วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกNEWS“นิกร”เผยส.ว.ยังเห็นแย้งปม“ไพมารีโหวต” ชี้ขัดหลักการ จ่อนำร่างกรธ.หัก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“นิกร”เผยส.ว.ยังเห็นแย้งปม“ไพมารีโหวต” ชี้ขัดหลักการ จ่อนำร่างกรธ.หัก

“นิกร” เผยส.ว. เห็นแย้งปมทำไพมารีโหวต อ้างขัดหลักการ เตรียมนำร่างกรธ.หักล้าง ชี้เจตนารมณ์รธน.ไม่มีแต่แรก     

   

วันที่ 10 มี.ค. 65 ที่รัฐสภา นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะเลขานุการกมธ. วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่…)พ.ศ…. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการทำไพรมารีโหวต ว่า พรรคการเมืองไม่น่ามีปัญหา แต่ฝ่ายส.ว. เห็นแย้ง เพราะขัดกับหลักการ โดยในร่างหลักคือร่างของพรรคร่วมรัฐบาลจะไม่มีการทำไพรมารี แต่จะมีการฟังความเห็นจากตัวแทนสาขาและตัวแทนประจำจังหวัด ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 45 ส่วนเรื่องตัวแทนประจำจังหวัด ซึ่งเป็นกฎหมายที่มาจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งระหว่างที่ยกร่างอยู่นั้น ไม่มีส.ส.หรือพรรคการเมืองเข้าไปให้ความเห็นจึงมีปัญหา การเลือกตั้งที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ก็ต้องปัดทิ้ง เพราะทำไม่ได้ในเรื่องตัวแทนประจำเขต ร่างของพรรคร่วมรัฐบาลจึงกำหนดให้ใช้ตัวแทนประจำจังหวัดเท่านั้น ส่วนร่างของนายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ เสนอ เน้นเรื่องคุณสมบัติของการเป็นสมาชิกพรรค ซึ่งตนเห็นด้วย เพราะการเป็นสมาชิกไม่ควรจะต้องมีข้อจำกัดจำนวนมากเหมือนคุณสมบัติการเป็นส.ส. โดยวิธีการพิจารณาจะยึดร่างของพรรคร่วมรัฐบาลเป็นหลักและพิจารณาไปทีละมาตรา ร่างนี้มีจำนวนมาตรามาก ซึ่งความเห็นจะแบ่งออกเป็นฝ่ายส.ว.และส.ส. ซึ่งจะต้องพูดคุยกัน
           
เมื่อถามว่า หากปรับขั้นตอนไพรมารีโหวตจะขัดรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ เพราะตอนยกร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่มีการเสนอมาในวาระแรก นายนิกร กล่าวว่า เตรียมจะเสนอหักล้างอยู่ เพราะสมัยนายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เสนอร่างเข้ามาไม่มีไพรมารี ฉะนั้น หากจะบอกว่าเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญให้มีไพรมารีก็พูดไม่ได้ แต่เป็นการเพิ่มเข้าไปภายหลัง เรื่องนี้ตนเตรียมข้อมูลไว้แล้วว่าจะเอาร่างของกรธ.มาเป็นข้อโต้แย้ง

เมื่อถามว่านายสาธิต วางกรอบจะทำกฎหมายลูกให้เสร็จภายในเดือนเม.ย. จำเป็นต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาในวาระ 2-3 หรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า ตนเป็นคนเสนอให้มีการปรับเวลาเพื่อเร่งเวลา แต่สิ้นเดือนมี.ค. เราจะมาคุยกันอีกครั้งว่าตกลงจะให้เสร็จเมื่อใด  โดยหลักการขณะนี้คือทำให้เสร็จ เมื่อเปิดประชุมสภาสมัยหน้าก็นำเข้าสภาโดยไม่ต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญ แต่หากต้องมีเหตุจะต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญจะต้องคุยกับประธานรัฐสภา เราเปิดเองไม่ได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img