วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 9, 2024
หน้าแรกHighlightเอกชนค้านขึ้นค่าไฟ ดันเงินเฟ้อ-ต้นทุนพุ่ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เอกชนค้านขึ้นค่าไฟ ดันเงินเฟ้อ-ต้นทุนพุ่ง

เอกชนออกโรงค้านขึ้นค่าไฟดันเงินเฟ้อ-ต้นทุนสินค้าพุ่ง ขู่นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการผลิตซบเพื่อนบ้าน ขณะที่เวียดนามมีแต้มต่อไปในการทำเอฟทีเอ

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือนมกราคม-เมษายน 2566 โดยตรึงบ้านอยู่อาศัยไว้ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย สำหรับผู้ใช้ไฟไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือนส ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ จะปรับขึ้นที่อัตรา 5.69 บาทต่อหน่วยว่า

การขึ้นค่าไฟฟ้า ลดขีดความสาารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยกับต่างประเทศ และภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น เนื่องจากเมื่อต้นทุนการผลิตทุกอย่างเพิ่ม ราคาสินค้าก็ต้องขึ้นตาม ส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชน

นอกจากนี้ทำให้ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติของไทยนั้น ถ้าเทียบกับหลายประเทศต่างมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แต่เมื่อดูเรื่องค่าไฟที่เป็นต้นทุนสำคัญก็จะทำให้ต่างชาติสะดุด เพราะค่าไฟไทยไม่ได้แพงขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับประเทศเวียดนามที่เป็นคู่แข่งสำคัญ ปัจจุบันเวียดนามมีค่าไฟอยู่ที่ 2.88 บาทต่อหน่วย ขณะที่ไทยอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย ก็ทำให้นักลงทุนคิดหนักแล้ว แต่ไทยยังแจกของขวัญปีใหม่ปรับค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 1 บาท หรืออยู่ที่ 5.69 บาทต่อหน่วย เพราะฉะนั้น นักลงทุนต่างชาติที่กำลังจะพิจารณาย้ายฐานผลิตก็อาจไม่พิจารณามาตั้งฐานที่ไทย

นอกจากนี้มีหลายอุตสาหกรรมที่กำลังเตรียมเข้ามาลงทุน ล้วนเป็นกลุ่มใช้ไฟฟ้าเป็นหลักในการผลิต ก็น่าจะตัดสินใจได้ทันทีว่าจะย้ายฐานไปยังประเทศอื่นๆ ที่ราคาพลังงานถูกกว่า เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น ทั้งนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-มิถุนายน) ในกลุ่มประเทศอาเซียน อันดับ 1 คือสิงคโปร์ มีเม็ดเงินลงทุน 8,181 ล้านเหรียญสหรัฐ

มาเลเซีย 4,195 ล้านเหรียญสหรัฐ เวียดนาม 3,658 ล้านเหรียญสหรัฐ อินโดนีเซีย 1,540 ล้านเหรียญสหรัฐ ฟิลิปปินส์ 1,256 ล้านเหรียญสหรัฐ และไทย 1,079 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าไทยอยู่ระดับปลายแถวของอาเซียน มีเพียง 2 ชาติที่รองไทยคือ กัมพูชา 474 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมียนมา 34.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับตัวเลขการลงทุนดังกล่าวเป็นช่วงที่ไทยจัดเก็บค่าไฟฟ้าที่ 4.72 บาท ต่อหน่วย หากไทยปรับค่าไฟฟ้าขึ้นอีกในเดือนมกราคม 2566 ก็น่าจะเห็นตัวเลขการลงทุนน้อยลงกว่านี้ ยิ่งมีสัญญาณจะปรับขึ้นค่าไฟฟ้าต่อเนื่อง ความสามารถในการแข่งขัน เม็ดเงินลงทุน และภาวะเงินเฟ้อไทย จะมีปัญหาทวีขึ้นมากขนาดไหน ส.อ.ท.ก็พยายามจะบอกมาตลอด ทุกประเทศทั่วโลกกำลังต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ พยายามกดเงินเฟ้อลง แต่ไทยกลับเพิ่มค่าไฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูง เงินเฟ้ออยู่แล้วก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าไร

อย่างไรก็ตาม ด้านขีดความสามารถทางการแข่งขัน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเวียดนามที่เป็นคู่แข่งสำคัญ ปัจจุบันเวียดนามมีสิทธิพิเศษทางการค้าตามข้อตกลงความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับ 36 ประเทศ ทำให้มีแต้มต่อมากกว่าไทย ด้านค่าแรงก็ราคาถูกกว่าไทย และค่าครองชีพก็ต่ำกว่าไทย ยิ่งไปกว่านั้นค่าไฟของเวียดนามก็ต่ำกว่าไทยมาก

ส่วนสิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ ในปี 2566 เวียดนามมีนโยบายที่จะยืนราคาค่าไฟที่ 2.88 บาทต่อหน่วย ให้กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมแข่งขันได้สูงขึ้น ส่งออกได้ดี แต่จะปรับค่าไฟของครัวเรือนขึ้น 3-4% แทน เพื่อส่งสัญญาณถึงครัวเรือนให้ความร่วมมือในการประหยัดพลังงาน แต่ไทยกลับมีนโยบายกลับกัน ให้ภาคอุตสาหกรรมแบกรับภาระค่าไฟฟ้าของครัวเรือน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img