วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกNEWS“เรืองไกร”ร้อง“ป.ป.ช.”สอบ 399สส.เขต แจ้งรายรับรายจ่ายเลือกตั้งถูกต้องหรือไม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เรืองไกร”ร้อง“ป.ป.ช.”สอบ 399สส.เขต แจ้งรายรับรายจ่ายเลือกตั้งถูกต้องหรือไม่

“เรืองไกร” ร่อนนส.ร้อง ป.ป.ช. สอบ 399 ส.ส.เขต แจ้งรายรับรายจ่ายเลือกตั้งถูกต้องหรือไม่ หลังไม่นำรายได้-รายจ่ายเลือกตั้งต่อกกต. จ่อชงศาลฟันต่อ

เมื่อวันที่ 1 มี.ค.67 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ ส.ส. ที่เปิดเผยไว้ในเว็บไซต์ ป.ป.ช. พบการแจ้งรายรับรายจ่ายของ ส.ส.รายหนึ่ง ที่แตกต่างไปจากรายอื่น ๆ เช่น นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินฯ ต่อ ป.ป.ช. กรณีเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. ราชบุรี เขต 5 เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2566 แตกต่างจาก ส.ส.แบ่งเขตเลือกตั้งรายอื่น ๆ โดยมีการนำรายได้และรายจ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2566 มายื่น ป.ป.ช. ด้วย ดังนี้ รายได้เป็นเงินที่ได้รับการจัดสรรให้ของพรรคการเมือง จำนวน 600,000 บาท รายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง พ.ค. 2566 จำนวน 1,335,430.50 บาท เพราะฉะนั้นตนจึงส่งหนังสือไปถึง ป.ป.ช. เพื่อขอให้ตรวจสอบ ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งสภาที่เหลือ 399 คน ว่ามีรายใดไม่นำรายได้และรายจ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ยื่นต่อ กกต. ไปยื่นต่อ ป.ป.ช ด้วย หรือไม่ หากมี ก็ต้องขอให้รับส่งศาลเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปโดยเร็ว

นายเรืองไกร กล่าวว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสส.ปี 2561 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับจากวันเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละคนและหัวหน้า พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ต้องยื่นบัญชีรายรับ และรายจ่ายต่อคณะกรรมการ ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ได้จ่ายไปแล้วและที่ยังค้างชําระ รวมทั้งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง และผู้สมัครหรือหัวหน้าพรรคการเมือง แล้วแต่กรณีต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของบัญชีรายรับและรายจ่าย” การที่นายชัยทิพย์ ยื่นรายได้และรายจ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งต่อ กกต. และ ป.ป.ช. จึงถูกต้อง ดังนั้น ส.ส.แบ่งเขตเลือกตั้งรายใดที่ยื่นต่อ กกต. แต่ไม่ยื่นต่อ ป.ป.ช. จึงไม่น่าจะถูกต้อง จึงควรตรวจสอบ ส.ส.แบ่งเขตเลือกตั้งที่เหลือ 399 คนว่าได้ยื่นรายได้และรายจ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ต่อป.ป.ช. ด้วยหรือไม่ ถ้าไม่ยื่นจะเข้าข่ายต้องส่งเรื่องให้ศาลฎีกา พิพากษา ตามที่ ป.ป.ช. เคยปฏิบัติมา หรือไม่

“การไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ เช่น ไม่แนบแบบภาษีให้ครบถ้วน ป.ป.ช.เคยร้องจนศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิจารณาพิพากษาให้พ้นจากตำแหน่งและตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งมาแล้ว เช่น คดีหมายเลขแดงที่ อม.173/2562 วันที่ 10 กรกฎาคม 2562 เป็นต้น เมื่อมี ส.ส. รายหนึ่ง ยื่นรายได้และรายจ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งต่อ กกต. และ ป.ป.ช. ไปอย่างถูกต้องแล้ว ดังนั้น หาก ส.ส. รายอื่นที่เหลือ 399 คน ไม่นำรายได้และรายจ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ยื่นต่อ กกต. มายื่นต่อ ป.ป.ช ด้วยนั้น ส.ส.ที่ไม่ยื่นรายได้ และรายจ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งต่อ ป.ป.ช. ก็น่าจะเข้าข่ายเป็นการจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ คือรายรับรายจ่ายที่ใช้ในการเลือกตั้งดังกล่าวต่อ ป.ป.ช. ภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่ และจะเข้าข่ายเป็นการจงใจยืนบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ หรือไม่”นายเรืองไกร กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img