วันพุธ, พฤษภาคม 1, 2024
หน้าแรกHighlightหวั่นลูกหนี้“กลุ่มเปราะบาง” เสี่ยงตกหน้าผา“เอ็นพีแอล”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

หวั่นลูกหนี้“กลุ่มเปราะบาง” เสี่ยงตกหน้าผา“เอ็นพีแอล”

ประธานสมาคมธนาคารไทยเผย พอร์ตลูกหนี้ 1.8 ล้านราย มูลค่ากว่า  2 ล้านล้าน เสี่ยงสูงตกหน้าผาเอ็นแอล หลังเจอผลกระทบ โควิดหลายระลอก แนะแบงก์ช่วยประคองลูกหนี้ ผ่านมาตรการยาวขึ้น แจงมีหนี้ที่ต้อง เฝ้าระวังมีกว่า 10% ชี้ ธปท.ขึ้นดอกเบี้ยกระทบลูกหนี้เปราะบางเพิ่ม


นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า พอร์ตลูกหนี้ ที่อยู่ตรงหน้าผาเอ็นพีแอล หรือ NPL Cliff ที่อยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปัจจุบันที่มีอยู่กว่า 1.8 ล้านราย หรือคิดเป็นมูลค่าหนี้กว่า 2 ล้านล้านบาท วันนี้ต้องยอมรับว่ามีทั้งที่แย่ลง และปรับตัว ดีขึ้น ภายใต้พายุที่เข้ามาหลายระลอก
ดังนั้นการช่วยเหลือลูกหนี้ของระบบธนาคารพาณิชย์ อาจต้องประคองการช่วยเหลือ ให้ยาวนานขึ้นไปอีก เนื่องจากภายใต้หน้าผาเอ็นพีแอล 2 ล้านล้านบาท วัน ถือว่ายังมีความเสี่ยง และความเปราะบางอยู่ เพราะหากดู ข้อมูล คุณภาพหนี้ของระบบธนาคารพาณิชย์ ในไตรมาสที่ผ่านมา ในกลุ่มสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Non Performing Loan: NPL หรือ stage 3) ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 2.93% 

โดยสัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (Significant Increase in Credit Risk: SICR หรือ stage 2) ที่ระดับ 6.09% ซึ่งตัวเลขทั้งสองกลุ่มตัวยังอยู่ระดับสูง รวมกันราว 10% ดังนั้นตัวเลขเหล่านี้ก็ต้องเฝ้าระวัง

ทั้งนี้หากดูภาพหนี้เสียของระบบธนาคาร โดยรวมยังคงไหลต่อ ดังนั้นก็ต้องเร่งประคอง เพราะจะมีลูกหนี้บางส่วนที่จะกลับมาได้ แต่ก็มีลูกหนี้บางส่วนที่อาจต้อง ยืดความช่วยเหลือออกไปอีก  โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือถึงประเด็นดังกล่าวกับสมาชิกในสมาคมธนาคารไทย เนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ที่อาจกดดันต่อผู้บริโภค ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ภาคธนาคารต้องเข้าไปช่วยประคองลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง


อย่างไรก็ตาม ระบบธนาคารยังแข็งแกร่ง แต่ยังต้องประคองลูกหนี้ให้ดี เพราะเมื่อไหร่ที่เกิดสถานการณ์จากเศรษฐกิจโลกเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดอกเบี้ยมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้นจำเป็นที่ต้องเฝ้าระวัง และเชื่อว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะดำเนินนโยบายการเงินอย่างซอฟท์แลนดิ้ง แต่ในกระบวนการ ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนผ่านการดำเนินนโยบายการเงินเหล่านี้ จะเกิดการสะเทือนกับผู้ประกอบการ และภาคธนาคารพอสมควร

