วันศุกร์, พฤษภาคม 10, 2024
หน้าแรกNEWSไทยยังไม่ห้ามนำเข้าอาหารทะเลญี่ปุ่น หลังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะปล่อยน้ำเสีย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ไทยยังไม่ห้ามนำเข้าอาหารทะเลญี่ปุ่น หลังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะปล่อยน้ำเสีย

อย.ถกกรมประมง-สำนักงานปรมาณู ไม่ห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นหลังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ปล่อยน้ำเสียผ่านการบำบัดแล้วลงทะเล แต่ปักหมุดเรดโซน เสมือนเหตุฉุกเฉินเก็บตัวอย่างเพิ่ม 2 ตรวจการปนเปื้อน พร้อมประสานกรมอนามัย ตรวจร้านอาหาร สร้างความมั่นใจผู้บริโภคในไทย คาดล็อตแรกหลังปล่อยน้ำ ถึงไทยกลางก.ย.นี้

เมื่อวันที่ 26 ส.ค.66 ภก.เลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงมาตรการเฝ้าระวังความผลอดภัยอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ภายหลังมีการปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่บำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิ ลงสู่ทะเลตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2566 โดยระบุว่าได้รับการรับรองจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอแล้วว่า อันที่จริงไม่ใช่ว่าเราจะมามีมาตรการป้องกันจากที่เพิ่งมีรายงานว่ามีการปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิ แต่ความจริงแล้ง นับตั้งแต่ที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ระเบิดหลังจากโดนสึนามีเมื่อหลายปีก่อน ทางอย.ก็ได้ร่วมกับกรมประมง ซึ่งดูแลเกี่ยวกับสัตว์น้ำ ได้เก็บตัวอย่างอาหารทะเลที่ถูกส่งมาจากพื้นที่นั้นต่อเนื่อง เพื่อส่งไปตรวจที่สำนักงานปรมาณู สำนักงานเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เพราะเราถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะอาหารทะเลที่ไม่ได้อยู่ในน้ำลึกมาก จากการตรวจสอบนับตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบันไม่พบว่ามีกัมตรังสีที่เกินจากที่กฎหมายกำหนดเลย นี่คือสิ่งที่เราทำมาอย่างต่อเนื่อง

ภก.เลิศชาย กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีล่าสุด ที่ญี่ปุ่นมีการปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะนั้น ทางไทยเองก็ทราบเรื่องมาก่อนแล้ว โดยมีหน่วยงานหน่วยงานภายใต้การกำกับขององค์การอนามัยโลก คือหน่วยงานกลางปรมาณูระหว่างประเทศ International Atomic Energy Agency หรือ IAEA ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่จะประเมินรังสี เห็นว่า น้ำที่ปล่อยออกมานั้นมีค่าต่ำมากๆ แทบไม่มีนัยยะสำคัญเลย แต่เข้าใจว่า เมื่อพูดถึงคำว่ากัมมันตรังสี หรือน้ำที่ปล่อยมาจากโรงงานนิวเคลียร์ก็จะมีความกังวลว่าจะมีอะไรเล็ดรอดออกมาหรือไม่

ดังนั้นในส่วนของไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง อย. และดร.ถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง ผู้แทนจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยมีการหารือกันในช่วงเย็นวันที่ 24 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งยืนยันว่า พร้อมที่จะรับตรวจสอบคุณภาพอาหารทะเลที่ส่งมาจากพื้นที่ดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาก็มีการดำเนินการอยู่แล้ว

“ที่มีรายงานว่าบางประเทศห้ามนำเข้านั้นก็อยู่ที่บริบทที่ไม่เหมือนกัน แต่เราบอกแล้วว่า หากเป็นสินค้าที่มาจากเรดโซนเราดักจับทุกกรณี โดยเก็บตัวอย่างตั้งแต่หน้าด่าน แล้วนำตัวอย่างส่งไปยังสำนักงานปรมาณูฯ ส่วนสินค้าที่เหลือก็จะถูกกักเอาไว้ ถ้าตรวจแล้วไม่มีอันตรายก็ปล่อยออกมา ถ้าเจออะไรที่เป็นอันตรายสินค้าเหล่านี้จะถูกทำลาย ดังนั้นไม่มีโอกาสที่จะรั่วไหลเข้ามาทำให้ประชาชนเป็นอันตรายได้ นี่คือสิ่งที่เราดำเนินการกันอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไปประกาศว่าห้ามนำเข้า” ภก.เลิศชาย กล่าว

รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนเราจะมีการเก็บตัวอย่างอาหารเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยคิดว่าให้เหมือนเป็นเหตุฉุกเฉินเลย ซึ่งทุกฝ่ายก็ยืนดีที่จะดำเนินการทั้งหมดอย่างเข้มข้น โดยคาดว่า สินค้าอาหารทะเลล็อตแรกจากญี่ปุ่นที่จะถูกส่งมายังประเทศไทยหลังจากมีการปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้าฯ นั้นพูดยาก แต่คาดว่าน่าจะราวๆ กลางเดือนก.ย.นี้ แต่บางส่วนที่มาเร็วทางเครื่องบิน ที่สนามบินสุวรรณภูมินั้น ก็จะมีด่านอาหารและยา ด่านประมงดักไว้อยู่แล้ว อาหารที่มาจากเรดโซนเราดักจับทุกกรณี และขอยืนยันว่า ถึงจะมีการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลใหม่ เปลี่ยนผ่านปีงบประมาณใหม่ แต่ไม่กระทบกับแผนการดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังอาหารนำเข้าของไทยแน่นอน

เมื่อถามว่า เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจยิ่งขึ้นนอกจากตรวจจับความเสี่ยงตั้งแต่ต้นทางที่มาถึงไทยแล้ว จะมีการออกตรวจกลางน้ำ หรือตรวจที่ร้านอาหารที่จำหน่ายอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น เพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ภก.เลิศชาย กล่าวว่า อันนี้จะเป็นอีกมาตรการหนึ่ง โดยต้องประสานการทำงานกับกรมอนามัย ซึ่งจะมีเรื่องสุขลักษณะ อาหารปลอดภัยต่างๆ แต่อย่างที่บอกว่า อาหารพวกนี้ไม่ได้เข้ามาส่งเดช แต่มีที่มาที่ไปหมด เราดักจับอยู่ เชื่อว่าไม่น่าจะมีขบวนการการเล็ดรอด และยังประสานกรมศุลกากร ซึ่งก็รับให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมากขึ้น.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img