วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
หน้าแรกHighlight“ช่วงสงกรานต์”จะชี้ขาดว่า ไทยพร้อมเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่  
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ช่วงสงกรานต์”จะชี้ขาดว่า ไทยพร้อมเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่  

“รณบดีศิริราช” เตือนสงกรานต์ ลูกหลาน ติดโควิดไม่รู้ตัว หอบเชื้อแพร่ต่อคนสูงอายุที่บ้าน ระบุสงกรานต์เป็นช่วงชี้ขาดว่าไทยพร้อมพาโควิดเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่  

เมื่อวันที่ 22 มี.ค.65 ที่โรงพยาบาลศิริราช ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือตัวเลขผู้เสียชีวิต โดยข้อมูล 3 สัปดาห์ของเดือนมี.ค. พบว่า 50-60% เป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน อีก 30% เป็นผู้ที่ฉีดเพียง 2 เข็มนานเกิน 3 เดือน ส่วน 5-10% คือคนที่ฉีดเข็ม 1 อย่างเดียว ฉะนั้น เมื่อรวมกันกว่า 90% จำนวนนี้คือคนที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเพียงพอ จึงต้องแก้ตรงนี้  อีกทั้ง 80-90% ของผู้เสียชีวิตตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาคือ กลุ่ม 608 ฉะนั้น ถ้าอยากให้สงกรานต์เต็มไปด้วยความสุข ต่อเนื่องไปหลังสงกรานต์

ช่วงนี้จึงสำคัญในการเชิญชวนให้มาฉีดวัคซีน คนที่รับ 2 เข็มเกิน 3 เดือนแล้ว ขอให้รีบมารับเข็มกระตุ้น เพราะสงกรานต์เป็นช่วงที่ 4 ความเสี่ยงมาเจอกัน คือ บุคคล กิจกรรม สถานที่ และช่วงเวลาเสี่ยง โดยเฉพาะปีนี้เป็นสายพันธุ์โอมิครอนที่ติดเชื้อง่าย คนติดไม่มีอาการ ดังนั้นโอกาสที่ใครซักคนจะติดเชื้อไม่มีอาการแล้วเดินทางกลับบ้านเสี่ยงนำเชื้อไปติดคนในครอบครัวได้ ดังนั้นขอให้ตรวจ ATK ก่อนเดิมทาง สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ เป็นต้น 

“ผู้สูงวัยที่ยังไม่มารับวัคซีนเลย ราว 2.2 ล้านคน ซึ่งจะเป็นกลุ่มเสี่ยง แม้โอมิครอนไม่รุนแรงแต่ต้องดูปัจจัย 2 อย่างคือ ตัวไวรัส และโลกนี้คนฉีดวัคซีนมากขึ้น ทำให้ไวรัสก่อเรื่องแต่รุนแรงน้อยลง แต่ถ้าไม่ฉีดวัคซีนจะกลายเป็นความเสี่ยงแม้จะติดโอมิครอน ฉะนั้น กลุ่ม 608 ต้องมารับวัคซีนไปจนถึงเข็มกระตุ้น”ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าว 

นอกจากนี้ยังจับตาและประเมินสถานการณ์หลังเทศกาลสงกรานต์นี้ที่จะเป็นจุดบอกว่าประเทศไทยพร้อมหรือไม่ในการเข้าไปสู่โรคประจำท้องถิ่น หากผ่านช่วงสงกรานต์ไปได้ด้วยดี สิ่งที่เราเชื่อว่าจะเกิดขึ้นในสังคมไทยคือ คนที่หายจากการติดเชื้อ ที่เฉลี่ยวันละ 2 หมื่นคนนี้ เท่ากับเราจะมีคนที่มีภูมิคุ้มกันมากเกิดขึ้น ทั้งจากวัคซีนและหายจากโรคเพิ่มขึ้นในสังคม เชื่อว่าตอนนั้นเราจะเห็นข้อบ่งชี้ที่ทำให้โควิด-19 กลายเป็นประจำท้องถิ่น ทั้งนี้แม้ว่าโรคจะรุนแรงลดลง แต่ยาที่ใช้รักษาโรคที่มีประสิทธิภาพ อาทิ โมลนูพิราเวียร์ แพกซ์โลวิด รวมถึงยาฟาวิพิราเวียร์ ยังจำเป็นโดยเฉพาะในกลุ่ม 608 ที่เสี่ยงต่ออาการมาก

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีคำถามถึงลองโควิด-19 นั้น มีการสัมมนาใหญ่ที่สหรัฐฯ และอังกฤษ พบว่า โดยเฉลี่ยอาการลองโควิดเกิดขึ้นไม่ว่าจากสายพันธุ์ใดประมาณ 15-30% ของคนติดเชื้อ โดยมีมากกว่า 50 อาการตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงมากขึ้น โดยข้อสรุปคือ อาการลองโควิดเป็นอาการจริง อาจเกิดจาก 1.ไวรัส หรือ 2.ระบบภูมิคุ้มกันที่มีปฏิกิริยาต่อไวรัส หรือ 3.เรื่องจิตใจ ทั้งนี้การสัมมนาทั้ง 2 แห่ง เห็นตรงกันว่า น่าจะเกิดจากระบบภูมิฯ ของคนที่ยังมีการกระตุ้น ทำให้บางคนที่หายแล้วแต่ยังมีการอักเสบในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการลองโควิด ทั้งนี้ ทั่งโลกกำลังศึกษากลไกการเกิดที่แท้จริง จากการติดตามผู้ป่วยที่หายเป็นระยะ  

ขณะนี้ ตนพบรายงานเดียวจากการศึกษาแต่ยังไม่ได้รับการยืนยันเพิ่มเติมการศึกษาอื่นๆ ซึ่งพบว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 มีอุบัติการณ์เกิดอาการลองโควิดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ฉีด ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในข้อคิดให้คนไปรับวัคซีน ดีกว่าติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานต่างๆ โดย กระทรวงสาธารณสุข มีการกำหนดตั้งทีมติดตามอาการลองโควิด-19 และเฝ้าติดตามข้อมูลทั่วโลกในแนวทางการรักษาต่อไปด้วย.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img