วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2024
หน้าแรกHighlight“ค่าไฟพุ่ง” สินค้าจ่อขยับราคาสิ้นปี 10%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ค่าไฟพุ่ง” สินค้าจ่อขยับราคาสิ้นปี 10%

เอกชนโอดต้นทุนค่าไฟพุ่ง 10-30% หลังรัฐไฟเขียวขึ้นค่าเอฟที จ่อปรับขึ้นราคาสินค้าปลายปีนี้  แนะรัฐทบทวนค่าไฟใหม่สร้างความเป็นธรรมทุกฝ่าย

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 20 ในเดือนสิงหาคม 2565 ภายใต้หัวข้อ “วิกฤตค่าไฟฟ้าแพง กระทบอุตสาหกรรมแค่ไหน” พบว่า จากมติสำนักคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ที่ได้เห็นชอบแนวทางการปรับขึ้นอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) งวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 มาอยู่ที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 68.66 สตางค์ต่อหน่วย จากค่า Ft งวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 ที่เก็บอยู่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลทำให้ค่าไฟฟ้าโดยรวมปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.72 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นกว่า 18% จากค่าไฟฟ้างวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 ที่เก็บอยู่ 4 บาทต่อหน่วย นั้น

จากผลสำรวจ FTI Poll พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มีความกังวลว่าการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงเกินไปในครั้งเดียว จะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนและต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในส่วนของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะถูกส่งต่อไปที่ราคาสินค้าและวัตถุดิบตามต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน เมื่อเทียบกับประเทศเวียดนามที่ดำเนินนโยบายในการคงอัตราค่าไฟฟ้าที่ 2.8 บาทต่อหน่วย ตลอดปี 2565 

โดยผลสำรวจพบว่า ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะมีต้นทุนจากค่าไฟฟ้า คิดเป็น 10-30% จากต้นทุนการผลิตทั้งหมด ดังนั้น การขึ้นค่าไฟฟ้าในงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 ในอัตราที่สูงทันที จะทำให้ผู้ประกอบการต้องมีความจำเป็นจะต้องปรับราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 10% ภายในปลายปีนี้

ในส่วนของมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มองว่า ภาครัฐควรพิจารณาทยอยปรับขึ้นค่า Ft โดยให้ค่าไฟฟ้ารวมเพิ่มขึ้นไม่เกิน 5% ต่องวด (งวดละ 4 เดือน) ควบคู่ไปกับการออกมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการ SMEs เช่น การลดค่าไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากค่าไฟฟ้าที่คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปจนถึงปี 2566 จากแนวโน้มราคาเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้าที่อยู่ในระดับสูง ภาระที่ กฟผ. ได้แบกรับต้นทุนค่าเชื้อเพลิง ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564-เมษายน 2565 กว่า 83,010 ล้านบาท ซึ่งจะต้องทยอยส่งต่อต้นทุนดังกล่าวมายังผู้ใช้ไฟฟ้า รวมทั้ง แนวโน้มค่าเงินบาทที่ยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง  

การแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพงในระยะยาว ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ เสนอให้ภาครัฐควรมีการทบทวนโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ให้เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย มีการส่งเสริมและปรับลดขั้นตอนให้เอกชนสามารถลงทุนโรงไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรี รวมถึงมีการปรับลดขั้นตอนในการขออนุมัติอนุญาตใช้อุปกรณ์พลังงานหมุนเวียนในภาคธุรกิจและเอกชนให้สะดวกรวดเร็วและต้นทุนต่ำ 

ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาพลังงานได้ในระยะยาวและยังช่วยแบ่งเบาภาระจากภาครัฐในการบริหารจัดการด้านพลังงาน ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมเอง ผู้บริหาร ส.อ.ท. แนะนำว่า ควรเตรียมความพร้อมรับมือกับภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าที่จะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงนี้ เช่น ลงทุนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนใช้ภายในโรงงาน เช่น ติดตั้ง Solar Rooftop, มีปรับแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุนพลังงาน รวมทั้ง นำระบบการบริหารจัดการพลังงาน (EMS) มาใช้ และปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ

จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 215 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 20 จำนวน 6 คำถาม ดังนี้

1.  ต้นทุนค่าไฟฟ้าของอุตสาหกรรมคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นของต้นทุนการผลิตทั้งหมด

     อันดับที่ 1 : 10-30% 54.9%

     อันดับที่ 2 : น้อยกว่า 10% 27.4%

     อันดับที่ 3 : 30-50% 13.0%

     อันดับที่ 4 : มากกว่า 50%   4.7%

2.  การปรับอัตราค่าไฟฟ้าฝันแปรอัตโนมัติ (Ft) จะส่งผลกระทบต่อราคาขายสินค้าและบริการอย่างไร

     อันดับที่ 1 : ปรับราคาสินค้าและบริการขึ้น ไม่เกิน 10% 44.2%

     อันดับที่ 2 : ราคาสินค้าและบริการคงที่  27.4%

     อันดับที่ 3 : ปรับราคาสินค้าและบริการขึ้น ไม่เกิน 20% 22.3%

     อันดับที่ 4 : ปรับราคาสินค้าและบริการขึ้น ไม่เกิน 30%  6.1%

3.  ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อการปรับอัตราค่าไฟฟ้าฝันแปรอัตโนมัติ (Ft) ในเรื่องใด 

     อันดับที่ 1 : ราคาสินค้าและวัตถุดิบที่ต้องปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนค่าไฟฟ้า   76.7%

    อันดับที่ 2 : ความสามารถในการแข่งขันลดลง จากต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้น  61.4%    เมื่อเทียบกับเวียดนามที่คงค่าไฟฟ้าที่ 2.8 บาทตลอดปี 2565    

     อันดับที่ 3 : กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และกำลังซื้อที่หดตัว 55.8%

     อันดับที่ 4 : เร่งอัตราเงินเฟ้อให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น   49.8%

4.  ภาครัฐควรดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอย่างไร

     อันดับที่ 1 : ทยอยปรับขึ้นค่า Ft โดยให้ค่าไฟฟ้ารวมเพิ่มขึ้นไม่เกิน 5 % ต่องวด 68.8%    (งวดละ 4 เดือน) 

     อันดับที่ 2 : ลดค่าไฟฟ้าให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการ SMEs 52.1%

     อันดับที่ 3 : เปิดให้สามารถซื้อขายไฟฟ้าระหว่างเอกชนผ่านสายส่งของการไฟฟ้า 50.2%

     อันดับที่ 4 : ปรับลดอัตราการคิดค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้ (TOU)  47.0%   หรือปรับลดช่วงเวลา On Peak 

5.  ภาครัฐควรดำเนินการเพื่อป้องกันวิกฤตค่าไฟฟ้าแพงในระยะยาวอย่างไร

     อันดับที่ 1 : ทบทวนโครงสร้างค่าไฟฟ้าให้เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย  66.5%

     อันดับที่ 2 : ส่งเสริมและปรับลดขั้นตอนให้เอกชนสามารถลงทุนโรงไฟฟ้า 60.9%  เพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรี

     อันดับที่ 3 : ปรับลดขั้นตอนในการขออนุญาติใช้อุปกรณ์พลังงานหมุนเวียน 58.1% ในภาคธุรกิจและเอกชน 

     อันดับที่ 4 : ปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP)  53.0% โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานหมุนเวียน

6.  ภาคอุตสาหกรรมควรปรับตัวรับมือกับค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างไร

     อันดับที่ 1 : การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนใช้ภายในโรงงาน 86.0% เช่น ติดตั้ง Solar Rooftop

     อันดับที่ 2 : ปรับแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุนพลังงาน  63.7%

     อันดับที่ 3 : นำระบบการบริหารจัดการพลังงาน (EMS) มาใช้  58.1%   และปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 

     อันดับที่ 4 : ออกแบบและปรับปรุงอาคาร/โรงงานเพื่อการประหยัดพลังงาน 43.7% 

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img