วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกHighlight‘มาร์ค’ชี้รอบนี้ซื้อเสียงหนัก-แนะศึกษาดีๆ เชื่อม.272เป็นเครื่องมือต่อรองตั้งรัฐบาล
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘มาร์ค’ชี้รอบนี้ซื้อเสียงหนัก-แนะศึกษาดีๆ เชื่อม.272เป็นเครื่องมือต่อรองตั้งรัฐบาล

“นักวิชาการ” แนะ ปชช. ศึกษานักการเมือง-นโยบายให้ดี ก่อนเข้าคูหาเลือกตั้ง “อภิสิทธิ์” ชี้ ม.272 เครื่องมือต่อรองตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง เชื่อการเมืองรอบนี้ซื้อเสียงหนัก เตือนปชช.ศึกษาผู้ลงเลือกตั้ง-พรรคการเมืองให้มั่นใจก่อนเข้าคูหา หวั่นเลือกไม่ดีประเทศซ้ำรอยเดิม

วันที่ 20 เม.ย.2566 ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.)การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาาชน วุฒิสภา ร่วมกับ สถาบันประเทศไทยต่อต้านการทุจริต แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต จัดเสวนา การเลือกตั้งปี66 ส่วนร่วมของประชาชนกับอนาคตของประเทศไทย โดยนายวิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต บรรยายในหัวข้อ การเลือกตั้งปี2566 กับส่วนร่วมของประชาชนกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น ตอนหนึ่งว่า ประชาชนมีสิทธิที่จะตรวจสอบและเอาผิดนักการเมืองได้ ผ่านการยื่นเรื่องร้องไปยัง คณะกรรมการป้องกันและปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพราะที่ผ่านมามีกรณีที่ ส.ส. ยึดที่สาธารณะที่ของประชาชนเป็นของตนเอง ถูกถอดถอนจากตำแหน่ง แม้จะเพิ่งเริ่ม 1-3 คน แต่จากนี้จะไม่มีใครกกล้าทำสิ่งที่ไม่ดีกับประชาชนอีก อย่างไรก็ดีการตรวจสอบนักการเมืองนั้นสิ่งสำคัญคือการบังคับใช้กฎหมายที่ตรงไปตรงมาและมีประสิทธิภาพ

จากนั้นเป็นการเปิดเวทีเสวนา เรื่อง การเลือกตั้งปี 66 ส่วนร่วมของประชาชนกับอนาคตของประเทศไทย โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย กระบวนการเลือกตั้งมีความสำคัญ โดยในประเทศไทยยังมีปัญหาที่ตกค้างมาจากรัฐธรรมนูญ ทั้งในกรณีมาตรา 272 ให้ส.ว.ร่วมเลือกนายกฯ ในระบบรัฐสภาพรรคการเมืองที่รวมเสียงข้างมากได้จัดตั้งรัฐบาล โดยทั้งหมดเป็นผลโดยตรงจากการเลือกตั้ง และตามที่ประชาชนลงคะแนน ซึ่งการให้อำนาจส.ว. 250 คนเลือกนายกฯ ทำให้เกิดคำถามว่ากระบวนการเลือกตั้งโดยประชาชน มีสิทธิกำหนดอนาคตของประเทศมากน้อยแค่ไหน ทำให้มาตราดังกล่าวถูกเชื่อมโยงเกี่ยวกับการหาเสียงของพรรคการเมือง ทั้งการแข่งขันในประเด็นแลนด์สไลด์ ปิดสวิตซ์ส.ว. อย่างไร ขณะที่ฝั่งที่มีอำนาจ ถือมาตราดังกล่าวใช้ต่อรองจัดตั้งรัฐบาล

“ภาพรวมของประเทศปัจจุบัน พบว่ามีความท้าทายทั้งเป็นประเทศแก่ก่อนรวย เป็นสังคมผู้สูงอายุ และมีความเลื่อมล้ำสูง มีปัญหาโรคร้อน หากมีระบบกระบวนการประชาธิปไตยเป็นกลไกแก้ปัญหา จะคาดหวังว่าพรรคที่ลงเลือกตั้งจะตอบคำถามในภาพรวมว่าทำให้ประเทศแข่งขันได้มากขึ้นหรือประชาชนมีหลักประกันในชีวิต และแก้ปัญหาด้วยวิธีใด ให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น จึงคาดหวังให้พรรคที่ลงเลือกตั้งมาตอบคำถามเหล่านี้ แต่เมื่อมีมาตรา 272 ทำให้ไม่เป็นเช่นนั้น มีคำถามว่า 2 ลุงจะไปกันอย่างไร ทำให้ประชาชนเสียสิทธิ์รับรู้นโยบายที่ประชาชนได้ประโยชน์ ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในการเลือกตั้งรอบนี้ตนเชื่อว่าการซื้อเสียงหนัก ไม่ใช่การประมูลประชาชน แต่ประชาชนรับเเงินจากทุกพรรคที่ซื้อเสียง ทำให้ไม่เลือกที่ตัวนโยบาย ตนหวังว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไป ที่ไม่ใช่ภายใน 1 ปีจากนี้ เพราะยังจะยังอยู่ในอำนาจต่อ ขอย้ำว่าการเลือกตั้งต้องศึกษาที่มาของนักการเมืองและพรรคการเมือง เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเข้าสู่วงจรเดิมให้ประเทศไทยไม่ไปไหน ประชาชนในฐานะผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่ารอให้พรรคการเมืองนำเสนอ เพราะบางเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับประชาชน เช่น 2ลุงอยากอยู่ต่อ ดังนั้นประชาชนต้องรวมตัวนำเสนอประเด็นให้พรรคการเมือง รวมถึงต้องซักถามรายละเอียดของนโยบายต่างๆ เช่น สวัสดิการต่างๆ ซึ่งหลายพรรคการเมืองเลี่ยงจะตอบ ทั้งนี้หลายนโยบายสวัสดิการที่อยากได้ ในต่างประเทศที่มีสวัสดิการที่ดี สามารถเก็บภาษีได้ไม่ต่ำ 30% แต่ของไทยเก็บได้ 13% ดังนั้นสวัสดิการที่ดี บางครั้งอาจมีรายละเอียดคือการเก็บภาษี vat เพิ่มขึ้น ซึ่งประชาชนต้องรับภาระ

