วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกHighlight‘’ซูเปอร์โพล’’เผยวิกฤตโควิด 19 ทำคนไทยเครียดเรื่องการเงิน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘’ซูเปอร์โพล’’เผยวิกฤตโควิด 19 ทำคนไทยเครียดเรื่องการเงิน

‘’ซูเปอร์โพล’’ชี้วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบเรื่องการเงินมากที่สุดและพร้อมเรียนรู้เปลี่ยนแปลงคือเก็บออมเงินให้มากกว่าเดิม ใช้เงินไม่ประมาทและประหยัดค่าใช้จ่าย

เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.64 นายวศิน วัฒนวรกิจกุล นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เพื่อรับทราบถึงความคิดเห็นของประชาชนเรื่องการเงินในภาวะวิกฤต และนำข้อมูลไปใช้ในการสนับสนุนการกำหนดแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของการวางแผนการเงินส่วนบุคคล

ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนเห็นคุณค่าของคำปรึกษาจากนักวางแผนการเงิน CFP ที่มีความเป็นมืออาชีพที่จะช่วยแนะนำเรื่องการวางแผนการเงินส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม การสำรวจครั้งนี้มีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,205 ตัวอย่าง โดยเป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา

พบว่าในช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด 19 พบว่าร้อยละ 30.9 และร้อยละ 6.5 ระบุว่ามีความมั่นคงทางการเงินในระดับมาก และมากที่สุดตามลำดับ ซึ่งมีถึงร้อยละ 60 ที่ระบุว่านับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด 19 จนถึงปัจจุบัน ได้รับผลกระทบทางการเงินในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีเพียงประมาณร้อยละ 14.9 และร้อยละ 2.5 เท่านั้น ที่เชื่อว่าหลังวิกฤตโควิด 19 ฐานะการเงินจะกลับมามั่นคงในระดับที่มาก และมากที่สุดตามลำดับ

เมื่อถามถึงปัจจุบันหรือในอดีต ความเครียดเรื่องการเงินเกิดจากสาเหตุใด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.5 ระบุ สาเหตุเกิดจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รองลงมาร้อยละ 45.8 ระบุ สาเหตุเกิดจากค่าเช่า/ผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ

ที่น่าพิจารณา คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.8 ระบุ ความเครียดเรื่องการเงินส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต รองลงมาหรือร้อยละ 24.2 ระบุ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ในขณะที่ร้อยละ 22.9 ระบุ ไม่มีปัญหาที่เกิดจากความเครียดเรื่องการเงิน

และในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 66.8 ระบุ มีรายได้ ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่ง 1 ใน 3 ของประชาชนหรือร้อยละ 26.9 ระบุ นำเงินเก็บมาใช้ รองลงมาร้อยละ 24.1 ระบุนำสิ่งของไปจำนำ หรือจำนอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความสนใจเรื่องการวางแผนการเงิน พบว่า ร้อยละ 40.4 ระบุ สนใจมากถึงมากที่สุด สัดส่วนรองลงมา คือเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 38.4 ระบุว่า มีความสนใจเรื่องการวางแผนการเงินปานกลาง และเมื่อถามถึงพฤติกรรมเกี่ยวกับเรื่องการเงินที่ต้องการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงหากสามารถย้อนเวลากลับไปได้ ซึ่งอาจนำมาสู่กระบวนการการเรียนรู้ และปรับตัวเพื่อรองรับกับปัญหา หรือความไม่แน่นอนทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นซ้ำในอนาคต พบว่าพฤติกรรมที่ต้องการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงมากที่สุด 3 ลำดับแรกคือ “เก็บออมเงินให้มากกว่าเดิม” “ใช้เงินไม่ประมาท/วางแผนการเงินให้รอบคอบ” และ “ประหยัดค่าใช้จ่าย”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img