วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกNEWSเบรกส.ว.ไม่มีสิทธิเข้าชื่อยื่นตีความคุณสมบัติส.ส.มาตรา 82 แต่เป็นหน้าที่ของ“กกต.”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เบรกส.ว.ไม่มีสิทธิเข้าชื่อยื่นตีความคุณสมบัติส.ส.มาตรา 82 แต่เป็นหน้าที่ของ“กกต.”

“สมชาย-ดิเรกฤทธิ์” เตือน ส.ว.ไม่มีสิทธิเข้าชื่อยื่นตีความคุณสมบัติ “ส.ส.” ตามรธน.มาตรา 82 ชี้กกต.สามารถดำเนินการเองได้ หลังรับรองส.ส. หวังให้ความเป็นธรรมผู้ถูกเสนอชื่อ

วันที่ 15 มิ.ย.2566 นายสมชาย แสวงการ ส.ว. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คต่อกรณีที่มีความสงสัยว่า ส.ว. เข้าชื่อ 1 ใน 10 ยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ชี้ขาด คดีของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดต พรรคก้าวไกล กรณีถือครองหุ้นสื่อITVได้หรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82  ระบุว่ากรณที่เห็นว่ามีส.ส. หรือ ส.ว. มีปัญหาที่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้สมาชิกแต่ละสภายื่นแยกกัน โดยส.ส.ต้องเป็นผู้ยื่นเรื่อง ส.ส. ส่วน ส.ว. ยื่นเฉพาะ เรื่อง ส.ว. ทั้งนี้ในมาตรา82วรรคท้าย ให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
“ดังนั้น กกต. มีอำนาจและหน้าที่ชัดเจนโดยตรง ว่า เมื่อรับรอง ส.ส. แล้ว มีเหตุสงสัยว่า ส.ส. มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 98(3) มาตรา88 มาตรา 89 มาตรา160 ที่น่าจะขาดคุณสมบัติตามมาตรา101 จึงเห็นว่า กกต. มีหน้าที่ยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยเป็นที่สุด เพราะเป็นการต้องทำหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ หากละเลย เกรงว่าอาจมีผู้ยื่นฟ้องดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157 เสียเอง ขอฝากความเห็นและข้อเสนอแนะมาด้วยความห่วงใย” นายสมชาย ระบุ

ด้านนายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ส.ว.โพสต์เฟซบุ๊คแฟนเพจ ระบุส.ว.ไม่สามารถร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพของ ส.ส.ได้ เพราะประเด็นสมาชิกภาพของ ส.ส. เป็นสิทธิเฉพาะ ส.ส. ที่จะเข้าชื่อ 1 ใน 10 ของจำนวนที่มีอยู่ จะร้องขอผ่านประธานสภาฯ ของตน

“ก่อนถึงวันเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้รัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบนั้น หาก กกต.จะส่งเรื่องที่มีการกล่าวหาว่ามีลักษณะต้องห้าม ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาได้ จะเกิดความเป็นธรรมกับผู้ถูกเสนอชื่อ”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img