สำหรับกรณีมีข้อเรียกร้องให้แบงก์ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยทันที หากธปท.มีการขึ้นดอกเบี้ยนั้น มองว่าต้องดูกลไกตลาด การไปฝืนกลไกตลาดก็จะมีความบอบช้ำจากกลไกตลาดพอสมควร ดังนั้นต้องไปดูว่าจะทำอย่างไร ไม่ให้เกิดความบอบช้ำในระบบ  ซึ่งเชื่อว่า ธปท.รับทราบประเด็นนี้อยู่ ส่วนการผ่อนปรนยาแรงที่ธปท.เคยใช้ เช่นการลดเงินนำส่งเข้ากองทุนฟื้นฟู (FIDF) ให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ เหล่านี้ก็ถือเป็นต้นทุนพื้นฐานของระบบอยู่แล้ว

ส่วนมาตรการการช่วยเหลือลูกหนี้ จากข้อมูลของธปท.ล่าสุด ณ 11 ก.ค. พบว่า การแก้หนี้เดิม ผ่านการให้ความช่วยเหลือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีจำนวนบัญชี ที่ได้รับความช่วยเหลือ 3.87 ล้านบัญชี ซึ่งเป็นลูกหนี้ของแบงก์รัฐ 2.26 ล้านบัญชี และนอนแบงก์ กับธนาคารพาณิชย์ที่ 1.61 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดภาระหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 2.82 ล้านล้านบาท มาจากแบงก์พาณิชย์และนอนแบงก์ 1.86 ล้านล้านบาท และแบงก์รัฐ 9.6 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การให้สินเชื่อใหม่ ผ่านสินเชื่อฟื้นฟู และโครงการ Soft loan พบว่า มีจำนวนผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือมีทั้งสิ้น 132,096 ราย คิดเป็นยอดอนุมัติสินเชื่อที่ 320,394 ล้านบาท ซึ่งหากแยกรายมาตรการ พบว่า พักทรัพย์พักหนี้ มียอดเข้าโครงการทั้งสิ้น 360 ราย รวม 49,603 ล้านบาท

ขณะที่สินเชื่อฟื้นฟู มีคนเข้าโครงการทั้งสิ้น 54,309 ราย รวมเป็นเงิน 182,194 ล้านบาท ส่วนการช่วยเหลือผ่านมาตรการคลินิกแก้หนี้ ปัจจุบันมีบัญชีที่เข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้โครงการแล้ว 84,698 บัญชี ลูกหนี้25ล้านบัญชีมีปัญหา

ทั้งนี้หากดูข้อมูลลูกหนี้บนระบบข้อมูลของเครดิตบูโร ทั้งข้อมูลจากระบบธนาคารพาณิชย์ และนอนแบงก์ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบของธปท. พบว่า มีทั้งหมด 79.24 ล้านบัญชีโดยมีหนี้ที่ต้องเฝ้าระวังถึง 25 ล้านบัญชี ทั้งกลุ่มที่ค้างชำระตั้งแต่ 31-90 วัน พบว่า มีทั้งสิ้น 1.7 ล้านบัญชี มากที่สุด คือสินเชื่อบัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล 8.18 แสนบัญชี ถัดมาคือ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 3.84 แสนบัญชี และสินเชื่อรถจักรยานยนต์ เครื่องจักร 2.97 แสนบัญชี สินเชื่อบัตรเครดิตที่ 1.63 แสนบัญชี สินเชื่อบ้าน 7.1 หมื่นบัญชี

ขณะที่กลุ่มลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียแมีทั้งสิ้น กว่า 8 ล้านบัญชี มากที่สุดคือ สินเชื่อบัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคล มี 3.95 ล้านบัญชี ถัดมาคือ สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ เครื่องจักร 2.2 ล้านบัญชี  และบัตรเครดิต 1 ล้านบัญชี สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 6.28 แสนบัญชี ที่อยู่อาศัย 1.42 แสนบัญชี รวมไปถึงลูกหนี้ที่อาจตกชั้นจากลูกหนี้กลุ่มปกติที่มีความเสี่ยงอีกราว 15 ล้านบัญชี

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img