วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlight'TBIA'ชวนทุกคนร่วมกันแบน’พลาสติก’ใช้ครั้งเดียวทิ้ง 4 ชนิดในปี 65
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘TBIA’ชวนทุกคนร่วมกันแบน’พลาสติก’ใช้ครั้งเดียวทิ้ง 4 ชนิดในปี 65

ภาคเอกชนเดินหน้าแผนปฎิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติกอย่างจริงจัง  จัดการเข้มแบนใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งอีก 4 ชนิด คาดกระตุ้นใช้พลาสติกชีวภาพในประเทศเพิ่มขึ้น

สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA) จัดเวทีเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “เมื่อผู้ใช้และผู้ผลิตต้องจับมือกัน เพื่อดูแลโลก”  เพื่ออัพเดตเทรนด์ไบโอพลาสติกทั่วไทย ทั่วโลก  และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกของแท้ได้อย่างสบายใจพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการเตรียมพร้อมรับมาตรการยกเลิกการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก  ชนิดใช้แล้วทิ้งหลายประเภทในปี 2565

นายวิบูลย์ พึงประเสริฐ นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA )  กล่าวว่า ตามแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก 20 ปี (2561-2573) กำหนดเป้าหมายที่ 2 ให้ปี 2565 ไทยจะเลิกการใช้พลาสติกเพิ่มอีก 4 ชนิด ประกอบด้วย ถุงหูหิ้วขนาดหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน หลอด กล่องโฟมบรรจุอาหาร และแก้วพลาสติกแบบบาง เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกลง ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์โลกที่ขณะนี้มีหลายประเทศทั่วโลกได้บังคับห้ามใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งหลังจากกระแสเบาไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ล่าสุดจีนได้ประกาศห้ามใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งใน 5 เมืองใหญ่ในปีนี้ และจะบังคับใช้ทั่วประเทศในอีก 3 ปีข้างหน้า

‘’ส่วนไทยนั้นในปี 2565  จะมีการบังคับให้เลิกใช้พลาสติกเพิ่มเติมรวมเป็น 7 ชนิด ส่วนผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาใช้ทดแทนพลาสติกที่ยกเลิกไปนั้น ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาที่มีกำลังผลิตไบโอพลาสติก 2-3 แสนตัน/ปี และมีโรงงานขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ทั้งถุง หลอด บรรจุภัณฑ์สำหรับใส่อาหารและเครื่องดื่มที่ทำจากพลาสติกย่อยสลาย (ไบโอพลาสติก) หลายราย ซึ่งพร้อมผลิตเพื่อรองรับดีมานด์ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต’’ นายวิบูลย์ กล่าว

นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย  ยังบอกด้วยว่า  ขณะนี้ราคาพลาสติกชีวภาพสูงกว่าราคาพลาสติกทั่วไปถึง 3-5 เท่า ทำให้เกิดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไบโอฯ เทียมเพิ่มมากขึ้นเพราะราคาถูกกว่าแต่ไม่สามารถย่อยสลายได้  วันนี้ต้องยอมรับว่าเป็นไปได้ยากที่ราคาไบโอพลาสติกจะมีราคาที่ถูกหรือใกล้เคียงกับพลาสติกทั่วไป เนื่องจากราคาวัตถุดิบที่ใช้ผลิตไบโอพลาสติก คือน้ำตาลและแป้ง มีต้นทุนสูงกว่าราคาน้ำมัน และขนาดกำลังการผลิตที่เหมาะสม (economy of scale) ก็ต่ำกว่ามาก เช่นโรงงานผลิตไบโอพลาสติกมีขนาดกำลังผลิต 75,000-100,000 ตัน/ปี แต่โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกมีขนาดกำลังผลิต 1-2 ล้านตัน/ปี ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของไบโอพลาสติกสูง

ขณะที่ ‘’เจนนี่’’ น.ส.วรินทร อยู่วิมลชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไบโอ-อีโค จำกัด (Bio-Eco) ชี้ว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ความต้องการใช้พลาสติกชีวภาพลดลงไปมาก หากรัฐบาลเข้มงวดมาตรการยกเลิกการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้ง  คาดว่าจะทำให้ตลาดพลาสติกชีวภาพจะเติบโตขึ้นมาก เนื่องจากขณะนี้มีร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม ร้านคาเฟ่ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ และสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้หันมาใช้พลาสติกชีวภาพเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งเป็นการช่วยสร้างภาพลักษณ์และปลูกฝังให้รักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน 

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img