจจะโดนเพิกถอนใบอนุญาตได้ หากพกพาอาวุธปืนและไปเมาสุราก็อาจจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตเช่นกัน ส่วนของอาวุธเถื่อนทั้งหมด ได้ข้อยุติว่า จะต้องออกกฏหมายให้นำมาคืน เราเคยทำอย่างนี้มาแล้ว แต่คราวนี้จะให้นำมาคืนโดยที่ไม่มีความผิดทางอาญา และไม่ให้ขึ้นทะเบียน หากใครยังครอบครองต่อ ทางตำรวจจะเข้มงวดในการดำเนินการตามกฏหมาย ถ้ารับรู้และตรวจเจอ
 
พล.อ.อนุพงษ์กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องของยาเสพติด เน้นไปที่เรื่องของซัพพลาย ไม่ว่าจะเป็นแหล่งผลิตหรือกระบวนการการผลิตทั้งหมด ทุกฝ่ายจะต้องเข้มงวดในการปฏิบัติ หากในพื้นที่มีและเจ้าหน้าที่ได้พิสูจน์แล้ว แต่ปล่อยปละละเลย จะมีผลในทางกฏหมาย ยกตัวอยาง หากคนทั้งหมู่บ้านรู้กันหมดว่ามี แต่ในทางการปกครองไม่รู้ สิ่งนี้จะต้องประเมิน หากกฏหมายสามารถทำให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ได้ก็จะทำ เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจทำงาน ส่วนเรื่องของดีมานด์ เป็นการป้องกันไม่ให้คนใหม่เพิ่มเข้ามาในระบบเป็นหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) และในส่วนของคนที่เคยเสพ คนใช้ คนติด จะต้องแยกแยะบุคคลเหล่านี้ให้ได้ ทางมหาดไทยจะรับหน้าที่โดยใช้กลไกร่วมกับฝ่ายตำรวจ ฝ่ายสาธารณะสุขและฝ่ายปกครอง ต้องรู้ว่าคนพวกนี้อยู่ที่ไหนบ้าง และนำเข้าสู่ระบบเพื่อรับการบำบัด รมต.ยุติธรรมกล่าวไว้ว่าการบำบัดรักษา ของผู้ป่วยและผู้เสพ จะต้องบำบัดกันคนละแบบ แต่ผู้ที่ติดแล้วและไม่สามารถรักษาหรือจำเป็นจะต้องรับการรักษาในระยะยาว ก็จำเป็นต้องมีมาตรการณ์อีกแบบเช่นกัน

 
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่สังคมมีความกังวลเกี่ยวกับข้าราชการที่มีการครอบครองอาวุธปืน พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า สังคมไม่ต้องกังวล สถิติรับรองได้ว่ากรณีความรุนแรงเกี่ยวกับปืนส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเจ้าหน้าที่ แต่เกิดจากอาวุธเถื่อนมากที่สุด ต้องไปแก้ที่ตรงนั้น อย่าไปสร้างกระแสที่มันผิด เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจที่ขึ้นทะเบียนใหม่จะต้องมีผู้บังคับบัญชารับรอง อย่างไรก็ตาม คนที่มีใบอนุญาตอยู่ก่อนแล้วก็จะต้องมีการทบทวน เมื่ออายุนึงก็มีความคิดแบบนึง ต่อไปสภาพแวดล้อมอาจจะทำให้ติดสุรา อาจจะไปทำธุรกิจแล้วผิดหวังทางครอบครัว อารมณ์ฉุนเฉียว ก็ต้องประเมิน และเพิกถอนใบอนุญาต ไม่ต้องกังวลจะให้ความเข้มงวดกับกลุ่มนี้ด้วย อย่าไปสร้างกระแสว่าคนที่มีอาวุธคือเจ้าหน้าที่รัฐทั้งหมด มันไม่ใช่
 
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะเริ่มให้มีการคืนปืนโดยไม่ได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า จะต้องออกกฏหมาย เป็น พ.ร.บ. เพื่อดำเนินการ เนื่องจากทุกคนคิดว่าอาวุธเถื่อนที่มีจำนวนมากแต่ไม่ดำเนินการ กลับไปเข้มงวดกับผู้ที่มีใบอนุญาตถูกต้อง จะทำให้พลาดเป้า 
 
