วันศุกร์, พฤษภาคม 10, 2024
หน้าแรกHighlight'หมอหนู'จี้จัดการม็อบไม่ใส่หน้ากาก ตร.จ่อเอาผิด'ผู้ชักชวน'คนมาชุมนุม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘หมอหนู’จี้จัดการม็อบไม่ใส่หน้ากาก ตร.จ่อเอาผิด’ผู้ชักชวน’คนมาชุมนุม

“หมอหนู” จี้จนท.จัดการเอาผิดม็อบประท้วงหน้าสถานทูตเมียนมา แต่ไม่ใส่หน้ากาก ตร.จ่อเอาผิด “คนชักชวน” ให้มาร่วมชุมนุม ส่อผิดประมวลกม.อาญา ม.215 วรรค 3

เมื่อวันที่ 2 ก.พ.64 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์กรณีการชุมนุมหน้าสถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทย ซึ่งมีความกังวลจะมีการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้หรือไม่ว่า ต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมสถานการณ์อย่างเต็มที่เพราะความกังวลเกี่ยวกับแพร่ระบาดโควิด-19 มีทุกวัน จึงต้องดูถ้ามีการชุมนุมแล้วไม่ใส่หน้ากาก ก็ต้องจัดการ ปัญหาบ้านโน้นจะมายุ่งอะไรกับบ้านนี้

นายอนุทิน กล่าวด้วยว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ ที่มีพื้นที่ติดชายแดนไทย และเมียนมาเฝ้าระวังเกี่ยวกับการลักลอบเข้ามาอย่างเต็มที่ โดยจะให้ความร่วมมือกับฝ่ายความมั่นคง

มีรายงานด้วยว่า ขณะนี้กำลังมีการวิจารณ์กันอย่างมาก ต่อกรณีการนัดชุมนุมหน้าสถานทูตเมียนมา เมื่อวานนี้ (1 ก.พ.) ว่าจะมีการกระทำผิด ตามที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ระบุหรือไม่ โดยเฉพาะกรณีที่ไปชุมนุม แต่หลายคนไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำเนินการ นอกจากนี้ยังอาจจะมีความผิดในเรื่องการยุยง ปลุกปั่นผู้ชุมนุม เนื่องจาก 1.เป็นการชุมนุมในลักษณะมั่วสุมกัน หรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันง่าย, ชุมนุมทำกิจกรรมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัด หรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือในลักษณะเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ฝ่าฝืนพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.กระทำการหรือดำเนินการใดๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคแพร่ระบาดออกไป ฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 34(6)

ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. กล่าวถึงการชุมนุมหน้าสถานทูตเมียนมา แล้วเกิดเหตุปะทะระหว่างตำรวจควบคุมฝูงชนกับการ์ดวีโว่ว่า ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 3 ราย คือ นายปัณณพัทธ์ จันทนางกูล อายุ 19 ปี กับนายเกียรติศักดิ์ พันธุ์เรณู อายุ 20 ปี ในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน, พ.ร.บ.ควบคุมโรค และมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และจับกุมนายวิชพรรษ ศรีกสิพันธุ์ อายุ 21 ปี ในความผิดที่เกี่ยวกับการใช้เครื่องขยายเสียง โดยผู้ต้องหา 2 คนแรก ตำรวจมีหลักฐานพบว่ามีพฤติกรรมการใช้อาวุธ การขว้างปาสิ่งของทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ จนเป็นเหตุให้มีตำรวจบาดเจ็บ 12 นาย และสาหัสอีก 2 นาย อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะต้องรวบรวมพยานหลักฐานเอาผิดผู้อื่นเพิ่มเติมอีกหลายราย ซึ่งผู้ที่ขึ้นปราศรัยชักชวนให้คนมาร่วมชุมนุม ก็ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.215 วรรค 3 เช่นกัน ขณะเดียวกัน ผู้ชุมนุมอ้างว่าการชุมนุมเต็มไปด้วยความสงบ แต่ภาพที่ปรากฎออกไปก็จะเห็นว่ามีการใช้หิน พลุเพลิง ระเบิดควัน และวัตถุระเบิด เกิดขึ้นตามสถานที่ต่างๆ เช่น เหตุการณ์ยิงกันที่แยกเกียกกาย แยกรัชโยธิน กองสลากเก่า สามย่านมิตรทาวน์ ล้วนมีการใช้อาวุธก่อความไม่สงบ

พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวอีกว่า ยังต้องรอให้เจ้าหน้าที่หน่วยเก็บกู้และตรวจสอบวัตถุระเบิด (อีโอดี) กับกองพิสูจน์หลักฐาน ตรวจวิเคราะห์วัตถุระเบิดที่พบจากเหตุการณ์ที่สถานทูตเมียนมาว่า มีความเชื่อมโยงกับคดีอื่นที่ผ่านมาข้างต้นหรือไม่ ยืนยันว่าหากมีหลักฐานโยงไปถึงใครก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนความผิดอื่นๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เบื้องต้นพบว่ามีป้ายรถประจำทาง สวนหย่อม และกำแพงที่ได้รับความเสียหายจากการชุมนุมครั้งนี้ แต่ยังต้องรอให้หน่วยงานรัฐอื่นๆ และเอกชน สำรวจความเสียหายก่อนเข้าแจ้งความกับตำรวจต่อไป

สำหรับแรงงานชาวเมียนมาที่เข้าร่วมการชุมนุมวานนี้นั้น ตำรวจไม่สามารถควบคุมตัวได้ เนื่องจากขณะที่ตำรวจควบคุมฝูงชนเข้าควบคุมสถานการณ์ แรงงานเมียนมาได้แยกย้ายออกจากการชุมนุม แต่จากการตรวจสอบของตำรวจทราบว่า แรงงานเมียนมาที่เข้าร่วมการชุมนุมส่วนหนึ่งเป็นแรงงานเมียนมาใน จ.สมุทรสาคร

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img