วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกHighlight"เทพไท"จี้รัฐเร่งหาแนวทางช่วยปมเด็กนั่ง "คาร์ซีท"กระทบคนจน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เทพไท”จี้รัฐเร่งหาแนวทางช่วยปมเด็กนั่ง “คาร์ซีท”กระทบคนจน

“เทพไท” ห่วงกฎหมายจราจรมีผลบังคับใช้เป็นภาระคนจนหลายเรื่อง ยก 8 เหตุผลปมเด็กนั่ง “คาร์ซีท” จี้รัฐเร่งหาแนวทางช่วยเหลือ

วันที่ 10 พ.ค.65 นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ข้อความว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก โดย มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 123 แห่งพระรชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2560 เรื่อง มาตรการ เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 123 ภายใต้บังคับมาตรา 123/1 ในขณะขับรถยนต์ ผู้ที่อยู่ในรถยนต์ต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1.ผู้ขับขี่ ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะขับรถยนต์

  1. คนโดยสาร
    ก. คนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์
    ข.คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกินหกปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
    ค. คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกินหนึ่งร้อยสามสิบห้าเซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด

นายเทพไท กล่าวว่า คิดว่าการออกกฏหมายฉบับนี้ มีเจตนาที่จะคุ้มครอง ดูแลความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่อยากจะให้พิจารณาถึงความพร้อม และความเป็นไปได้ รวมถึงภาระของพี่น้องประชาชนในชนบทด้วย เกี่ยวกับวิถีชีวิตและความพร้อมในการจัดซื้ออุปกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อว่าประชาชนผู้ใช้รถ สามารถนำไปปฏิบัติได้ ยกเว้นเงื่อนไขในบางประเด็น ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123/1 (2)(ข) ซึ่งกำหนดให้เด็กมีอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งในที่นั่งนิรภัย หรือนั่งเก้าอี้คาร์ซีท ซึ่งจะต้องเจอปัญหาในหลายประการ เช่น 1.กำลังซื้อของพี่น้องประชาชนทั่วไป จะซื้อเก้าอี้คาร์ซีทที่มีคุณภาพปานกลาง ก็ยังมีราคาสูงอยู่
2.คนบ้านนอกในชนบทไม่มีความพร้อม ในการเตรียมเก้าอี้คาร์ซีท เพราะส่วนใหญ่เป็นรถกระบะ และต้องนั่งในกระบะบรรทุก ทั้งที่ไม่มีหลังคา หรือมีหลังคาไฟเบอร์ครอบกระบะ
3.สภาพร่างกายของเด็ก ที่มีพัฒนาการทางร่างกายของเด็กโตขึ้นตามลำดับ ในแต่ละปีในช่วง 6 ปี จะต้องเปลี่ยนเก้าอี้คาร์ซีทหลายครั้ง ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของเด็ก ซึ่งเป็นภาระสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อย
4.ในการเดินทางด้วยรถยนต์สาธารณะ ที่ไม่มีความพร้อม เรื่องการติดตั้งเก้าอี้คาร์ซีท จะแก้ปัญหาอย่างไร หรือรถรับจ้างสาธารณะต้องมีเก้าอี้คารซีทสำรองไว้ด้วย
5.รัฐควรจะมีมาตรการช่วยเหลือ ส่งเสริม หรือบังคับให้รถทุกชนิดมี option ให้เก้าอี้คาร์ซีทเป็นอุปกรณ์เสริม ติดตั้งพร้อมกับการขายรถด้วย
6.การออกกฎหมายที่มีบทลงโทษ ต้องเสียค่าปรับ 2000 บาทในขณะที่ประชาชนไม่มีความพร้อม จะเป็นช่องทางให้เกิดการรีดไถ ทุจริตต่อหน้าที่ของผู้บังคับใช้กฏหมายได้
7.การบังคับใช้กฎหมาย ควรจะพิจารณาดูความจำเป็น หรือเหตุสุดวิสัย สภาพรถยนต์ ด้วยการว่ากล่าวตักเตือน ก่อนจะจับ ปรับจริง
8.กฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้หลังจากการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 120 วัน คือ วันที่ 5 กันยายน 2565 ซึ่งยังมีระยะเวลาเพียงพอ ที่จะเตรียมความพร้อม ให้ข้อมูล ทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img