วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกHighlightสภาฯเถียงกันวุ่น สุดท้ายรวม“ก.ม.สมรส” 4 ฉบับพิจารณาร่วมกัน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สภาฯเถียงกันวุ่น สุดท้ายรวม“ก.ม.สมรส” 4 ฉบับพิจารณาร่วมกัน

วุ่นแต่เช้า!! สภาฯ เสียเวลาชั่วโมง เถียงกันวุ่น สุดท้ายรวม “กม.สมรสฯ” 4 ฉบับพิจารณาร่วมกัน

วันที่ 15 มิ.ย.65 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่….) พ.ศ…. หรือ ร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เสนอโดยนายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กับคณะ ซึ่งเป็นฉบับที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอรับไปพิจารณาก่อนรับหลักการ 2.ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ… ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เสนอ 3.ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ…. เสนอโดย ครม. และ4.ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ… ที่เสนอโดยนายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ปชป. และคณะ เสนอ

ทั้งนี้ก่อนเข้าสู่การพิจารณานายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) ขอให้นำร่างทั้งหมดที่ฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้เสนอมาพิจารณาพร้อมกัน เพราะมีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน แต่นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ไม่เห็นด้วย เพราะมีหลักการแตกต่างกัน และยังไม่มีมติจากที่ประชุมสภาฯให้พิจารณาร่วมกัน

จากนั้นนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยที่จะให้รวมพิจารณา เพราะขั้นตอนในการเสนอร่างกฎหมายประกบ ตนอยู่ในสภาฯ มาไม่เคยเห็น และตามข้อบังคับการประชุม ข้อที่ 64 ระบุชัดเจนว่า ญัตติใดที่ถึงวาระการพิจารณาในที่ประชุมแล้ว การเสนอญัตติที่มีหลักการเดียวกันจะกระทำไม่ได้ การที่ ครม. เสนอกฎหมายที่มีหลักการเดียวกันเข้ามาอีก 2 ฉบับ และส.ส.รัฐบาล อีก 1 ฉบับ แล้วประธานฯ รับรองญัตติและบรรจุเข้าระเบียบวาระ จึงถือเป็นการเริ่มต้นที่ผิด และหากมีการยื่นศาลรัฐธรรนูญ กฎหมายที่ประกาศใช้ก็ตกทั้งฉบับ ดังนั้นรัฐบาลอย่าดื้อดึงดัน เพราะจะทำให้เกิดความเสีย

ขณะที่วิปรัฐบาลยืนยันว่า สามารถนำมาพิจารณาพร้อมกันได้ แต่ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย โดยนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรค พท. ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ลุกขึ้นยืนยันว่า ฝ่ายค้านกังวลว่า เราจะร่วมกระทำผิดด้วยไม่ได้ และเราไม่ได้ดื้อดึง เราจะเป็นองค์ประชุมให้ ไม่วอล์กเอาท์ แต่จะงดโหวต ซึ่งจะเป็นหลักฐานว่าท่านจงใจขัดข้อบังคับ และรัฐธรรมนูญ เราไม่ได้ขู่

ทำให้นายชวนชี้แจงว่า ได้ให้ฝ่ายกฎหมายสภาฯ ดูเรื่องนี้ ว่าเคยใช้ในข้อบังคับที่ 64 เพราะตนไม่ต้องการอะไรที่ผ่านไปแล้วมีปัญหา ซึ่งในข้อบังคับ 64 นั้น ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าสามาถทำได้ และเคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2552 และ 2553 เรื่องการเสนอการใช้ที่ดินหวงห้ามที่ไม่ใช้ประโยชน์

อย่างไรก็ตามที่ประชุมยังคงถกเถียงกันไม่จบ กระทั่งนายชวน ได้ขอมติจากที่ประชุม ที่สุดเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยให้นำร่างกฎหมายทั้ง 4 ฉบับมาพิจารณารวมกัน ตามที่นายชินวรณ์เสนอและให้ลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแยกแต่ละฉบับ ทั้งนี้ ที่ประชุมใช้เวลาถกเถียงในส่วนนี้กว่า 1 ชั่วโมง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img