วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2024
หน้าแรกHighlightไร้ข้อสรุปพื้นที่ทับซ้อนสัญญา 4-1 ช่วง“บางซื่อ-ดอนเมือง”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ไร้ข้อสรุปพื้นที่ทับซ้อนสัญญา 4-1 ช่วง“บางซื่อ-ดอนเมือง”

รฟท.เผยพื้นที่ทับซ้อนงานก่อสร้างรถไฟไทย-จีนกับรถไฟเชื่อม 3 สนามบินช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองยังไร้ข้อสรุป กลุ่มซีพีกังวลแหล่งเงินทุนต้องการขอรับเงินอุดหนุนเร็วขึ้น หากจ่ายค่าก่อสร้างไปก่อนอาจทำให้มีปัญหาด้านการเงิน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองว่า รฟท.กำลังหารือร่วมกับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี เกี่ยวกับสัญญาดังกล่าว เนื่องจากมีพื้นที่ทับซ้อนร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) คาดว่าจะดำเนินการเจรจาให้ได้ข้อสรุปภายในปีนี้ ทั้งนี้ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ กพอ. ระบุว่าหากเจรจาร่วมกันไม่ได้จะให้รฟท.เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างทางร่วมแทน 

สำหรับผลการเจรจายังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากเอกชนยังมีข้อกังวลในเรื่องแหล่งเงินทุน ซึ่งจากการเจรจาในช่วงที่ผ่านมารัฐไม่ได้เป็นผู้ออกค่าก่อสร้างทางร่วม แต่ให้ทางเอกชนเป็นผู้รับภาระแทนรัฐ ดังนั้นเอกชนต้องการขอรับเงินอุดหนุนเร็วขึ้น หากให้ดำเนินการจ่ายค่าก่อสร้างไปก่อนอาจจะทำให้มีปัญหาทางด้านการเงิน ทำให้การเจรจาในเรื่องนี้ยังไม่สามารถตกลงร่วมกันได้

ส่วนกรณีที่มีหลายฝ่ายกังวลว่า จังหวัดรพระนครศรีอยุธยากำลังจะถูกยูเนสโกถอดออกจากการเป็นเมืองมรดกโลก เพราะรถไฟความเร็วสูงวิ่งผ่ากลางเมืองนั้น ขณะนี้สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. ซึ่งเป็นช่วงที่ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น ได้ผ่านขั้นตอนทางกฎหมายทั้งหมดแล้ว โดยเฉพาะรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.)

นอกจากนี้รถไฟไฮสปีดไม่ได้วิ่งผ่ากลางเมือง อยู่ห่างจากพื้นที่มรดกโลกค่อนข้างมาก อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมานั้นเป็นเรื่องความสูงของสถานีอยุธยา ไม่ได้เกี่ยวกับการวิ่งผ่ากลางเมือง ทาง รฟท. ได้ดำเนินการปรับแบบแล้วเสร็จ ในส่วนของการก่อสร้างสัญญาที่ 4-5 นั้น รฟท. เตรียมรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก่อนลงนามสัญญากับผู้รับจ้างต่อไป ขณะนี้สำนักงานอัยการสูงสุดได้ส่งร่างสัญญาฯ กลับมายัง รฟท.แล้ว โดยรฟท.จะหารือประเด็นการสร้างสถานีอยุธยากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ของไทยมี 4 เส้นทาง ได้เริ่มดำเนินการสายแรก คือ โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท โดยรัฐบาลไทย และจีนมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ ( MOU) เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.57 ส่วนสายที่ 2 คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงินลงทุนสูงถึง 224,544 ล้านบาท เซ็นสัญญาร่วมทุนฯ เอกชนเมื่อวันที่ 24 ต.ค.64 ถึงวันนี้ยังไม่ได้เริ่มงานก่อสร้าง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img