วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlightสธ.เร่งกระจายวัคซีนส.ค.นี้10ล้านโดส สูตรSVเข็ม1-AZเข็ม2ในพื้นที่เป้าหมาย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สธ.เร่งกระจายวัคซีนส.ค.นี้10ล้านโดส สูตรSVเข็ม1-AZเข็ม2ในพื้นที่เป้าหมาย

“โฆษก สธ.” แจกแจง หากไม่มีล็อคดาวน์อย่างเข้มข้น อีก 3-4 เดือนข้างหน้า จะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4 หมื่นคนต่อวัน-ตายมากกว่า 500 คนต่อวัน เผยเดือนส.ค. เร่งกระจายวัคซีน 10 ล้านโดสใน “กลุ่มเสี่ยง-พื้นที่เป้าหมายพิเศษ-พื้นที่คุมระบาด-พื้นที่ท่องเที่ยว” ใช้สูตร SV เข็มแรก-AZ เข็มสอง

เมื่อวันที่ 31 ก.ค.64 นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกรวง (รก.11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า…ความจริง …โควิด 19 วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม 2564…สถานการณ์ มาตรการ การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ และเร่งฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง

1) สถานการณ์โรคโควิด 19 ทั่วโลกกลับมาระบาดรุนแรงขึ้นอีกครั้ง สถานการณ์ประเทศไทยเริ่มทรงตัว
• มาตรการต่างๆ เพื่อลดการติดเชื้อและเสียชีวิต ต้องดำเนินการอย่างเข้มข้น
• กำกับนโยบายให้ยาฟาวิพิราเวียร์โดยเร็วที่สุด ซึ่ง 2 เดือนจากนี้จะมียาประมาณ 80 ล้านเม็ด จัดส่งไปสำรองที่ภูมิภาค เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยทั้งในโรงพยาบาล และผู้ป่วยที่แยกกักตัวที่บ้านและชุมชน
• หน่วยปฏิบัติการเชิงรุกในชุมชน CCR Team ดูแลรักษาพยาบาล ตรวจคัดกรองด้วย Antigen Test Kit (ATK) ฉีดวัคซีนกลุ่มเปราะบาง
• กทม.ฉีดครอบคลุมแล้ว 61.67% เฉพาะผู้สูงอายุใน กทม.ฉีดแล้ว 70%
• เดือนสิงหาคมที่จะมีวัคซีนอีก 10 ล้านโดส จะปรับการจัดสรรให้ต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้น

2) การคาดการณ์สถานการณ์โรคโควิด 19 โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ SEIR ใน 3-4 เดือนข้างหน้าหากไม่มีการล็อคดาวน์อย่างเข้มข้น …
• ผู้ติดเชื้อรายใหม่อาจเกิน 4 หมื่นรายต่อวัน สูงสุดวันที่ 14 กันยายน 2564 และเสียชีวิตมากกว่า 500 รายต่อวัน
• หากมีมาตรการล็อคดาวน์ โดยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรวมถึงประชาชนให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ และระยะเวลานานขึ้นจะช่วยลดการติดเชื้อและผู้เสียชีวิตลงได้
• หากการล็อคดาวน์เข้มข้น ร่วมกับการค้นหาผู้ป่วยและฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยง จะยิ่งช่วยลดการติดเชื้อและเสียชีวิตลงได้อีก
• มาตรการล็อคดาวน์ในช่วงต้นจะยังไม่เห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงมากนัก แต่จากนั้น 2-4 สัปดาห์จะเห็นผู้ติดเชื้อลดลงชัดเจน โดยจะมีการประเมินเป็นระยะและเสนอ ศบค.พิจารณาต่อไป

3) กระจายวัคซีนเดือนสิงหาคม
• เน้นกลุ่มเสี่ยง 608 คือ

  • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • 7 โรคเรื้อรัง
  • หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์
  • อสม.
    • วัคซีนใช้เพื่อควบคุมการระบาด และในพื้นที่เป้าหมายพิเศษ พื้นที่ท่องเที่ยว
    • ใช้สูตร SA คือ ซิโนแวคเข็มแรก เว้น 3 สัปดาห์ฉีดแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มที่สอง จะมีภูมิคุ้มกันขึ้นสูงใกล้เคียงแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม พบว่ามีความปลอดภัย
  • (แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ต้องใช้เวลาถึง 12 สัปดาห์ในการฉีดเข็มสอง)

4) วัคซีนไฟเซอร์ที่สหรัฐอเมริกาบริจาค 1.5 ล้านโดส
• ขณะนี้อยู่ในคลังอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส
• หลังผ่านการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัย
• เริ่มส่งล็อตแรกไปหน่วยบริการวันที่ 5-6 สิงหาคม และเริ่มฉีดให้กลุ่มเป้าหมายได้วันที่ 9 สิงหาคม ประกอบด้วย ….

4.1) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ทั่วประเทศ เป็นเข็มกระตุ้น 7 แสนโดส
4.2) ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรังที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ใน 13 จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (กทม. สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม ชลบุรี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา สงขลา ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส) 645,000 โดส
4.3) คนต่างชาติในประเทศไทยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นเดียวกับคนไทย รวมถึงคนไทยที่ต้องไปต่างประเทศและจำเป็นต้องฉีดวัคซีน เช่น นักเรียน นักศึกษา 1.5 แสนโดส
4.4) การศึกษาวิจัย ติดตามมาตรการ 5 พันโดส

5) การควบคุมโรคโควิด 19 และการรักษา
• เน้นการตรวจด้วย ATK รู้ผลรวดเร็ว จัดระบบดูแลผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการที่บ้านและชุมชน โดยเชื่อมต่อกับสถานบริการ
• ฉีดวัคซีนให้กลุ่มเปราะบางที่เข้าถึงบริการลำบาก และการให้ยารักษาอย่างรวดเร็วเพื่อลดอาการรุนแรงและเสียชีวิต
• บุคลากรสาธารณสุขในภูมิภาคเข้ามาร่วมทีม CCR Team ระหว่างวันที่ 4-10 สิงหาคมนี้ อย่างน้อย 50 ทีม ทีมละ 10 คน เพื่อทำงานเชิงรุกในชุมชนพื้นที่กทม. ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. 69 แห่ง ตั้งเป้าหมายตรวจคัดกรองเชิงรุกได้ 4-5 แสนราย คาดว่าจะพบผู้ติดเชื้อนำเข้าสู่ระบบการรักษาได้อย่างน้อย 7-8 หมื่นราย

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 30 กรกฎาคม 2564

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img