วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกHighlightถกเดือด“ธนาคารพุทธ”หลัง“กฤษฎีกา-ธปท.” ตั้งป้อมขอเหตุผลความจำเป็น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ถกเดือด“ธนาคารพุทธ”หลัง“กฤษฎีกา-ธปท.” ตั้งป้อมขอเหตุผลความจำเป็น

คณะทำงาน “ธนาคารพุทธ” ถกเดือดหลัง “กฤษฎีกา-ธปท.” ตั้งป้อม “ขอเหตุผลความจำเป็น” ตั้ง”อุทัย มณี”เป็นคณะทำงานเพิ่มเสริมการขับเคลื่อนในการจัดตั้งธนาคารพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยต่อไป

ที่อาคารรัฐสภาชั้น 4 นายไชยา พรหมา ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะทำงานดำเนินการพิจารณางบประมาณ เพื่อจัดตั้งธนาคารพุทธศาสนาได้นัดประชุมคณะทำงานซึ่งมีผู้ร่วมคับคั่งอาทิ นายนิยม เวชกามา, ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล, นายมานิต นพอมรบดี, ม.ล.กานตพงศ์ วรวุฒิ, ดร.เสถียร วิพรหมา, ดร.เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ เป็นต้น โดยคณะทำงานได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานกฤษฎีกา, ธนาคารแห่งประเทศไทย, กระทรวงการคลัง, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มาให้ข้อมูลและความคิดเห็นเพื่อให้ธนาคารพระพุทธศาสนาเดินหน้าต่อไปได้ หลังจากสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องไปให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้ว “ตีตก” ไม่เห็นชอบ


หลังจากนายไชยา พรหมา เปิดการประชุมและให้ตัวแทนจากสำนักงานกฤษฎีกาแสดงความคิดเห็น ตัวแทนสำนักงานกฤษฎีกาได้ขอความเห็นจากที่ประชุมถึง “ความจำเป็นในการจัดตั้งธนาคารพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย พร้อมถามถึงเหตุผลที่ต้องมี,หากไม่มีมีทางเลือกอื่นหรือไม่เนื่องจากมีธนาคารพาณิชย์อยู่แล้ว พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตต่อว่า การที่ให้วัดเข้ามาถือหุ้นเหมาะสมหรือไม่ชอบต่อพระธรรมวินัย หรือไม่..”

หลังตัวแทนกฤษฎีกาพูดจบประธานที่ประชุมท้วงว่า การประชุมครั้งที่แล้วสำนักงานกฤษฎีกาส่งมาคนมา ทางคณะทำงานขอความกรุณาให้ไปทำงานการบ้านเปรียบเทียบ “ธนาคารอิสลาม” กับ “ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารพุทธ” มีความสอดคล้องหรือต่างกันอย่างไรบ้าง มิไช่มาตั้งคำถามหรือตั้งป้อมสร้างเงื่อนไขแบบนี้ แบบนี้มันจะเดินหน้าต่อไม่ได้


ทางด้านนายนิยม เวชกามา รองประธานคณะทำงาน พรรคเพื่อไทย พูดด้วยความเดือดว่า ตัวแทนสำนักงานกฤษฎีกาต้องไม่ต้องกำแพงแบบนี้ มันต้องหาทางออกร่วมกัน วันนี้เชิญมาเพื่อให้มาตั้งข้อสังเกตและมาแนะนำการจัดตั้งเหมือนกับธนาคารอิสลาม มิใช่มาตั้งป้อมกำแพงแบบนี้ เนื่องจากร่างพ.ร.บ.ธนาคารพุทธศาสนา มันเลยขั้นตอนนั้นมาแล้ว ผ่านการพิจารณาจากสำนักงานกฤษฎีกามาแล้ว ผ่านฝ่ายนิติกร จากสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว เพียงแต่ว่าที่มันติดขัดเนื่องจาก นายกรัฐมนตรี ไม่เห็นด้วย เพราะตามกฎหมาย การจะเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณแผ่นดิน มันต้องให้คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีเห็นชอบ จึงขอให้ฝ่ายกฤษฎีกาไปทำการบ้านมาให้ ให้ตั้งข้อสังเกตมาเป็นรายมาตรา เพื่อให้ธนาคารพุทธเดินหน้าต่อไปได้

ส่วน ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล ได้ขอให้ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐร่วมกันผลักดันเรื่องนี้ในฐานะที่เป็นชาวพุทธด้วยกัน เนื่องจากการลงพื้นในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการศาสนาและศิลปวัฒนธรรม มีพระสงฆ์และชาวพุทธจำนวนมากต้องการธนาคารพุทธศาสนา พร้อมทั้งถามว่า ธนาคารศาสนาอื่นทำไม มิได้ ทำไมธนาคารชาวพุทธของเราจึงไม่มี ทั้ง ๆ ที่หากมีแล้วเกิดประโยชน์ทั้งต่อภาครัฐและพระพุทธศาสนาในประเทศไทยในขณะที่ตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่มาร่วมประชุม ขอดูวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเช่นกัน ส่วนกระทรวงการคลัง ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารของรัฐเฉพาะกิจที่มีอยู่ 7 แห่ง อาทิ ธกส. ธอส. ออมสิน เป็นต้น

ในขณะที่ดร.เสถียร วิพรหมา และ ดร.เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ ได้เล่าถึงปมหลังในการจัดตั้งธนาคารพุทธศาสนาที่ผลักดันมาร่วม 20 ปีมาแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องด้วยปัจจัยหลายประการทั้งเกิดจากการเมือง, คณะสงฆ์และความไม่เข้มแข็งขององค์กรชาวพุทธ

หลังจากนั้นบรรยากาศในห้องประชุมเริ่มผ่อนคลาย มีคณะทำงานรวมทั้งตัวแทนจากหน่อยงานร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง สรุปท้ายประธานที่ประชุมได้ฝากการบ้านให้สำนักงานกฤษฎีกาช่วยตั้งข้อสังเกตเป็นรายมาตรา พร้อมกับขอให้ส่งเจ้าหน้าที่อย่าให้ซ้ำหน้า เพราะมันไม่ต่อเนื่องในการให้ข้อมูล ในขณะที่ประชุมเห็นชอบให้เพิ่มคณะทำงานอาทิ นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส และนายอุทัย มณี เข้ามาเสริมคณะทำงาน เพื่อขับเคลื่อนในการจัดตั้งธนาคารพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยต่อไป

สำหรับร่าง พ.ร.บ.ธนาคารพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ปัจจุบันมี 3 ร่าง คือ ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารพุทธศาสนา ที่เสนอโดย นายนิยม เวชกามา จากพรรคเพื่อไทย, ร่างพ.ร.บ.ธนาคารพุทธศาสนา เสนอโดย นายนพดล แก้วสุพัฒน์ จากพรรคท้องถิ่นไทย และร่างพ.ร.บ.ธนาคารพุทธศาสนา เสนอโดย นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล พรรคเพื่อไทย โดยทุกร่างประกอบด้วย 8 หมวด 50 มาตรา พร้อมมีบทวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญในแต่ละร่างประกอบการพิจารณา

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img