วันอังคาร, พฤษภาคม 7, 2024
หน้าแรกNEWS“พาณิชย์”กดปุ่มไฟเขียว“ผู้ค้าปุ๋ย” ยื่นปรับราคาป้องกันขาดตลาด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“พาณิชย์”กดปุ่มไฟเขียว“ผู้ค้าปุ๋ย” ยื่นปรับราคาป้องกันขาดตลาด

“พาณิชย์” เปิดไฟเขียว “ผู้ค้าปุ๋ย” ยื่นขอปรับราคา ย้ำพิจารณาตามต้นทุนที่แท้จริงป้องกันปุ๋ยขาดตลาด คาดพ.ค.-ส.ค.ความต้องการใช้ปุ๋ย 2.5 ล้านตัน

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับ 3 สมาคมผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและนำเข้าปุ๋ยเคมี ประกอบด้วย สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย และสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร ว่า การประชุมวันนี้เพื่อประเมินปริมาณปุ๋ยเคมีและหาแนวทางเตรียมความพร้อมสำหรับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่เดือนพฤษภาคม โดยปริมาณปุ๋ยที่มีอยู่ในขณะนี้เอกชนยืนยันว่ามีเพียงพอต่อการผลิตใน 2-3 เดือนนี้ และจะมีการสั่งนำเข้าเพิ่มเติมเป็นระยะเพื่อเตรียมไว้ให้เพียงพอ

ทั้งนี้ผู้ผลิตระบุด้วยว่า การนำเข้าปุ๋ยขณะนี้มีอุปสรรคจากสงครามยูเครนและรัสเซียทำให้ต้องหาปุ๋ยจากแหล่งใหม่ทดแทนขณะเดียวกันต้นทุนก็สูงขึ้นด้วยเพราะหลายประเทศมีการสำรองปุ๋ยไว้ในประเทศเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ขณะที่อินเดียเตรียมเปิดประมูลซื้อปุ๋ยยิ่งเป็นปัจจัยกดดันราคาปุ๋ยสูงให้สูงขึ้นในตลาดโลก

ทั้งนี้กรมการค้าภายในจะพิจารณาการปรับราคาปุ๋ยเพื่อให้สะท้อนต้นทุนและป้องกันปุ๋ยขาดแคลนซึ่งเอกชนสามารถยื่นขอปรับราคาได้ โดยกรมการค้าภายในจะพิจารณาจาก 3 ปัจจัย คือเกษตรกรไม่แบกรับภาระเกินไป ผู้ประกอบการสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้และต้นทุนที่เกิดขึ้นไม่กระทบต่อประชาชน หากพบว่ามีผู้แทนจำหน่ายรายใดฉวยโอกาสปรับราคาปุ๋ยสมาคมจะตัดจากการเป็นผู้แทนจำหน่าย

ด้านนายเทพวิทย์ เตียวสุรัตน์กุล อุปนายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ระบุว่า สถานการณ์ราคาปุ๋ยปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยราคาปุ๋ยยูเรียราคาจากตะวันออกกลางราคาเอฟโอบีไม่รวมค่าเรืออยู่ที่ตันละ 960-1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ปุ๋ย 18-46-0 ที่นำมาผลิตวัตถุดิบแม่ปุ๋ย NPK ตันละ 1,100-1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันและสูตร 0-0-60 โปแตสอยู่ที่ 950-1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งการอนุญาติให้ปรับราคาตามต้นทุนทำให้เอกชนมีความมั่นใจในการนำเข้ามากขึ้นและเชื่อว่าปุ๋ยจะไม่ขาดตลาด

ทั้งนี้ประเมินว่าในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก 4 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคมความต้องการใช้ปุ๋ยจะอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน จากปริมาณการนำเข้าปีละ 5 ล้านตัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img