วันพุธ, พฤษภาคม 1, 2024
หน้าแรกHighlightพบ 4 รายในไทยแนวโน้มเป็น“โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA 2.2”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

พบ 4 รายในไทยแนวโน้มเป็น“โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA 2.2”

กรมวิทย์ฯ เผยพบ 4 ราย ในไทยมีโอกาสเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA 2.2 ระบุปมพบป่วยมาก เสียชีวิตมากในนฮ่องกง ยังไม่ชัดเจนเป็นผลจาก BA 2.2 จีเสด ยังไม่กำหนดชื่อเรียกสายพันธุ์

เมื่อวันที่ 14 มี.ค.65 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงการติดตามสายพันธุ์ของเชื้อโควิด – 19 ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ที่มีการระบาดมาอย่างต่อเนื่อง โดยสัปดาห์ล่าสุดมีการตรวจไปกว่า 2,000 ราย พบว่า 99.7% เป็นสายพันธุ์โอมิครอน ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์สายพันธุ์ย่อย พบว่ามีทั้งสายพันธุ์ BA.1 BA.2 และ BA.3 โดยพบสายพันธุ์ย่อย BA .2 เพิ่มมากขึ้นประมาณ 67.6% พบทุกเขตสุขภาพในอัตราเกินครึ่ง ยกเว้นเขตฯ 1 และ 11 ที่สัดส่วนยังไม่เกินครึ่ง

ส่วนกรณีที่มีการพบสายพันธุ์ BA2.2 ที่ฮ่องกง ที่มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่กว่า 2.5 แสนราย เสียชีวิตกว่า 1,900 ราย ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่าเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้แพร่ระบาดเร็วขึ้น และก่ออาการรุนแรงเร็วขึ้นหรือไม่นั้น ถือว่ายังสรุปไม่ได้ เนื่องจากจนถึงขณะนี้ข้อมูลที่ทั่วโลกส่งเข้าไปยัง GSIAD นั้นยังไม่ได้มีการกำหนดเป็นชื่อสายพันธุ์ BA.2.2 แต่อย่างใด และไม่ได้ถูกจัดเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล แต่อยู่ในชั้นของการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ

ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลา 2- 3 วันจึงจะทราบรายละเอียดว่าจะกำหนดชื่อเป็นสายพันธุ์ BA 2.2 หรือไม่ รวมถึงองค์การอนามัยโลกยังไม่ได้ประเมินว่าเป็นสายพันธุ์น่ากังวลเช่นกัน อย่างไรก็ตามกรณีที่มีการติดเชื้อจำนวนมากที่ฮ่องกงนั้น ก็ยังไม่สามารถบอกได้วาเป็นเพราะสายพันธุ์ย่อย BA 2.2 หรือไม่อย่างไร แต่ปกติการเสียชีวิตวันนี้เป็นผลมาจากการติดเชื้ออย่างน้อย 7 วันมาแล้ว หรือติดเชื้อมานานกว่านั้น อีกทั้งยังขึ้นอยู่ระกับระบบสาธารณสุขของประเทศรวมถึงวัคซีนด้วย

สำหรับสายพันธุ์ย่อย BA 2.2 ในไทยนั้น กรมวิทย์ฯ ได้มีการตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ พบว่ามี 4 รายที่มีโอกาสที่จะเป็น BA2.2 ได้ โดยเป็นชาวต่างชาติ 1 ราย ชาวไทย 3 ราย ทั้งหมดไม่มีอาการอะไร ซึ่งจริงๆ อาจจะหายไปแล้วก็ได้ เพราะหลังจากพบรายงาน BA 2.2 ที่ฮ่องกง เราก็เอาข้อมูลมาตรวจย้อนหลัง ขอประชาชนอย่าวิตกกังวล ยืนยันว่ากรมวิทย์ฯ สามารถตรวจจับได้ และหาก GSIAD วิเคราะห์ข้อมูลแล้วหากพบว่าเป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีความแตกต่างรุนแรงจากสายพันธุ์ย่อยเดิมก็ไม่ต้องถอดรหัสเพิ่มเติมอะไรอีก แต่หากวิเคราะห์แล้วพบวตั้งชื่อ BA 2.2 และมีข้อมูลว่าน่ากังวล ประเทศไทยก็จะมีการตรวจคัดกรองตั้งแต่ขั้นต้น โดยพัฒนาน้ำยาตรวจจำเพาะเลย ดังนั้นขณะนี้ต้องรอข้อมูลจาก GSIAD ก่อน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img