วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 9, 2024
หน้าแรกNEWSค่าแรง-ค่าไฟ-น้ำมันหนุนเงินเฟ้อพุ่งนิวไฮรอบ 24 เดือน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ค่าแรง-ค่าไฟ-น้ำมันหนุนเงินเฟ้อพุ่งนิวไฮรอบ 24 เดือน

พาณิชย์ เผยตัวเลขเงินเฟ้อปี 65 สูงขึ้น 6.08% ทุบสถิติรอบ 24 ปีนับตั้งแต่ปี 41 ผลพวงจากราคาพลังงาน- ค่าแรง- ค่าไฟฟ้าดีดปรับตัวสูงขึ้น ส่วนปี 66 คาดแตะ 2.5% เกาะติดจีนเปิดประเทศ

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 65 สูงขึ้น 6.08% หากเทียบกับ ปี 64 ซึ่งเป็นการสูงขึ้นสูงสุดในรอบ 24 ปี นับตั้งแต่ปี 2541 เงินเฟ้ออยู่ที่ 8.1%
สำหรับปัจจัยสำคัญมาจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน การปรับขึ้นค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มในประเทศ การปรับขึ้นค่าจ้าง อัตราดอกเบี้ย และเงินบาทที่อ่อนค่า นอกจากนี้ โรคระบาดในสุกร ปัญหาอุทกภัย อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น


ส่วนเงินเฟ้อ เดือนธ.ค. 65 อยู่ที่ 107.86 สูงขึ้น 5.89% หากเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน และอาหารที่สูงขึ้น ประกอบกับฐานราคาในเดือนธ.ค.64 ไม่สูงมากนัก และอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น


แต่หากเทียบกับเดือนพ.ย. 65 ที่ผ่านมาลดลง 0.06% เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และผลไม้สดที่ลดลง


อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อทั้งปี 65 ยังใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ อยู่ที่ระหว่าง 5.5-6.5% ค่ากลาง 6% โดยมีสมมุติฐานจีดีพี ขยายตัว 2.7-3.2% น้ำมันดิบดูไบ เฉลี่ยอยู่ที่ 90-110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 33.5-35.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ


ทั้งนี้หากเทียบกับอัตราเงินเฟ้อต่างประเทศ เงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับที่ดีกว่าหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 7.1% สหราชอาณาจักร 10.7% อิตาลี 11.8% และอินเดีย 5.88% สปป.ลาว 38.46% ฟิลิปปินส์ 8.0% และสิงคโปร์ 6.7%


สำหรับเงินเฟ้อในปี 66 สนค.คาดการณ์ว่า อยู่ที่ระหว่าง 3.0-2.0% ค่ากลาง 2.5% โดยมีสมมุติฐานจีดีพี ขยายตัว 3-4% น้ำมันดิบดูไบ เฉลี่ยอยู่ที่ 85-95 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 36-37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามคือการเปิดประเทศของจีน จะมีผลให้นักท่องเที่ยวจีนเขามาประเทศไทยมากขึ้น รวมไปถึงนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆด้วย ซึ่งมีการประเมินว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยประมาณ 25 ล้านคนทั้งปี ซึ่งจะมีผลต่อความต้องการบริโภคสินค้า ที่พัก ค่าบริการ ค่าขนส่ง ร้านอาหารภายในประเทศ และอาจจะส่งผลต่อเงินเฟ้อภายในประเทศได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img