วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกHighlightโพลชี้คนไทยมี‘ความเครียดสะสมมาก’ แนะกระทรวงเกี่ยวข้องรีบแก้ไขปัญหา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

โพลชี้คนไทยมี‘ความเครียดสะสมมาก’ แนะกระทรวงเกี่ยวข้องรีบแก้ไขปัญหา

“ซูเปอร์โพล” ชี้คนไทยมีความเครียดสะสมมากขึ้น จากผลกระทบของโรคระบาด ตามติดด้วยปัญหาปากท้อง-ปัญหายาเสพติด-แก๊งคอลเซ็นเตอร์คุกคาม เผยต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระทรวงที่เกี่ยวข้องต้องรีบแก้ปัญหา

จากวิกฤตโควิดและวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกและส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมของประชาชนคนไทย ตลอดระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ความเครียดสะสมและความสุขที่คาดหวัง” กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพ กระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,105 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-23 ม.ค.65 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.5 เห็นด้วยกับรัฐบาลจัดโครงการคนละครึ่งเฟส 4 กลับมาช่วยลดภาระประชาชน

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.3 ต้องการให้รัฐบาล ใส่ใจจริงจัง ลดความเครียด ความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชนมากยิ่งขึ้น, ร้อยละ 89.8 ต้องการให้รัฐบาลมีมาตรการลดความเครียดสะสมในกลุ่มเด็กนักเรียน นักศึกษา เพราะหยุดเรียนอยู่แต่ที่บ้าน ไม่ได้พบปะกลุ่มเพื่อนในวัยเดียวกัน เป็นต้น, ร้อยละ 89.3 ต้องการให้รัฐบาลมีมาตรการใหม่ๆ ขับเคลื่อนสังคม กระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่กับการสันทนาการเพิ่มความสุขของประชาชน เช่น กีฬา ดนตรี การแข่งขันเทคโนโลยี ศิลป วัฒนธรรม เป็นต้น, ร้อยละ 87.3 ต้องการให้หน่วยงานของกระทรวงต่างๆ เช่น สาธารณสุข พัฒนาสังคมฯ วัฒนธรรม การท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น ออกมาตรการกระตุ้นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน เพื่อช่วยลดความเครียดของประชาชน เช่น กรมสุขภาพจิตเปิดศูนย์ให้คำปรึกษา ลานดนตรี กีฬา การแข่งขันเทคโนโลยี หุ่นยนต์ เป็นต้น, ร้อยละ 87.2 ต้องการให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ และขับเคลื่อนสังคมไปพร้อมๆ กัน ลดความเครียดของประชาชน, ร้อยละ 80.7 ระบุวิกฤตของประเทศต่างๆ เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

นอกจากนี้ เมื่อถามถึง ต้นตอซ้ำเติมปัญหาความเครียด เดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.0 ระบุ ปัญหายาเสพติด, ร้อยละ 88.3 ระบุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน, ร้อยละ 86.9 ระบุ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และร้อยละ 86.2 ระบุ ปัญหาหลอกลวง การคุกคามประชาชนในโลกไซเบอร์ ตามลำดับ

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลนี้ชี้ให้เห็นว่า สังคมมีความเครียดสะสมมากขึ้นจากผลกระทบของโรคระบาดและมาตรการควบคุมโรค ที่ตามมาด้วยปัญหาเศรษฐกิจปากท้องและค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมทั้งภัยลูกโซ่ทางสังคมจากปัญหายาเสพติด อาชญากรรม แก๊งคอลเซ็นเตอร์และการคุกคามความปลอดภัยของประชาชนในโลกไซเบอร์ ที่มีมากขึ้นซ้ำเติมวิกฤตของประชาชนในเวลานี้

“ประชาชนต้องการให้รัฐบาล มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและขับเคลื่อนกิจกรรมสันทนาการทางสังคมไปพร้อมๆ กัน เพื่อลดความเครียดและความเดือดร้อนของประชาชนให้ครอบคลุมมิติต่างๆ มากขึ้น จากการสำรวจครั้งนี้พบว่า รัฐบาลและกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญเข้าไปตอบสนองปัจจัยที่เป็นปัญหาความเครียดของสังคมที่มีสะสมมาอย่างต่อเนื่อง” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า ปัจจัยผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรค ประชาชนมีความคาดหวังให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต ลงส ารวจและให้ข้อมูลแนะน าด้านปัญหาสุขภาพจิตและการลดความเครียดอย่างกว้างขวางขึ้น ขณะที่ต ารวจและหน่วยงานความมั่นคง ลงดูปัญหายาเสพติด อาชญกรรม การหลอกลวงคุกคามความปลอดภัยในโลกไซเบอร์มากขึ้น

“ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนต่างๆและรัฐบาลโดยทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแก้ปัญหาการกินดีอยู่ดีของประชาชนในภาวะผลกระทบจากปัญหาโรคระบาดและข้อจำกัดต่างๆ มีความจำเป็นต้องร่วมกันเปิดรูระบายปัญหาความเครียดสะสมทางสังคมในมิติต่างๆ ในลักษณะเปิดพื้นที่สันทนาการ และขับเคลื่อนจัดกิจกรรมด้านสุขภาวะทางสังคม ในลักษณะมีส่วนร่วมไปพร้อมๆ กัน เพื่อลดปัญหาความเครียดสะสม ทั้งเป็นรายบุคคล ครอบครัว องค์กรและสังคมให้มากขึ้น โดยเฉพาะกับ เด็กและเยาวชน ซึ่งอยู่ในวัยเปิดโลกเรียนรู้กิจกรรมทางกายและความคิด ควรเร่งกลับเข้าสู่ระบบการเรียนปกติ และสนับสนุนให้มีพื้นที่หรือเวทีในกิจกรรมสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น ลานดนตรี กีฬา ศิลปวัฒนธรรม การแข่งขันเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เป็นต้น” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img