“การหาเสียงคือการพูดนโยบายเพื่อเอาใจประชาชน ไม่มีใครบอกว่าจะเข้าไปโกง โกงทั้งโคตร ดังนั้นประชาชนต้องศึกษา เพราะการเลือกตั้งไม่ใช่การลองผิดลองถูก ต้องมีความมั่นใจก่อนการเข้าคูหา หากทำแบบนี้จะมีโอกาสอย่างน้อย แม้กติกาสับสน หลังเลือกตั้งจะต่อรองระหว่างพรรคการเมือง แต่บังคับให้พรรคการเมืองพูดต่อสาธารณะแล้ว จะทำให้เกิดการตรวจสอบได้ ซึ่งช่วงนี้เป็นโอกาสทองที่ประชาชนจะเข้าถึงนักการเมือง เพราะหลังเลือกตั้งจะไม่มีโอกาสแบบนี้” นายอภิสิทธิ์ กล่าาว

ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายพรรคเสรีรวมไทย ฐานะอดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า การเลือกตั้งรอบนี้หลายเรื่องรู้สึกขัดใจเพราะมีปัจจัยจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ออกแบบให้ใช้กับการเลือกตั้งแบบบัตรเลือกตั้งใบเดียว ไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ในนโยบายของพรรคการเมืองที่นำเสนอปัจจุบันล้วนมีแต่สิ่งที่ดี แต่สิ่งที่ประชาชนต้องตระหนักรู้ และอย่าเลือกพรรคที่บอกว่าจะให้เงิน เพราะทำไม่ได้ ภายในงบประมาณ ปี2567 เพราะขณะนี้กระบวนการจัดทำงบประมาณทำไว้แล้ว รอเฉพาะเสนอต่อสภาฯ โดยรายละเอียดของการทำงบ คือ 80% เป็นงบที่จ่ายตามกฎหมายไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนอีก20% เป็นงบรายจ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ กำหนดให้งบลงทุนไม่น้อยกว่า 20% ของงบรายจ่ายประจำปี ดังนั้นงบลงทุนไม่สามารถใช้เป็นงบเพื่อสนับสนุนสวัสดิการให้ประชาชน แม้จะรีดไขมันอาจทำได้เล็กน้อย แต่นโยบายแจกเงินของพรรค ไม่สามารถทำได้ทันทีทั้งหมด

“หากจะกู้เงินเพื่อนำมาใช้ในนโยบายของพรรคการเมือง ต้องรู้ว่าหนี้สาธารณะของไทย ปัจจุบันมี 10.3ล้านล้านบาท หรือ 61% หากกู้อีก 4แสนล้าน ทำให้อัตราหนี้เพิ่มขึ้น หากรัฐบาลจะกู้เงินมา เพื่อให้เศรษฐา ทวีสิร หรือ อุ๊งอิ๊งได้เงิน1หมืนบาท เพื่อนำไปซื้อของ เหมาะสมหรือไม่ต้องพิจารณารายละเอียดเรื่องดังกล่าวด้วย” นายสมชัย กล่าว และว่า ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง ต้องมีมารยาทการเมืองและมีการเลือกปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐ หากอยู่ในสังคมที่มีมารยาทการเมืองต้องให้เกียรติกับพรรคการเมืองได้เสียงมากสุด ให้พยายามตั้งรัฐบาลก่อน แต่ไม่ใช่จับมือกับ ส.ว. เพื่อต่อรองบางอย่าง ดังนั้นการให้เกียรติและโอกาสต้องเป็นธรรม ถึงที่สุดหากส.ส.ไม่มีใครจับมือร่วมรัฐบาลกับพรรคที่เสียงอันดับหนึ่ง เพราะประวัติไม่ดี เป็นพรรคน่ารังเกียจ จึงควรเป็นโอกาสของพรรคลำดับที่สองและที่สาม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img