วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlightเปิดไทม์ไลน์’’ยาโมนูลพิราเวียร์’’คาดเข้าไทยปลายธ.ค.64
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดไทม์ไลน์’’ยาโมนูลพิราเวียร์’’คาดเข้าไทยปลายธ.ค.64

กรมการแพทย์ จ่อหารือไฟเซอร์ นำเข้า “ยาแพกซ์โลวิด”  12 พ.ย. นี้ ส่วน “โมลนูพิราเวียร์” คาดนำเข้าครม.เคาะงบ แจง ยา 2 ชนิด ออกฤทธิ์ ยับยั้งไวรัสทุกสายพันธุ์ ช่วยลดป่วยหนัก นอนรพ. 

เมื่อวันที่ 8 พ.ย.64  ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กล่าวถึงการหารือการนำเข้ายารักษาโควิด 19 โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) และ ยาแพกซ์โลวิด (PAXLOVID) ว่า ตามธรรมชาติของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อเข้าสร้างกายแล้วจะอาศัยเอ็นไซต์โปรตีนเอสในการเพิ่มจำนวน ซึ่งยาแพกซ์โลวิดจะเข้ามายับยั้งการการสร้างโปรตีนเอส ไม่ให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวได้ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ไวรัสเข้าไปในร่างกายและมีการเพิ่มจำนวนไวรัส จากนั้นไวรัสจะเปลี่ยนสายพันธุ์กรรมจาก RNA มาเป็น DNA ซึ่งยาโมลนูพิราเวียร์ จะมายับยั้งการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ โดยสรุปคือ ทั้ง 2 ตัวเป็นยาที่ยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด -19 ครอบคลุมทุกสายพันธุ์

โดยข้อมูลการศึกษาวิจัยในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ 385 คน กินยาขนาด 200 มก. วันละ 2 เวลา นาน 5 วัน รวม 40 เม็ด พบว่าลดความเสี่ยงในการนอนรพ. 50 % และไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนคนที่กินยาหลอก 377 คน พบว่าเสียชีวิต 8 ราย ส่วนผลการศึกษายาแพกซ์โลวิด ในกลุ่มตัวอย่าง 389 คน กินขนาด 150 มก. 2 คู่กับยาริโทนาเวียร์ ขนาด 100 มก. 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน รวมแล้วจะใช้ยาแพกซ์โลวิดทั้งหมด 20 เม็ด บวกกับยาริโทนาเบียร์ 10 เม็ดต่อคน พบว่าลดความเสี่ยงนอนรพ. และเสียชีวิตภายใน 28 วัน

ทั้งนี้หากกินยาดังกล่าวภายใน 3 วัน นับตั้งแต่เริ่มมีอาหาร จะมีประสิทธิภาพลดการนอนรพ. – เสียชีวิต 89 % หากเริ่มกินในวันที่ 5 หลังมีอาการจะมีประสิทธิภาพ 85 % แต่ทั้ง 2 ถือว่ามีเปอร์เซ็นต์สูง ย้ำ ว่ายาทั้ง 2 ชนิด ออกฤทธิ์คนละจุดกันจึงไม่สามารถเอามาเปรียบเทียบกันว่ายาตัวไหนดีกว่ากัน เนื่องจากเป็นการวิจัยคนละกลุ่มตัวอย่าง แต่ที่แตกต่างกันคือยาแพกซ์โลวิดจะต้องกินคู่กับยาริโทนาเวียร์ด้วย ขณะที่ยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นยาที่ไปยับยั้งเชื้อไวรัสเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เป็นยาที่เจาะจงต่อเชื้อโควิด -19 โดยตรง

นพ.อรรถสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ยาทั้ง 2 ตัว จะใช้ได้ดีในคนที่มีอาการน้อย – ปานกลาง เป็นกลุ่มเสี่ยงคือผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีโรคเรื้อรัง อาทิ โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ เบาหวาน อ้วน เป็นต้น ในผลการศึกษา ยังมีอาการข้างเคียงรุนแรง ส่วนข้อห้ามใช้นั้นก็เหมือนกับยาทั่วๆ ไป คือยังไม่แนะนำในคนที่มีความผิดปกติของตับรุนแรง ไตรุนแรง เอชไอวี ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมากๆ เนื่องจากยังไม่ได้มีการศึกษาวิจัยในกลุ่มนี้ เบื้องต้นคาดประมาณการณ์ว่าจะต้องใช้เท่าไหร่นั้นเบื้องต้นต้องมีการคำนวณจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน เช่น 1  หมื่นรายต่อวัน คาดว่าจะมีกลุ่มเสี่ยงต้องใช้ยานี้ ประมาณ 10 % หรือ 1,000 คนต่อวัน

ทั้งนี้ ความคืบหน้าในการจัดหายาทั้ง 2 ตัวนั้น คาดว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 9 พ.ย. นี้จะมีการเสนออนุมัติงบการจัดซื้อยาโมนูลพิราเวียร์ และคาดประมาณนำเข้าประเทศไทยได้ประมาณ ปลายธ.ค. 2564 หรือ ม.ค. 2565 ส่วนยาแพคโลวิด นั้น กรมการแพทย์มีการหารือร่วมกับบริษัทไฟเซอร์มาเป็นระยะก่อนผลการวิจัยจะออกมา

โดยครั้งต่อไปจะมีการหารือกันในวันที่ 12 พ.ย.นี้ เกี่ยวกับเรื่องของการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยคาดว่าน่าจะเข้ามาช่วงหลังจากยาโมนูลพิราเวียร์  แต่สิ่งที่ทางไฟเซอร์ดำเนินการคู่ขนานอยู่คือการขออนุญาตขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ส่วนเรื่องราคานั้นเป็นเรื่องที่ตอบยังไม่ได้ แต่คาดว่าน่าราคาขายให้กับประเทศกำลังพัฒนาน่าจะถูกกว่าประเทศมหาอำนาจที่มีเงินมาก

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img