วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกHighlightสธ.ย้ำสายพันธุ์อินเดียรุนแรงเท่าสายพันธุ์อังกฤษ ไม่ดื้อวัคซีน AZ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สธ.ย้ำสายพันธุ์อินเดียรุนแรงเท่าสายพันธุ์อังกฤษ ไม่ดื้อวัคซีน AZ

”นพ.โอภาส”เผยสธ.เร่งถอดรหัสพันธุ์กรรมสายพันธุ์อินเดีย หาต้นตอเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย เปิดรายงานมางวิชาการพบแพร่กระจายเร็ว-รุนแรงไม่ต่างสายพันธุ์อังกฤษ ไม่ดื้อวัคซีน

เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 64 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงถึงกรณีพบการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สายพันธุ์อินเดียในแคมป์คนงานหลักสี่ ว่า การระบาดของ covid 19 จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา จากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ขณะนี้มีการกลายพันธุ์ไปหลายสายพันธุ์ แต่ที่เราให้ความสนใจคือ 1.กลายพันธุ์แล้วมีการแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น 2 กลายพันธุ์และทำให้ความรุนแรงของโรคมากขึ้นเสียชีวิตมากขึ้น 3. กลายพันธุ์แล้วทำให้การใช้วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพไม่ดี


ล่าสุดได้ถอดรหัสพันธุ์กรรม 61 ตัวอย่างจากแคมป์คนงานหลัก 4 พบว่าเป็นสายพันธุ์อินเดีย 15 ราย เป็นเพศชาย 7 ราย หญิง 8 ราย อายุเฉลี่ย 46 ปี แบ่งเป็นคนงานในแคมป์ 12 ราย คนในครอบครัวคนงานอีก 3 ราย ทั้ง 15 ราย ส่วนใหญ่อาการน้อยและรักษาอยู่ในโรงพยาบาล ยังปกติดี ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหลายหน่วยงานโดยเฉพาะกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการควบคุมโรคในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างใกล้ชิดโดยร่วมกันในการควบคุมโรคติดตามผู้สัมผัสค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกรวมถึงสนับสนุนการรักษาพยาบาลในจุดต่างๆ

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า จากรายงานของประเทศอังกฤษซึ่งมีการระบาดของสายพันธุ์อังกฤษ และสายพันธุ์อินเดียจำนวนมาก พบว่าสายพันธุ์อินเดียและสายพันธุ์อังกฤษมีความสามารถในการแพร่กระจายโรคไม่ได้ต่างกัน ส่วนข้อมูลความรุนแรง จากข้อมูลขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าสายพันธุ์อินเดียจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์อังอังกฤษ แต่ทั้งนี้ยังไม่ดื้อต่อวัคซีน


โดยเฉพาะวัคซีนหลักที่ไทยกำลังจะใช้อยู่คือแอสตร้าเซนเนก้า ยังสามารถป้องกันสายพันธุ์อินเดียรวมถึงสายพันธุ์อังกฤษได้ ตัวอย่างที่เห็นอย่างดีคือ อังกฤษใช้แอสตร้าฯ เป็นหลักก็พบว่าการระบาดลดน้อยลง

ผู้สื่อข่าวถามว่าสามารถหาต้นตอได้หรือไม่ว่าสายพันธุ์อินเดียเข้ามาประเทศไทยได้ทางช่องไหน นพ.โอภาส กล่าวว่า เราพบเชื้อสายพันธุ์อินเดีย ครั้งแรกเมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อน กรณีที่ผู้เดินทางมาจากปากีสถาน นอกจากนี้ ยังมีรายงานพบว่ามีการระบาดของสายพันธุ์อินเดียในประเทศมาเลเซีย

ส่วนเมียนมา และกัมพูชาไม่ได้มีการถอดรหัสพันธุ์กรรมมากนัก แต่เชื่อว่าน่าจะมีสายพันธุ์อินเดียอยู่ ก็มีโอกาสหลุดมาได้ทุกช่องทาง ดังนั้นเราต้องมาถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งตัว แล้วนำไปเทียบเคียงกับรหัสพันธุ์กรรมของเชื้อที่พบในประเทศอื่นๆ จึงจะรู้ว่าเชื้อหลุดรอดเข้ามาได้อย่างไร แต่จากการสอบสวนโรคเบื้องต้นทั้ง 15 ราย ไม่ได้เป็นแรงงานผิดกฎหมาย อยู่ในประเทศไทยมาสักระยะหนึ่งแล้ว


นพ.โอภาส ยังย้ำด้วยว่า ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์อะไร การป้องกันตัวเองยังคงเหมือนเดิมคือ การสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ยังคงเป็นมาตรการที่สำคัญ ส่วนยารักษาโรคยังเป็นไปตามแนวทางเดิม คือการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ แต่มีแนวทางในการให้ยาเร็วขึ้นในกลุ่มเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img