วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกHighlight“โควิด”ไม่กระจอก-เสี่ยงภาวะเรื้อรัง “หมอธีระ” ย้ำฉีด“เข็มกระตุ้น”ให้ครบ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“โควิด”ไม่กระจอก-เสี่ยงภาวะเรื้อรัง “หมอธีระ” ย้ำฉีด“เข็มกระตุ้น”ให้ครบ

หมอธีระ” ยกอาการลองโควิดหลังติดเชื้อ ย้ำไม่กระจอก ไม่ใช่หวัดธรรมดา ไม่ใช่หวัดใหญ่ ชี้การติดเชื้อแต่ละครั้ง เสี่ยงต่อป่วยรุนแรง เสียชีวิต และเสี่ยงต่อภาวะผิดปกติเรื้อรัง ควรป้องกันตัว ไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด ไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบตามกำหนด

เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.”รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Thira Woratanarat” ระบุว่า 22 ธันวาคม 2565 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 441,609 คน ตายเพิ่ม 910 คน รวมแล้วติดไป 659,270,708 คน เสียชีวิตรวม 6,676,873 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และฮ่องกง

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.86 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 85.93

…อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังติดเชื้อโควิด-19

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาลักษณะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอื่น เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และกลุ่มที่ไม่ได้ติดเชื้อ

ศึกษาในผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 17,487 คนจาก 122 โรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา จนถึง 14 เมษายน 2565

สาระสำคัญคือ พบว่าการติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นจะเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติหลังจากติดเชื้อแตกต่างจากไวรัสทางเดินหายใจอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่

ใจสั่น (palpitation)
ผมร่วง (hair loss)
อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า (fatique)
เจ็บหน้าอก (chest pain)
หอบเหนื่อย (dyspnea)
และปวดข้อ (joint pain)

…ผลการศึกษานี้ ก็ดูจะสอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่เราเห็นในปัจจุบันทางคลินิก ที่มีผู้ป่วย Long COVID จำนวนมากที่มาพบแพทย์ด้วยอาการผิดปกติต่างๆ ดังกล่าว

และตอกย้ำว่า โควิด-19 นั้นไม่กระจอก ไม่ใช่หวัดธรรมดา ไม่ใช่หวัดใหญ่

การติดเชื้อแต่ละครั้ง เสี่ยงต่อป่วยรุนแรง เสียชีวิต และเสี่ยงต่อภาวะผิดปกติเรื้อรังอย่าง Long COVID ได้

ควรป้องกันตัว ไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด

ไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบตามกำหนด

ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี

ที่สำคัญมากคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

จำนวนเสียชีวิตส่วนเกินจากทุกสาเหตุ นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดมานั้น สะท้อนถึงสถานการณ์ของแต่ละประเทศได้อย่างดี

…………………..
อ้างอิง
Baskette W et al. COVID-Specific Long-Term Sequelae in Comparison to Common Viral Respiratory Infections: An Analysis of 17,487 Infected Adult Patients. Open Forum Infectious Diseases. 21 December 2022.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img