วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlight"สุริยะ"เดินหน้าเมกะโปรเจกต์ 2.81 แสนล้านบาท
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สุริยะ”เดินหน้าเมกะโปรเจกต์ 2.81 แสนล้านบาท

“สุริยะ”กางแผนการลงทุนเมกะโปรเจกต์ในปี 67 ปรับงบประมาณเพิ่มเป็น 2.81 แสนล้าน จากเดิม 2.44 แสนล้านบาท ดันเศรษฐกิจในประเทศฟื้น

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ได้ปรับกรอบงบประมาณฯ เพิ่มขึ้นเป็น 281,773 ล้านบาท จากเดิมอยู่ที่ 244,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.)

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า การของบประมาณลงทุนในปี 67 จำนวน 11 หน่วยงาน พบว่ากรมทางหลวง เสนอขอวงเงินสูงถึง 199,087 ล้านบาท มากกว่าปีงบประมาณ 66 ที่ผ่านมา 40,000 ล้านบาท รองลงมาคือ กรมทางหลวงชนบท วงเงิน 36,807 ล้านบาท

สำหรับที่เตรียมลงทุนมีทั้งหมด 18 โครงการ ซึ่งมีทั้งโครงการใหม่และงบผูกพันประกอบด้วย

1.โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา วงเงิน 76,580 ล้านบาท ซึ่งของบผูกพันก่อสร้าง และจากการปรับแบบ

2.โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 56,178 ล้านบาท ซึ่งมีส่วนงานติดตั้งระบบด่านเก็บเงิน

3.โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย วงเงิน 2,851 ล้านบาท

4.โครงการศูนย์ขนส่งชายแดน จ.นครพนม วงเงิน 1,361 ล้านบาท

5.โครงการรถไฟทางคู่ สายหาดใหญ่-ปาดังเปซาร์ วงเงิน 6,660 ล้านบาท

6.โครงการรถไฟทางคู่ สายขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 29,748 ล้านบาท

7.โครงการรถไฟทางคู่สายชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,500 ล้านบาท

8.โครงการรถไฟทางคู่ สายปากน้ำโพ-เด่นชัย วงเงิน 62,800 ล้านบาท

9.โครงการทางพิเศษสายกระทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต วงเงิน 14,670 ล้านบาท

10.โครงการทางหลวงพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย ช่วงจตุโชติ-ลำลูกกาวงเงิน 33,400 ล้านบาท

11.โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 66,848 ล้านบาท

12.โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 72,921 ล้านบาท

13.โครงการระบบรถไฟชานเมืองส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,670 ล้านบาท

14.โครงการระบบรถไฟชานเมืองส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 4,616 ล้านบาท

15.โครงการระบบรถไฟชานเมืองส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,468 ล้านบาท

16.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์- มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร(กม.) วงเงินประมาณ 140,000 ล้านบาท

17.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม. วงเงินประมาณ 49,000 ล้านบาท

18.โครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทางประมาณ 42 กม. วงเงินประมาณ 33,000 ล้านบาท ฯลฯ

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 67 ได้ยื่นคำของบประมาณ จำนวน 338,418 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าในปีงบประมาณ 2566 ประมาณ 40,000 ล้านบาท หรือปีงบฯ 2566 ขออยู่ที่ 298,418 ล้านบาท

สำหรับโครงการที่เตรียมเสนอ ครม. พิจารณาเห็นชอบ 3 โครงการ ระยะทางรวม 59.77 กิโลเมตร (กม.) วงเงินรวม 91,901 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.โครงการมอเตอร์เวย์ M9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กม. วงเงิน 56,035 ล้านบาท

2.โครงการมอเตอร์เวย์ M5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน 22 กม. วงเงิน 31,358 ล้านบาท โดยทั้ง 2 โครงการนี้จะเสนอกระทรวงคมนาคมภายในสัปดาห์นี้เพื่อเตรียมเสนอ ครม. พิจารณาเห็นชอบภายในปี 66
3.โครงการมอเตอร์เวย์ M7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 1.92 กม. วงเงินลงทุน 4,508 ล้านบาท ขณะนี้เรื่องเงินกู้ได้บรรจุในแผนเงินกู้แล้ว

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท  กล่าวว่า ได้เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณปี 67 จำนวน 91,910 ล้านบาท จากปีงบฯปี 66 วงเงิน 47,108 ล้านบาท สิ้นปีงบประมาณ (30 ก.ย.66) เบิกจ่ายไปแล้ว 42,606 ล้านบาท คิดเป็น 90.44%

ทั้งนี้แบ่งเป็นโครงการขนาดเล็ก ที่มีมูลค่าโครงการรวม 30,000 ล้านบาท ประมาณกว่า 1,000 โครงการ และมีโครงการขนาดใหญ่ วงเงินรวม 2,312 ล้านบาท จำนวน 14 โครงการ เช่น โครงการถนนเลียบแม่น้ำโขงนาคาวิถี ช่วงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2-พระธาตุพนม อ.เมือง-ธาตุพนม จ.มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 123 ล้านบาท เป็นต้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กล่าวว่า โครงการเร่งด่วนมี 3 โครงการ วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์- มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กม. 140,000 ล้านบาท ได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว รอเสนอครม.เห็นชอบเพื่อลงนามสัญญา แต่ปัจจุบันยังมีคดีพิพาทเกี่ยวกับการคัดเลือกโครงการดังกล่าวระหว่าง รฟม. และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ต้องรอศาลปกครองสูงสุดพิจารณา

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลระยะทาง 22.1 กม. วงเงิน 4.9 หมื่นล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ก่อนเสนอครม อนุมัติโครงการฯ ต่อไป ขณะที่การลงทุนจังหวัดหัวเมืองท่องเที่ยวใหญ่ ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. วงเงิน 3.3 หมื่นล้านบาท

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img