วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlight“พม.”พบคนไร้บ้าน 19% ป่วยจิตเวช
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“พม.”พบคนไร้บ้าน 19% ป่วยจิตเวช

“พม.” เผยพบคนไร้บ้าน 19% ป่วยจิตเวช ส่วนสถานสงเคราะห์พบมากถึง 80% 5 หน่วยงาน MOU ร่วมกันค้นหาเข้าบำบัด ดึงชุมชนร่วมดูแล

นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต พร้อมด้วย น.ส.สุชาดา หมื่นกล้า รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ นายพิสิฐ พูลพิพัฒน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และนายสิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา ลงนามความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง ระหว่างกรมสุขภาพจิต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) สสส. และมูลนิธิกระจกเงา เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลคนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน และผู้รับบริการในสถานพยาบาล และข้อมูลคนหาย ผู้ป่วยข้างถนน เพื่อติดตามสืบค้นประวัติ ครอบครัว และภูมิลำเนาเดิม ต่อยอดสู่การบูรณาการเพื่อป้องกันการเข้าสู่ภาวะไร้บ้านของผู้ป่วยทางจิต

นพ.ศิริศักดิ์ กล่าวว่า จากผลการดำเนินงานและวิจัยพบว่า มีผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนไร้ที่พึ่งจำนวนหนึ่ง ขาดโอกาสเข้าถึงการบริการสาธารณสุข การลงนามในครั้งนี้ หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนจะพัฒนาระบบและจัดให้ผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มนี้ ให้สามารถระบุตัวตนผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนได้ และนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา และติดตามญาติเพื่อส่งกลับ หากทุกหน่วยงานช่วยกันประสานงานให้การดำเนินงานมีความคล่องตัว แลกเปลี่ยนข้อมูลแบบไร้รอยต่อ ออกแบบระบบเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่งที่มีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ป่วยจิตเวช

นายพิสิฐ กล่าวว่า ข้อมูลปี 2566 พบคนไร้บ้าน 2,499 คน อยู่ใน กทม. 1,271 คน ที่เหลืออยู่ต่างจังหวัด ส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดท่องเที่ยวหรือจังหวัดใหญ่ที่มีรอยต่อระบบเศรษฐกิจ อย่างชลบุรีพบ 106 คน โดยคนไร้บ้านเราพบสัดส่วนว่าป่วยจิตเวช 19% โดยทุกวันนี้ผู้ป่วยจิตเวชถูกผลักออกมาจากครอบครัว เพราะวาดกลัวว่า จะถูกทำร้าย ดังนั้นจึงต้องดูแลให้กลับไปเหมือนคนปกติ และอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้ และมีแต่นักสังคมสงเคราะห์ไปดูแลที่บ้าน ระบบฟื้นฟู มีกิจกรรมบำบัด ซึ่งระยะหลังพยายามส่งคนไปทดลองการใช้ชีวิตในสังคม

นายสิทธิพล กล่าวว่า มูลนิธิฯทำงานติดตามคนหาย และช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนข้างถนน ทั้งสองเรื่องคิดว่ามีปัญหาหนักและเกี่ยวกัน สิ่งที่จะตัดวงจรปัญหา คือ ทำให้เขามีโอกาสกลับคืนสู่บ้านมากขึ้น ยิ่งให้ความช่วยเหลือรวดเร็ว โอกาสจะกลับคืนสู่ครอบครัวเร็วมากเท่านั้น การร่วมมือครั้งนี้เป็นเรื่องสำคัญจะทำให้โอกาสการกลับคืนสู่บ้านของคนที่หายด้วยอาการจิตเวชคืนสู่บ้านเร็วขึ้น ได้รับการรักษารวดเร็ว ตรงตามสถานะที่เป็นหรือควรได้รับ และมีพื้นที่ให้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในฐานะมนุษย์ที่ให้ยืนด้วยศักดิ์ศรี

นพ.ขวัญประชา กล่าวว่า พ.ร.บ.สุขภาพจิต ทำงานดีเกินไป ทำให้เรามีผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่งไปค้างกับ พส. และ พก.มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่บทบาทเขาดูแลคนไร้ที่พึ่งปกติ แต่สถานสงเคราะห์ดูแลจิตเวชมากขึ้นถึง 80% ตอนนี้จึงไม่ค่อยเห็นผู้ป่วยจิตเวชอาการคลุ้มคลั่งเดินบนถนนมากนัก หากพบก็จะเดินสักพักแล้วถูกเก็บเข้าไป แต่เราจะปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ไม่ได้ ทั้งนี้การที่ผู้ป่วยจิตเวชหลุดหายออกมา มี 2 ลักษณะ คือ ค้างอยู่ในวอร์ด รพ.จิตเวชทั่วประเทศ มีผู้ป่วยไม่สามารถดิสชาร์จได้ และกรณีอยู่หลุดหายออกมาจากครอบครัว ดังนั้นทุกฝ่ายต้องช่วยกัน มีชุมชนร่วมดูแล

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img