วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกHighlight“ทีมเศรษฐกิจปชป.”จี้รัฐตอบ6คำถาม ปม“ดิจิทัลวอลเล็ต”ให้ทบทวนโยบาย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ทีมเศรษฐกิจปชป.”จี้รัฐตอบ6คำถาม ปม“ดิจิทัลวอลเล็ต”ให้ทบทวนโยบาย

ทีมเศรษฐกิจปชป.จี้รัฐตอบ 6 คำถามปมดิจิทัลวอลเล็ต พร้อมจี้ทบทวนโยบายนโยบาย อ้างFitch และ Moody’s ออกมาเตือนถึงความเสี่ยงด้านฐานะทางการคลังของไทย ถ้าดำเนินนโยบายนี้

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ุ66 นายเกียรติ สิทธีอมร อดีต สส.บัญชีรายชื่อ และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความระบุถึงกรณีที่หลายฝ่ายท้วงติงนโยบายของรัฐบาลในการแจกเงิน 10,000 บาทให้ประชาชนผ่านดิจิทัล วอลเล็ต ว่า จิ้งจกทักยังต้องฟัง เงินดิจิทัล 10,000 บาท พูดกันมาตั้งแต่หาเสียงเลือกตั้ง ทั้งความไม่ชัดเจน ความคลุมเครือของที่มาของเงิน ผลกระทบต่อหนี้สาธารณะ ความคุ้มค่าทำไมต้องเป็นระบบบล็อกเชน ทำไมต้องใช้ในรัศมี 4 กิโลเมตรตามทะเบียนบ้าน เงินนี้ใช้ที่ร้านค้าไหนได้บ้าง ทุกวันนี้คำถามเหล่านี้ยังไม่มีคำตอบ กกต.ปล่อยผ่านมาได้อย่างไร ทั้งที่มีความไม่ชัดเจนมากมาย จึงต้องจะถามดังๆอีกครั้งถึงนโยบายนี้ 1.คนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน ถ้าต้องกลับบ้านเกิดเพื่อใช้เงิน ก็จะเป็นการสร้างภาระ เพิ่มค่าใช้จ่าย เสียเวลา เสียค่าเดินทางกลับไปใช้เงินตามนโยบายนี้ ที่สำคัญร้านค้าในต่างจังหวัดจะมีความพร้อมในการรับเงินดิจิทัลหรือไม่ เมื่อไหร่

นายเกียรติ ระบุอีกว่า 2.เราจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจแบบนี้หรือไม่ ทั้งผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย นักเศรษฐศาสตร์ นักวิชาการ นักธุรกิจหลายสำนักที่หวังดีกับประเทศไทย ต่างออกมาทักดังๆว่าได้ไม่คุ้มเสีย และไม่เข้าใจว่า ทำไมจะต้องแจกคนรวย คนมีอันจะกินด้วย 3.ในส่วนของแหล่งเงิน ก็จะใช้ธนาคารของรัฐออกเงินไปให้ก่อน โดยการเพิ่มเพดานหนี้ของธนาคารรัฐเพื่อให้กู้เงินได้มากขึ้น วิธีนี้เป็นการเลี่ยงหนี้สาธารณะ แต่จริงๆแล้วหนี้ของธนาคารรัฐก็คือหนี้ของประชาชน อีกทั้งภาษีที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายนี้ก็ไม่มีทางที่จะชดเชยเงินกู้จากธนาคารรัฐได้ หนีไม่พ้นสร้างหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น เรื่องนี้ควรทำอย่างตรงไปตรงมาดีที่สุด คิดแบบศรีธนญชัยหรือใช้นิติกรรมอำพรางไม่ได้

นายเกียรติ ระบุว่า 4.การใช้บล็อกเชน เพื่อบริหารจัดการนโยบายนี้ยังมีค่าใช้จ่ายสูง 20,000–30,000 ล้านบาท ต้องถามว่าใครจะได้เงินก้อนนี้ เพราะเริ่มมีข้อครหาในสื่อโซเชียลแล้วว่าบริษัทที่นายกรัฐมนตรีเคยบริหารและเป็นเจ้าของ จะได้ประโยชน์ไปเต็มๆ ซึ่งยังไม่มีใครชี้แจงเรื่องนี้ให้ชัดๆ เอาเงินส่วนนี้ไปช่วยคนมีรายได้น้อยจะดีกว่าหรือไม่ นอกจากนั้น การใช้บล็อกเชนเก็บข้อมูลของประชาชนเกือบทั้งประเทศ จะจัดการวิธีใด ใครจะเป็นคนทำ จะไม่ให้มีคนฉวยโอกาส นำข้อมูลที่ถือว่ามีค่ามากไปใช้เพื่อประโยชน์สำหรับคนบางกลุ่ม รวมทั้งประโยชน์ทางการเมืองได้อย่างไร ใครจะรับผิดชอบในเรื่องนี้ 5.หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่ากลุ่มคนที่มีรายได้น้อยและต้องได้รับการช่วยเหลือจริงๆนั้น มีประมาณ 13-15 ล้านคนโดยอ้างอิงจากข้อมูลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ถ้าคิดตามหลักของสหประชาชาติที่คิดรายได้ต่อหัวต่อวัน ประมาณ 40-80 บาทต่อวัน จะมีประมาณ 8-10 ล้านคน การแจกเงินแบบเหวี่ยงแหซึ่งเป็นประชานิยมสุดโต่งอย่างนี้ เป็นการใช้เงินมาก ไม่ตรงเป้า และได้ไม่คุ้มเสีย

6.ที่จริงแล้ว หากต้องการหาผู้มีรายได้น้อยไม่ใช้เรื่องยาก แค่ดูบัญชีธนาคารรวมกันของทุกคนว่าใครมีเงินรวมแล้วไม่ถึง 10,000 บาท ก็ใส่เงินตรงเข้าบัญชีได้เลย หรือถ้าใครไม่มีบัญชี ก็สามารถเปิดบัญชีใหม่ให้เลย ไม่ยุ่งยาก ไม่สลับซับซ้อน หรือถ้าจะให้เงินถึง 20,000 บาทกับเฉพาะคนกลุ่มนี้ก็ยังได้ น่าจะช่วยลดความเลื่อมล้ำได้มากกว่า และแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากกว่าหรือไม่

“ตอนนี้มันมากกว่าจิ้งจกทักแล้ว ทั้ง Fitch และ Moody’s ซึ่งบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ต่างออกมาเตือนแบบสุภาพๆ ถึงความเสี่ยงด้านฐานะทางการคลังของประเทศไทยถ้าดำเนินนโยบายนี้แถมในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทอ่อนตัวลงอย่างมาก ดอกเบี้ยสูง น้ำมันแพง ก๊าซแพง ข้าวของแพง เงินเฟ้อสูง ในขณะที่เศรษฐกิจทั้งโลกถดถอย เป็นสัญญาณที่ต้องเฝ้าระวังแบบไม่กระพริบตา และบริหารจัดการให้ดีนะครับ..!!!!!  ด้วยเหตุผลเหล่านี้ รัฐบาลน่าจะทบทวนนโยบายนี้อย่างจริงจังนะครับ รัฐบาลมีหน้าที่สร้างรายได้ สร้างความเจริญ ไม่ใช่สร้างภาระให้กับลูกหลานนะครับ..!!!”นายเกียรติ ระบุ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img