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นการออกกฏหมายในลักษณะนิรโทษกรรมหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า อย่าใช้คำว่านิรโทษกรรม ออกเป็นพ.ร.บ. นำอาวุธมาคืนโดยไม่มีโทษทางอาญา ใครยังครอบครองไว้ต่อไปจะมีโทษหนัก ส่วนการเพิกถอนใบอนุญาตต้องมีขั้นตอน หากมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ แม้ว่าเคยจะได้รับใบอนุญาตแล้ว ก็จะถูกยึดคืน และจะถูกส่งต่อให้ทายาทที่มีคุณสมบัติเพียงพอ แต่หากไม่มีคุณสมบัติเพียงพอจะทำการขายทอดตลาดโดยใช้คำสั่งศาล ทำตามมาตรการ
 
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงมาตรการการตรวจหายาเสพติดในท้องที่ พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า ในส่วนของซัพพลายคนที่มีอำนาจในพื้นที่ทั้งตำรวจและฝ่ายปกครองหรือใครก็แล้วแต่ ถ้าในพื้นที่มีและรู้กัน จะพิจารณาการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่เท่าที่กฏหมายจะทำได้ เขาต้องรู้ เมื่อรู้แล้วต้องช่วยกันปราบปรามไม่ให้มี เมื่อไม่มีซัพพลาย โอกาสที่คนจะไปเสพหรือคนใหม่ๆที่จะเข้ามาก็อาจจะน้อยลง ส่วนคนเก่าจะสามารถนำไปบำบัดได้ง่ายขึ้น เมื่อกลับคนสู่สังคมก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวอีก ส่วนคนเสพก็จะแยกการบำบัดตามที่กล่าวไป ส่วนมาตรการบำบัดเมื่อดำเนินการแล้วจะค่อยๆปรับปรุง 
 
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ถือว่าผู้เสพเป็นผู้ป่วย จะมีการพิจารณาถึงช่องว่างทางกฏหมายใหม่หรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า ทางตำรวจเสนอว่าจะปรับลดลงจากเดิมเหลือ 5 เม็ด และกำลังพิจารณากันในทางกฏหมาย 
 
“ถ้าทุกคนรู้ตัวว่ายาเสพติด เป็นภัยกับประเทศชาติเราในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าศักยภาพหรือความสามารถของคน ที่จะต้องแข่งขันทางเศรษฐกิจ เรามีปัญหาเรื่องนี้ ถามว่าใครต้องทำ ถ้ายังไม่ตระหนักกัน ไม่ว่าประชาชนทุกคนหรือสื่อ จะต้องชี้หาคนผิด ทุกคนต้องร่วมมือกันทำ ถ้ามาตรการมันไม่ดีอย่างไรก็มาติติงมาตรการได้ แต่หากวิพากษ์และสร้างกระแสในทางที่ผิดมันจะไม่ช่วยเลย ยาเสพติดเป็นความรับผิดชอบของสังคมโดนรวม ถ้าเจ้าหน้าที่รู้ เจ้าหน้าที่จับแน่นอน แต่จับแล้วจบไหม ก็ดำเนินคดีแน่นอน ส่งไปบำบัดก็ส่ง แต่เดี๋ยวก็จับคนเดิมได้อีก วนอยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้นทุกภาคส่วนต้องช่วยกันอย่างจริงจัง ชุมชน สังคมก็ต้องช่วยกัน สื่อด้วย ต้องสร้างให้คนเข้าใจ ไม่ใช่ชี้ทาง มันไม่ได้ ต้องพูดว่าโครงสร้างที่มีเขาจะทำ เขาจะแก้อย่างนี้ หากเกิดเรื่องขึ้นมาก็ชี้เบาะแส ไม่ใช่พูดว่าเขาก็มีตรงนั้นตรงนี้ ถ้าบอกที่มา เราไปเจอเราก็จะเอาผิดเจ้าหน้าที่ได้ว่าทำไมถึงเกิดขึ้น” พล.อ.อนุพงษ์กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img