วันพุธ, พฤษภาคม 1, 2024
หน้าแรกHighlightพระราชทาน'รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ' ค้นหาเชิงรุกรู้ผลโควิดใน3ชม.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

พระราชทาน’รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ’ ค้นหาเชิงรุกรู้ผลโควิดใน3ชม.

“ในหลวง ร.10” พระราชทาน “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เคลื่อนที่ต้นแบบ เพื่อใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย ค้นหาเชิงรุกเบ็ดเสร็จรู้ผลใน3 ชม. ไม่ต้องเสียเวลานำตัวอย่างเชื้อกลับมายังห้องปฏิบัติการ “หมอหนู” ชี้เป็นพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาที่สุดมิได้ เตรียมนำร่องใช้ตรวจพนักงาน NBT

เมื่อวันที่ 24 ม.ค.64 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข แสดงความเห็นว่า “พระมหากรุณาธิคุณ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” ต้นแบบ ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ ใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยฯ ค้นหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ ทราบผลภายใน 3 ชั่วโมง ไม่ต้องเสียเวลาขนส่งตัวอย่างเชื้อที่เก็บจากผู้รับการตรวจมายังห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะช่วยให้ทราบผลได้เร็ว และสร้างประสิทธิภาพการควบคุมโรค ได้ผลดีขึ้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่กระทรวงสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์ ทุกคน อย่างหาที่สุดมิได้ ทรงพระเจริญ

ด้านนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ทรงติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างใกล้ชิด ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก และทรงคำนึงถึงความยากลำบากของราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารและในพื้นที่แออัดให้สามารถเข้ารับการบริการตรวจหาโควิดโควิด19 ได้รวดเร็ว ซึ่งกลับมาแพร่ระบาดรอบใหม่อีกครั้ง จึงทรงมีพระราชดำริให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมผู้เชี่ยวชาญ สร้างและได้พระราชทาน “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เคลื่อนที่ต้นแบบ ซึ่งไดรับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์แล้ว โดยจะใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยฯ ค้นหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ ทราบผลที่รวดเร็ว ซึ่งได้นำมาใช้ครั้งแรกในการค้นหาเชิงรุก กรณีพบผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 (NBT) ติดเชื้อโควิด 19 ในวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา ตรวจจำนวน 222 ตัวอย่าง ได้ผลที่รวดเร็วตามที่คาดหมาย

นพ.โอภาส กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของรถพระราชทานนี้ เพื่อเสริมการปฏิบัติงานของบุคลการด้านสาธารณสุข สามารถเก็บตัวอย่าง และวิเคราะห์ผลการตรวจในพื้นที่ที่รวดเร็ว แม่นยำ และมีความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์สูงสุด อันเป็นการลดปัญหาความล่าช้าในการขนส่งสิ่งส่งตรวจกลับมาตรวจที่หน่วยงาน ที่โดดเด่นคือสามารถนำไปใช้วิเคราะห์เชื้ออื่นๆ ที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (Real Time Polymerase Chain Reaction (PCR)) โดยใช้เวลาวิเคราะห์เพียง 3 ชั่วโมง และวิเคราะห์ได้ 70 ตัวอย่างต่อ 1 รอบต่อเครื่อง

รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ เป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอย 16.8 ตารางเมตร ภายในมี 3 ห้องหลัก ได้แก่ ห้องสกัดสารพันธุกรรม ห้องเตรียมน้ำยาวิเคราะห์ และห้องวิเคราะห์ผลด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วปฏิกิริยาโพลีเมอเรส ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ สะดวกและปลอดภัย มีห้องบัฟเฟอร์เพื่อควบคุมและป้องกันการรั่วไหลของเชื้อโรค พร้อมเครื่องมือที่ติดตั้งภายในรถ ได้แก่ ตู้ปลอดเชื้อ, ตู้ปฏิบัติงานพีซีอาร์ (PCR cabinet), เครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติ เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (real-time PCR), ตู้แช่แข็ง -20องซาเซลเซียส, ตู้ทำความเย็น 4 องศาเซลเซียส, ช่องส่งตัวอย่าง,เครื่องเขย่าผสมสาร, เครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน, ไมโครปิเปต, ระบบยูวีฆ่าเชื้อ, ระบบสื่อสารสองทาง, ระบบกล้องวงจรปิด และเครื่องล้างมือแอลกอฮอล์อัตโนมัติ

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น หาที่สุดมิได้ โดยตั้งแต่ที่ได้พระราชทานรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย จนถึงปัจจุบัน รถพระราชทานเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้ขับเคลื่อนส่งต่อน้ำพระราชหฤทัยเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่คนไทยทั่วประเทศ ด้วยปฏิบัติการตรวจบุคคลทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงแบบเชิงรุก รวมกว่า 80,000 ราย เข้าถึงชุมชน ควบคุมการแพร่ระบาดได้รวดเร็ว อยู่ระหว่างจัดสร้างรถชีวนิรภัยเพิ่มอีก 7 คัน รวมเป็น 20 คัน เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขนำไปใช้ในระบบเฝ้าระวังและค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกทั่วประเทศ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img