วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกNEWS"อมรัตน์" คาใจมติ ก.ต.ลงโทษ "ผู้พิพากษาศาลฎีกา" เหตุร่วมม็อบ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“อมรัตน์” คาใจมติ ก.ต.ลงโทษ “ผู้พิพากษาศาลฎีกา” เหตุร่วมม็อบ

“อมรัตน์” คาใจมติ ก.ต.ลงโทษ “วิชิต ลีธรรมชโย” ผู้พิพากษาศาลฎีกา เหตุเข้าร่วมม็อบ ชี้เป็นคดีปวศ.ในกระบวนศาลยุติธรรม ตั้งถามแล้วประชาชนจะได้รับความยุติธรรมจากใคร

วันที่ 18 ส.ค.65 เวลา 14.30 น.ที่รัฐสภา นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะเลขานุการคณะกมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน แถลงว่า กมธ. ได้รับเรื่องร้องเรียนมาจากหลายช่องทางเป็นจำนวนมาก ในประเด็นที่คณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) มีมติลงโทษนายวิชิต ลีธรรมชโย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ในฐานะผู้ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งประธานแผนกคดีคำสั่งคำร้องขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกา โดยการตัดเงินเดือน และมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าไม่มีความเหมาะสมในการเป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ซึ่งผลการลงมติของก.ต.ในครั้งนี้ มีความผิดปกติไปจากประเพณีปฏิบัติของศาลยุติธรรม และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของศาลยุติธรรม เนื่องจากปกติแล้วการลงโทษในชั้นอนุกรรมการตุลาการ จะไม่มีการลงโทษในขั้นที่รุนแรงกว่า มีแต่เท่ากันหรืออ่อนกว่า

นางอมรัตน์ กล่าวว่า คณะกรรมการสอบสวนข้อร้องเรียนในเรื่องดังกล่าว เกิดจากนายวิชิต เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง และมีการถูกร้องเรียน ในชั้นกรรมการสอบสวนและในชั้นอนุก.ต. มีมติเอกฉันท์ว่า เป็นการผิดวินัยที่ไม่ร้ายแรง และมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่านายวิชิต ยังมีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาได้ และเมื่อเรื่องมาถึงก.ต. ก็ยังมีความเห็นว่า การไปร่วมชุมนุมทางการเมือง เป็นการผิดวินัยที่ไม่ร้ายแรง เช่นเดียวกัน แต่กลับมีมติลงโทษด้วยการตัดเงินเดือน และกลับไปนำข้อเท็จจริงในชั้นพนักงานสอบสวนมากล่าวนายวิชิต ว่าเป็นพวกล้มสถาบัน

“เราจะเห็นได้ชัดว่า ในมติของก.ต.ในครั้งนี้ มีความย้อนแย้งในตัวเอง กล่าวคือเมื่อก.ต. มีมติว่า เป็นความผิดวินัยที่ไม่ร้ายแรง แต่กลับลงโทษขั้นรุนแรง ด้วยการทั้งตัดเงินเดือนและด้วยการไม่ให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสศาลฎีกาด้วย ซึ่งมีผลทำให้นายวิชิต จะต้องเกษียณอายุราชการในเดือนก.ย.นี้ แทนที่จะได้รับราชการต่อไป” นางอมรัตน์ กล่าว

นางอมรัตน์ กล่าวต่อว่า ในฐานะกมธ. ที่ติดตามและสนใจในประเด็นการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ในการชุมนุมเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ผ่านการใช้สิทธิชุมนุม ทั้งนี้ เมื่อได้รับข้อร้องเรียนและการตั้งคำถามกับสังคมจำนวนมาก ว่าแม้แต่ตัวตุลาการเอง ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม หากได้รับการตัดสินที่ไม่เป็นธรรมเสียเอง จะเหลือกระบวนการอะไรให้ประชาชนได้เป็นที่พึ่งสุดท้ายและเป็นที่หวังในความเป็นธรรมได้อีก

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img