วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlight“OR” ปัดเกี่ยวข้อง“รัฐประหารเมียนมา” ส่งสัญญาณชะลอการลงทุนคลังน้ำมัน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“OR” ปัดเกี่ยวข้อง“รัฐประหารเมียนมา” ส่งสัญญาณชะลอการลงทุนคลังน้ำมัน

“ดิษทัต-CEO OR” ออกโรงยัน บริษัทฯร่วมทุน “BE” ในเมียนมา ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนความรุนแรงและละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ส่งสัญญาณในฐานะถือหุ้นข้างน้อย หยุดลงทุน “คลังน้ำมัน” ในเมียนมา และไม่ชำระเงินเพิ่มเติมแล้ว

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข่าวระบุว่า มีกองทุนได้ประกาศถอนการลงทุนในบริษัท OR เนื่องจากการลงทุนในเมียนมาของบริษัทฯ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในเมียนมา บริษัทฯขอชี้แจงว่า OR เข้าร่วมลงทุนในบริษัทร่วมทุน Brighter Energy (BE) ในปี 2562 โดยถือหุ้นในสัดส่วน 35% เพื่อประกอบธุรกิจค้าส่งและคลังเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โดยอยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างคลังเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เพื่อดำเนินกิจการในเมียนมา โดยการลงทุนดังกล่าวมุ่งสร้างและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนชาวเมียนมา

ขณะที่ระหว่างปี 2564 ได้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงและความไม่สงบในเมียนมา รวมทั้งมีมาตรการคว่ำบาตร (Sanctions) จากหลายประเทศ OR ได้แสดงเจตนารมณ์ในฐานะผู้ถือหุ้นข้างน้อย ให้ BE หยุดการดำเนินการก่อสร้างคลัง โดย OR จะไม่ชำระเงินทุนเพิ่มเติม และ BE จะต้องไม่ชำระเงินให้แก่บุคคลใดๆ ที่อยู่ใน Sanctions list โดยเด็ดขาด

ทั้งนี้ OR ได้ยึดถือและดำเนินการตามแนวทางและนโยบายอย่างเคร่งครัด ที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากการดำเนินกิจการของ BE ในเมียนมา อย่างไรก็ตาม OR ได้ยึดมั่นในการปฏิบัติตามแนวนโยบายการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล โดยปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด รวมถึงปฏิบัติตามหลักการเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักสากล

ดิษทัต ปันยารชุน

ทั้งนี้ สอดคล้องกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ที่ระบุว่า การดำเนินธุรกิจของ ปตท. ทั้งในส่วนที่ ปตท. ดำเนินการเอง และลงทุนผ่านบริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติการกำกับดูแล โดยมีการบูรณาการหลักสิทธิมนุษยชน ครอบคลุมสายโซ่อุปทานของบริษัท ตั้งแต่การตรวจสอบอย่างรอบด้าน การบริหารจัดการ ตลอดจนส่งเสริม ปกป้อง และให้ความเคารพด้านสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากลอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล ทั้งนี้ในการพิจารณาการลงทุนของ ปตท. นั้น ได้ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่มีการบังคับใช้

อีกทั้งยังมีการตรวจสอบและวิเคราะห์สถานะของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ปตท. ยึดถือการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐาน และมีความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมา ภายหลังการรัฐประหารปี 2564 โดยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาวิกฤตอย่างสันติและเข้มงวดในการปฏิบัติตามกฎหมาย แนวปฏิบัติสากลในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ

รวมถึงการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับปรุงกระบวนในการตัดสินใจและการบริหารจัดการ เพื่อให้แน่ใจว่าการลงทุนดังกล่าวเป็นการส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งพลังงานได้อย่างเท่าเทียม ปตท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์ในเมียนมาจะคลี่คลาย และกลับคืนสู่สภาวะปกติในเร็ววัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img